ถ้าหากว่าพื้นที่ใช้สอยในบ้านไม่เพียงพอล่ะก็ การต่อเติมบ้านก็อาจจะจำเป็นสำหรับเรา โดยเฉพาะ ห้องครัว ที่บ้านหลายหลังถูกออกแบบมาให้ห้องครัวถูกติดตั้งไว้แบบเปิดติดกับห้องนั่งเล่น อาจจะส่งผลให้เกิดกลิ่นรบกวนเวลาทำอาหารได้ อีกทั้งยังลดทอนพื้นที่ใช้สอยภายในห้องโถงอีกต่างหาก อาจจะไม่เข้ากับเมืองไทยสักเท่าไหร่นัก
ดังนั้นแล้ว ห้องครัวแบบปิดที่มีเคาน์เตอร์ติดตั้งอยู่ จึงน่าจะตอบโจทย์บ้านแบบไทยๆ เสียมากกว่า และวันนี้ ในบ้าน ก็มีรีวิว ต่อเติมห้องครัวหลังบ้านบนพื้นที่แคบๆ มาฝากชาวเว็บกัน เป็นการต่อเติมบ้านของคุณ mairuna ได้มาเป็นห้องครัวที่สวยโปร่ง ดูน่าใช้งานสุดๆ อยากรู้ว่ามีขั้นตอนยังไง ลองมาดูกันได้เลยครับ
Review : ต่อเติมห้องครัวหลังบ้านบนพื้นที่แคบๆ แต่ดูกว้างโปร่ง แถมสวยงามน่าใช้งาน
หลังจากซื้อบ้านหลังน้อยแห่งใหม่ ก็เริ่มเข้าไปอยู่ เนื่องด้วยภายในบ้านมีห้องครัวค่อนข้างเล็ก ก็เลยต้องออกมาทำครัวกันด้านนอกก่อน กางเต้นเอาเลย ตามแผนวางไว้ว่า กะอยู่สักปี แล้วค่อยๆเก็บเงินต่อเติมบ้านไปเรื่อยๆ
แต่แล้ว วันดีคืนดี ก็มีผู้อุปการะคุณมาร่วมระดมเงินเป็นกองทุนเพื่อต่อเติม
เมื่อเริ่มมีงบประมาณ ก็เริ่มตั้งหน้าตั้งตาออกแบบ แนวคิดการใช้วัสดุ วัสดุที่ใช้ ต้องการเป็นวัสดุเบา ทำงานเปียกให้น้อยที่สุด เนื่องจากต้องการรื้อปรับปรุง และนำวัสดุไปใช้งานได้อีก แนวครัว แนวส่วนนู่นนี่นั้น คุยกันเถียงกันอยู่หลายรอบมากๆ จนลงตัวที่นี่ (แต่ก็ยังมีแก้ไขอีกหลายรอบ) สุดท้ายก็ได้แบบร่างที่ลงตัวกับสิ่งที่ต้องการ
รูปด้านหน้าที่จอดรถหน้าบ้าน
ห้องครัวอยากได้โล่งๆ ตามแบบสบายๆ
สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือ ข้อจำกัดของงบประมาณ เมื่อทำแบบแล้ว สิ่งที่คิดต่อมาคือ ค่าใช้จ่ายประมาณเท่าไร เมื่อทำแบบเสร็จ ก็ส่งให้ทางผู้รับเหมาตีราคามา ก็เรียกได้ว่า แพงหูฉี่เลยทีเดียว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็หาช่างที่สามารถทำ และราคาที่ยอมรับได้
ค่าใช้จ่ายทั้งหมด เริ่มต้นแบ่งงบประมาณออกเป็น 3 ส่วนหลัก
1. วัสดุก่อสร้าง ส่วนที่ซื้อเอง
2. เฟอร์นิเจอร์ (ในที่นี้คือห้องครัว)
3. ค่ารับเหมาก่อสร้างของผู้รับเหมา
เมื่อแจกแจงรายละเอียดดังกล่าว ก็เริ่มลงมือทำแบบรายละเอียดต่างๆ
ดำเนินการส่งแบบยื่นให้ทางนิติบุคคล เพิ่มจะเริ่มดำเนินการก่อสร้าง ตามที่มีกฎส่วนกลางได้กำหนดไว้
สำหรับช่างที่มาทำ ผมพูดคำพูดง่ายๆที่ว่า “ช่างครับ ผมไม่มีอะไรมากนะ ขอแค่ช่างทำให้เหมือนในรูปที่ผมปริ้นให้ช่างเนี่ยก็พอละ” แล้วผมก็ยื่นแบบและภาพตัวอย่างให้ช่างไป
เอาหล่ะ เริ่มต้นก่อสร้างได้ ลุยๆๆๆ
