มาตรฐานความปลอดภัยภายในบ้าน เป็นสิ่งที่ทุกคนให้ความสำคัญเป็นอันดับหนึ่ง ซึ่งนอกจากเครื่องใช้ไฟฟ้าแล้ว อุปกรณ์ต่างๆ อย่างเช่น สายไฟ หรือปลั๊กพ่วง ต้องได้ผ่านมาตรฐาน เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย และเป็นอันตรายต่อคนในบ้าน
สำหรับเพื่อนๆ คนไหนที่ไม่แน่ใจว่า ปลั๊กพ่วงที่ใช้ภายในบ้านมีความปลอดภัยหรือไม่ หรือใครที่กำลังหาซื้อปลั๊กพ่วงใหม่ วันนี้ ในบ้าน มีข้อมูลดีดีในการเลือกซื้อปลั๊กไฟจากคุณ สมาชิกหมายเลข 5444328 มาฝากเพื่อนๆ พร้อมแล้วไปติดตามกันได้เลยค่ะ
เทียบกันให้เห็น! ปลั๊กไฟ มอก. 5 แบรนด์ดัง
(โดย สมาชิกหมายเลข 5444328 )
สวัสดีครับ ก่อนอื่นเลยผมขอแนะนำตัวก่อน ผมเป็นช่างซ่อม เคยทำงานในบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่มาหลายปี เพิ่งกลับมาเปิดร้านเป็นของตัวเองที่บ้านเกิดไม่นานนัก ด้วยความที่เคยซ่อมของมาหลายอย่างทำให้ผมมีความรู้ด้านนี้อยู่พอสมควร และผมก็ชอบทดลองอะไรใหม่ๆ
ตั้งแต่เปิดร้านซ่อม ผมพบเจอปัญหาหลากหลายรูปแบบ ลูกค้าหลากหลายประเภท แต่ที่เจอบ่อยที่สุดคือปัญหาเครื่องใช้ไฟฟ้าพัง ผมพบว่าคนต่างจังหวัดส่วนใหญ่นิยมใช้ปลั๊กไฟราคาถูก ที่หาซื้อง่ายตามตลาดนัด ปลั๊กไฟที่ทำจากวัสดุที่เป็นตัวนำไฟฟ้าที่ไม่ดี ทำให้เกิดการส่งกระแสไฟที่ขาดๆ หายๆ และทำให้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าช็อตได้ ผมพยายามบอกลูกค้าถึงสาเหตุนี้ไปหลายครั้ง แต่ก็ยังพบเจอปัญหาเดิมๆอยู่เสมอ เพราะลูกค้าอยากได้ของที่ราคาไม่แพง
ผมคิดว่าควรที่จะเริ่มหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้แบบจริงจัง เพื่อที่จะสามารถแนะนำลูกค้า และเป็นประโยชน์ในการเลือกซื้อปลั๊กไฟ
คืนนั้นผมลองหาข้อมูลจากทั้ง Google นั่งอ่านรีวิว รวมถึงสิ่งที่ควรรู้ทุกอย่างเกี่ยวกับปลั๊กไฟ จนได้คำตอบที่ค่อนข้างน่าเชื่อถือครับ
ปลั๊กไฟที่ได้มาตรฐานต้องผ่าน “มอก.ปลั๊กพ่วง” เพื่อให้มีความปลอดภัย
.
ลักษณะของปลั๊กพ่วงที่ได้มาตรฐานตาม มอก. ปลั๊กพ่วงฉบับล่าสุด
- มอก. ฉบับนี้บังคับใช้กับปลั๊กพ่วงแบบหยิบยกได้ รวมถึงชุดสายพ่วง
2. ที่บรรจุภัณฑ์มีมาตรฐาน มอก. 2432 – 2555
3. ในรุ่นที่มีสวิตซ์ต้องถูกต้องตามมาตรฐาน มอก. 824 – 2551
4. หัวปลั๊กต้องใช้แบบ 3ขากลม (กลมทั้ง3ขา) ตามมาตรฐาน มอก. 166 – 2549 เท่านั้น
5. แรงดันไฟฟ้าต้องไม่เกิน 3500 W และรองรับไฟฟ้าได้ไม่เกิน 16 A สำหรับการใช้งานทั้งภายนอกและภายในอาคาร
6. ตัวบอดี้ของปลั๊กพ่วง ต้องทำจากวัสดุที่ไม่ลามไฟ
7. สายไฟต้องตรงตามมาตรฐาน มอก. 11 – 2553 หรือมาตรฐานที่สอดคล้องกับ มอก. 955
8. ปลั๊กพ่วงที่มีเต้ารับ 3 เต้าขึ้นไป จะต้องมีตัวตัดไฟระบบเบรคเกอร์เท่านั้น ห้ามเป็นแบบฟิวส์
9. เต้ารับทุกเต้าจะต้องเดินสายดินจริง ห้ามใช้รูสายดินหลอก