*** คำเตือน บางอย่างอาจจะไม่ถูกหลักการณ์ทางวิศวกรรม หรือสถาปัตยกรรม เนื่องจากบางอย่างเป็นการใช้งานส่วนตัว ที่บางท่านอาจจะไม่เข้าใจ หรือมีความเห็นที่แตกต่างอยู่หลายประเด็น ***
งานที่เละเทะที่สุดเลยก็ว่าได้ ได้เริ่มบรรเลงขึ้นแล้ว
ลงเข็มคนกด
ความยาวประมาณ 6 เมตร ตามตำแหน่งเสา
(ส่วนใหญ่จะกดลงได้แค่ 5 เมตรเท่านั้น เสียค่าเข็มทิ้งไปประมาณ 1 เมตร หลายต้นเลย)
ช่างเริ่มจากทำครัวที่อยู่หลังบ้านก่อน
แล้วค่อยทำโรงจอดรถด้านหน้า ขั้นตอนแรกก็ทำฐานราก พร้อมคานคอดิน จริงๆ อยากได้เป็นเหล็กทั้งหมด แต่สุดท้าย ช่างก็ทำคาน คสล. บางส่วนอยู่ดี
เทลีน ผูกเหล็ก
(เหล็กกลมเลยหรอ T_T นึกว่าใช้เหล็กข้ออ้อย)
จากนั้นก็เริ่มตั้งไม้แบบ
ตามด้วยเทคานคอดิน
ตำแหน่งเสา
จะวางแผ่นเหล็กไว้ เอาไว้เชื่อมตั้งเสา
ส่วนติดบ้านเดิม ไม่ทำคานคอนกรีต แต่ทำตอม่อเอาไว้ประมาณนี้
คิดว่าต่อไปมันคงทรุดแน่อยู่แล้ว แต่ก็คงไม่ลากโครงเดิมไปด้วยจริงๆ บอกช่างให้แบ่งรอยต่อเอาไว้ อาจจะโฟมหรืออะไร แต่สุดท้ายก็ประมาณนี้หล่ะ เอาเถอะ ยังงัยมันก็ทรุด ช่วยอะไรไม่ค่อยได้หรอก
หล่อคานวางตอม่อเสร็จแล้ว
ก็เริ่มวางคานเหล็กสำหรับวางตงและตั้งเสา ทาสีกันสนิมไว้ก่อนติด แต่บางจุดที่ชิดแนบบ้าน ก็จะทาสีจริงทับไว้ก่อนติด
ทาทับไว้แบบนี้ อาจจะช่วยอะไรไม่ได้มาก แต่ก็ยังดีกว่าไม่ทา
บางชิ้นก็ทาสีไปก่อนแล้ว เออ แล้วแต่อารมณ์แล้วกันนะครับ
งานโดยรวม
เริ่มเห็นขึ้นเป็นรูปเป็นร่างบางแล้ว
ช่างทำงานของเค้าไป เราก็ทำงานของเราด้วย
เอาหล่ะ ไปขนชุดครัวมาจากต่างจังหวัดกันเลยทีเดียว ตอนแรกจะเอาเก๋งไป ดีนะคิดเอากระบะไปแทน ไม่งั้นมีโช็คพังแน่เลย
ลงมือประกอบร่างตามคู่มือ
ประกอบร่างอยู่นานเป็นชั่วโมง
สุดท้ายก็สำเร็จไป 1 ตู้
จากตู้ละ 1 ชั่วโมง ค่อยๆเร็วขึ้น เร็วขึ้น เร็วขึ้น จนกองเต็มบ้านเลย
เผลอต่อตู้ไปเป๊ปเดียว โครงสร้างเริ่มมาละครับ
ตั้งเสา ตงพื้น และโครงหลังคา เริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาแล้วค่อยน่าชื่นใจหน่อย
โครงทั้งหมด ใช้เหล็กกล่อง
ทาสีกันสนิมและทาสีน้ำมันทับอีก 2 ชั้น เชื่อมแล้วค่อยมาเก็บจากสีอีกรอบ
จากหลังคาเสร็จก็เริ่มทำโครงเคร่าผนังต่อ
โครงตรงไหนจะแขวนตู้ จะเสริมด้วยเหล็กตัว C เพื่อแขวนตู้ ยังกังวลอยู่ว่างจะไหวไหม เพราะตอนแรกนึกว่าตู้จะเป็นแบบตั้ง ปรากฏว่าแขวนทุกตู้
ระเบียงภายนอกไม่กั้นผนัง
ดูโล่งๆดี
มองจากนอกบ้าน เริ่มมีความคืบหน้า
และเพื่อนบ้านเริ่มให้ความสนใจมากขึ้น
และแล้วก็เริ่มมุงหลังคา
ขั้นตอนแรกก็ติดรางน้ำก่อนเลย ตอนแรกช่างจะเอาสวยงาม ติดแผ่นฝาทับไปก่อน เห็นแล้วมันขัดตา เลยให้เอาออก