10. ตัวเต้ารับจะต้องสอดคล้องกับ มอก. 166 – 2549 ต้องมี L N G และม่านปิดนิรภัยที่เต้ารับ
หลังจากผมหาข้อมูลทุกอย่างเรียบร้อย ผมก็ตัดสินใจขี่มอเตอร์ไซค์ไปหาซื้อปลั๊กไฟที่ได้มาตราฐาน มอก. และที่สำคัญต้องราคาย่อมเยาว์ ผมซื้อมาทั้งหมด 5 ยี่ห้อ โตชิโน่, แอนิเทค, พานาโซนิค, แชมป์ และดาต้า โดยที่เลือกปลั๊กไฟราคาย่อมเยาว์ที่สุดของแต่ละยี่ห้อ ซึ่ง 5 ยี่ห้อที่บอกว่าได้มาตรฐานเหมือนกัน(ได้มาตรฐานจริงรึป่าว อันนี้ผมก็ไม่รู้ 555) และผมยังสงสัยว่าแต่ละยี่ห้อมันแตกต่างกันอย่างไร (หาข้อมูลเผื่อลูกค้าถามด้วย)
ผมจึงตัดสินใจเอา 5 ยี่ห้อนี้มาลองใช้งาน และทดสอบวงจรภายใน โดยแยกออกตามหัวข้อครับ
1. ราคา
– ปลั๊กไฟดาต้าราคา 329 บาท ราคาถูกที่สุด รูปลักษณ์ภายนอกก็ดูโอเค น่าใช้
– ปลั๊กไฟแอนิเทคราคา 389 บาท ราคาถูกแต่ดูไม่ค่อยทน
– ปลั๊กไฟพานาโซนิคราคา 473 บาท ยี่ห้อนี้เคยได้ยินบ่อยๆ
– ปลั๊กไฟโตชิโน่ราคา 499 บาท ราคาเฉียดครึ่งพัน
– ปลั๊กไฟแชมป์ราคา 520 บาท แพงที่สุดในบรรดา 5 แบรนด์ อาจจะด้วยขนาดที่ใหญ่ที่สุด
2. Design
เรื่อง Design ผมชอบ ปลั๊กไฟพานาโซนิค กับ ปลั๊กไฟดาต้า เพราะมีความกะทัดรัด ดูทันสมัยเหมือนกัน ไม่ใหญ่เกินไป มันเรียบๆดูเหมาะกับการใช้งาน
– ปลั๊กไฟโตชิโน่ และแชมป์ มีขนาดใหญ่เทอะทะ ยากต่อการใช้งานให้พื้นที่เล็ก
– ปลั๊กไฟแอนิเทคมีขนาดเล็กก็จริง แต่รูปร่างไม่น่าใช้งาน สีที่มีอยู่ก็ไม่ค่อยสวยเท่ายี่ห้ออื่น
3. สัญลักษณ์ มอก.ปลั๊กไฟ
ทุกยี่ห้อมีเครื่องหมายสัญลักษณ์ มอก.ปลั๊กไฟ ระบุไว้อย่างชัดเจน และทุกยี่ห้อได้มาตรฐานในปี 2555 เหมือนกันทั้งหมด
4. สายไฟ
– ปลั๊กไฟพานาโซนิคเส้นที่ดูเล็กที่สุดใน 5 แบรนด์ เป็นเส้นสีเทา
– ปลั๊กไฟดาต้าสายไฟดูเส้นหนา และใหญ่ที่สุดจากทั้งหมด เป็นสายสีดำ
– ปลั๊กไฟโตชิโน่เหมือนกับปลั๊กไฟดาต้าเส้นสีดำ และขนาดดูเล็กกว่าปลั๊กดาต้าเล็กน้อย
– ปลั๊กไฟแชมป์เป็นสายสีดำเช่นกัน ขนาดพอๆกับโตชิโน่
– ปลั๊กไฟแอนิเทคเป็นเส้นสีขาว ขนาดใหญ่กว่าพานาโซนิค ทุกยี่ห้อเขียนติดไว้ 3×0.75
ปล. คาดคะเนจากสายตาผมเอง
5. เต้าเสียบ/หัวปลั๊ก
เต้าเสียบหรือหัวปลั๊กทั้ง 5 ยี่ห้อ ขากราวนด์เป็นขากลม มี 3 ขา และมีฉนวนหุ้มที่ขาปลั๊ก 2 ขา เพื่อป้องกันไม่ให้เผลอเอามือไปจับ และโดนไฟช๊อต เหมือนกันตามที่ มอก. ระบุไว้ ขากราวนด์ ตามมาตรฐาน มอก. ฉวนที่หุ้มขาปลั๊กต้องมีความยาวเท่ากันทั้ง 2 ขา
6. เต้ารับ /รางปลั๊กไฟ
ทั้ง 5 ยี่ห้อมีม่านไฟฟ้านิรภัย พร้อมมีระบุตำแหน่งการเดินของกระแสไฟฟ้า N L G อย่างชัดเจน
– ปลั๊กไฟพานาโซนิคกับปลั๊กไฟดาต้ามีม่านนิรภัยสีขาว แต่ปลั๊กไฟดาต้าม่านนิรภัยอยู่ตื้น ดูติดดับรูเสียบมากที่สุด
– ปลั๊กไฟโตชิโน่ ปลั๊กไฟแชมป์ และปลั๊กไฟแอนิเทค เป็นม่านนิรภัยสีดำ
– ปลั๊กไฟโตชิโน่และแชมป์ม่านนิรภัยอยู่ลึกที่สุด
– ปลั๊กไฟโตชิโน่ กับปลั๊กไฟแชมป์จะมีสวิตช์แยกของแต่ละรูปลั๊ก
– ปลั๊กไฟพานาโซนิค ปลั๊กไฟดาต้า และปลั๊กไฟแอนิเทคเป็นสวิตช์รวม
– ปลั๊กไฟแชมป์เป็นสวิตช์ไฟที่ใหญ่ที่สุดเหมือนสวิตช์ไฟบ้าน
– ปลั๊กไฟโตชิโน่ กับโตชิโน่เป็นสวิตช์สีขาวขนาดเล็ก
– ปลั๊กไฟดาต้า และปลั๊กไฟแอนิเทค เป็นสวิตช์สีใส เปิดแล้วจะเห็นไฟชัดเจน แต่ปลั๊กดาต้ามีไฟที่สวิตช์สว่างกว่าของแอนิเทค
– โตชิโน่, แชมป์ และ ดาต้า มีตัวล็อคที่ดูแข็งแรง กดลงไปแล้วไม่เกิดการยุบ
– แอนนิเทค ตัวล็อคเป็นฉนวนหุ้มธรรมดา ดูไม่ค่อยแข็งแรง แต่กดแล้วไม่ยุบ
– พานาโซนิค ตัวล็อคดูไม่แข็งแรง กดลงไปแล้วเกิดการยุบ
.
.
ทุกยี่ห้อใช้ Circuit Breaker หรือ circuit switching แทนฟิวส์
ต้องบอกก่อนว่าตัวนำไฟที่ดีที่สุดคือ เงิน ทองแดง ทองเหลือง เหล็ก สังกะสี ตามลำดับ แต่ในปลั๊กไฟนิยมใช้ทองเหลืองมากกว่าทองแดง เพราะทองแดงจะเกิดสนิมง่าย ต้องมีที่ครอบเพื่อไม่ให้โดนอากาศยาก จากที่เห็นจะมีบางยี่ห้อใช้ทองเหลือ บางยี่ห้อใช้ทองแดง ถ้าใช้ทองเหลืองก็ต้องใช้ทองเหลืองที่หนา เพื่อเป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดี จากความคิดเห็นของผมมี 3 ยี่ห้อที่ใช้ทองเหลืองคือ ปลั๊กไฟดาต้า ปลั๊กไฟพานาโซนิค และปลั๊กไฟโตชิโน่
– จากการลองจับและวัดด้วยสายตาปลั๊กไฟดาต้าเส้นทองแดงหนาและแข็งกว่าอีก 2 ยี่ห้อเล็กน้อย
– ปลั๊กไฟแอนนิเทคกับปลั๊กไฟแชมป์ จากที่สังเกตลักษณะกล่องคาดว่าน่าจะใช้เส้นทองแดง
– ส่วนยี่ห้ออื่นมีเส้นทองแดง 24 ตามมาตรฐานทั่วไปของเส้นทองแดง
เกร็ดความรู้เล็กน้อยนะครับ ในสายไฟเมื่อเปิดออกจะเจอสายที่หุ้มเส้นทองแดงอยู่ 3 เส้น 3 สี เส้นที่มีไฟคือ (L) สายไฟสีน้ำตาล เส้นนิวทรัลคือ (N) สายไฟสีฟ้า หรือน้ำเงิน สายดินคือ (G) สายไฟสีเขียวแถบเหลือง
7. ปลั๊กเสียบได้แน่นหรือไม่
ลองใช้ขวดน้ำที่มีน้ำอยู่ข้างใน ผูกติดกับหัวปลั๊กแล้วลองเสียบดู ปรากฎว่าทุกยี่ห้อปลั๊กแน่น เสียบไม่หลุดง่ายๆ อันนี้ผมชอบมากครับ เพราะเคยเจอปัญหาสายขยับนิดหน่อยก็ปลั๊กหลุด ไฟตัด เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าพังด้วยนะครับ
– ปลั๊กไฟดาต้า,พานาโซนิค ดูแน่นมากกว่าทุกยี่ห้อ ตอนเสียบ 2 แบรนด์นี้ใช้แรงกดพอสมควร
– ปลั๊กแชมป์กับโตชิโน่ ตอนเสียบต้องใช้แรงพอสมควรเหมือนกัน แต่พอเสียบมีความรู้สึกว่าไม่แน่นเท่าสองยี่ห้อก่อนหน้านี้
– ปลั๊กไฟแอนนิเทคใช้แรงไม่มา และดูหลวมที่สุดใน 5 แบรนด์
8. ระบบตัดไฟ
ทุกยี่ห้อมี Circuit Breaker เมื่อใช้ไฟเกิน ระบบจะตัดไฟเพื่อไม่ให้เกิดการช๊อต หรือลุกไหม้ หลังจากตัดไฟ เมื่อเรากด Reset ก็กลับมาใช้งานได้เหมือนเดิม ทุกตัวใช้เวลาประมาณหนึ่งในการตัดไฟครับ ซึ่งแต่ละตัวไม่เท่ากัน
.