เป็นรางน้ำชนกับเชิงชายไปเลยจะดีกว่า
ติดรางน้ำเสร็จก็มุงหลังคา
หลังคา ใช้เป็นแผ่นแบบนี้ทั้งหมด ระยะแปรเท่ากับ metal sheet เค้าโม้ว่า กันร้อนได้มาก เอาละ ลองดู รับประกันอยู่หลายปีอยู่ ไว้มีปัญหาค่อยว่ากัน กว่าจะถึงตอนนั้น โครงเหล็กคงผุไปหลายแล้วมั้ง
จากการติดตั้ง เสียบแผ่นไว้ใต้บัวที่ผนัง
ทดสอบอยู่หลายฝน ปรากฏว่าไม่มีน้ำเข้า แม้ขนาดยังไม่ได้เก็บยางแนว ถือว่าบัวผนัง และตำแหน่งที่ตั้งไว้ กันน้ำได้พอสมควรแล้วหล่ะ
รออย่างเดียว แดดจัดๆ จะทนอยู่ในครัวได้ไหมนะ ต้องมาลองหน้าร้อนหน้าแล้วกัน 555
หลังคาเสร็จ ปูพื้นต่อ
หลายๆคน คงบอกว่า ทำไมไม่ปูกระเบื้อง ก็ผมอยากทำเป็นพื้นไม้ระแนง แค่นั้นหล่ะ ครัวบางท่านอาจจะทำกันดุดัน
แต่เท่าที่ผมใช้งานมาจากที่เคยใช้ ผมว่าพฤติกรรมของผมคงไม่ได้สร้างปัญหามาก สำหรับการใช้พื้นแบบนี้
เอาหล่ะ มาดูระยะยาวต่อไป ว่าจะเกิดปัญหาอะไรบ้าง (เหมือนบ้านตัวเองเป็นหนูทดลองการออกแบบของตัวเอง)
ปูพื้นเสร็จ ก็กรุผนังภายในก่อน
สายไฟเดินด้านนอก แล้วค่อยปิดด้วยผนังภายนอกอีกชั้น ช่องเปิดตามกฎหมายจริงๆก็ห้ามนะครับ แต่คุยกับเพื่อนบ้านแล้ว ไม่ติดอะไร
เดินไปเรื่อย ตามตำแหน่งปลั๊กไฟที่กำหนดไว้ในแบบ
ท่อน้ำ
ตอนแรกว่าจะเดินจากข้างนอก สรุปไปๆมาๆเอาจากตรงนี้แทน (ระยะยาวอาจจะมีปัญหาเรื่องท่อน้ำแตกแน่นอน เพราะครัวจะทรุดหนัก เอาไว้ตอนนั้นค่อยแก้ไขเอาล่ะกัน)
เดินไฟเสร็จ ก็ปิดผนังภายนอก
ท่อน้ำเดินข้างนอกเลย ไม่ต้องซ่อนภายใน บำรุงง่ายดี
ทำภายนอกเสร็จ ก็มาทำภายใน
เริ่มเตรียมงานทาสี ปูกระเบื้องบริเวณเตา เพื่อกันเปื้อนก่อนเลย อิๆ
หลังจากนั้น
เก็บรอยต่อส่วนต่างๆ เก็บรูน็อต ทาสีรองพื้นและเตรียมลงสีจริงๆละ เจาะรูไว้ให้ช่องระบายควันไว้ก่อน
พื้นระเบียงภายนอก ปูเสร็จสะที
ปูๆไป ของที่ร้านขาดสะงั้น เลยต้องรออยู่หลายวันกว่าจะปูเสร็จ
ทาสีผนังภายนอก
เริ่มสวยละ
เดินท่อน้ำทิ้ง
จากรางน้ำหลังคา ลงไปที่ท่อระบายน้ำบ้านเดิม (เกิดความเข้าใจผิดเรื่องสีเสา เกือบผิดแผนไปเหมือนกัน T_T)
สีผนังทาตามสีภายนอกเดิม
แต่สีพื้น ตอนแรกเลือกไว้สักทอง ออกมาเป็นสีชานมสะงั้น แต่เอาหละ ทาไปแล้ว เลยเอาสีนี้แทน ก็ดีหวานๆดี ห้องจะสว่างดีครับ เวลาแสงมันสะท้อนขึ้นมา
สุดท้าย ก็เอาสีนี้ทาระเบียงแทน
สีชานม เอามาทาระเบียงนี่รับไม่ได้จริงๆ เหอ
มองจากระเบียงเข้าไปในครัวก็ดูไม่ขัดกันเท่าไร มั้ง
ชุดครัวที่ต่อไปเป็นเดือนแล้ว ก็ยกมาติดตั้งสะที ติดเอง ก็มั่วๆแบบนี้หล่ะ
ติดตั้งตู้เตี้ยเรียบร้อย
รอไปสั่งท๊อปมาติดหล่ะกัน กว่าจะได้เท่านี้ ใช้เวลาไปเดือนกว่าแล้ว
ที่มา : mairuna