9. กำลังไฟ
ทุกยี่ห้อมีกำลังไฟอยู่ที่ 10A / 250V และ 2300 W
สรุป…
เรื่องของ Design ส่วนตัวผมคิดว่า ปลั๊กไฟพานาโซนิค กับปลั๊กไฟดาต้า มีความกะทัดรัด พกพาง่ายกว่ายี่ห้ออื่น ทั้ง 5 ยี่ห้อได้มาตรฐาน มอก. ปลั๊กพ่วงอย่างถูกต้อง สายไฟทุกเส้นมีความหนา ปลอดภัยต่อการใช้งาน และได้มาตรฐาน เต้าเสียบเป็นขากลม 3 ขาตามมาตรฐาน ปลั๊กไฟแชมป์ กับปลั๊กไฟโตชิโน่จะมีสวิตช์แยกของแต่ละรูปลั๊ก
ส่วนปลั๊กไฟพานาโซนิค,ปลั๊กไฟแอนนิเทค และ ปลั๊กไฟดาต้าเป็นสวิตช์รวม เต้ารับมีม่านไฟฟ้านิรภัย ทุกตัวป้องกันไฟลาม ภายในใช้เส้นในนำไฟฟ้าไม่เหมือนกัน บางยี่ห้อใช้ทองแดง บางยี่ห้อใช้ทองเหลือง ในบรรดาเส้นทองเหลือง ของปลั๊กไฟดาต้าหนากว่ายี่ห้ออื่นตามความรู้สึกของผมเอง ระบบไฟฟ้าด้านในมีระบบตัดไฟ หรือที่เรียกว่า Circuit Breaker ทุกยี่ห้อตามมาตรฐานถูกต้อง ในเรื่องราคา 5 ยี่ห้อนี้ ปลั๊กไฟดาต้า มีราคาถูกที่สุด
ผมแกะปลั๊กไฟทั้ง 5 ยี่ห้อ จนได้ข้อสรุป ในเรื่องของความปลอดภัยทุกยี่ห้อผ่านมาตรฐาน มอก. ทั้งหมด จุดเด่นของแต่ละยี่ห้อก็แตกต่างกันไป แล้วแต่ความสะดวกที่จะเลือกใช้งานครับ ส่วนตัวผมคิดว่าคงเลือกยี่ห้อปลั๊กไฟดาต้า เพราะนอกจากเส้นทองเหลือที่หนาขึ้นทำให้การใช้งานปลอดภัยมากขึ้น รวมถึงตัวล็อคสายที่ดูแข็งแรง ปลอดภัย และด้วยคุณภาพที่ไม่แตกต่างกันมากจนเกินไป ที่สำคัญคือราคาที่ถูกกว่า (ได้ของคุณภาพดีเท่ากัน ในราคาที่ถูกกว่า)
ถึงแม้ราคาจะสูงกว่าปลั๊กไฟตามตลาดนัด แต่ปลอดภัย ไม่ช็อต ไม่ทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าพัง ผมว่ามันก็คุ้มค่าที่จะซื้อปลั๊กไฟที่ได้มาตรฐานนะครับ มีเบรกเกอร์ตัดไฟ หาดูที่ราคาย่อมเยาว์ เราจ่ายไหว ที่ผมรีวิวไปหวังว่าจะเป็นประโยชน์กับช่างคนอื่น และลูกค้าทุกๆคนนะครับ
ปล. แล้วอย่าลืมดูพวกสายดินด้วยนะครับ
ปล. ทั้งหมดเป็นความคิดเห็นส่วนตัวผมนะครับ
.