การออกแบบแลนด์มาร์คนอกจากจะมีความสวยงามแล้ว เรื่องของการใช้งานที่มีประโยชน์ร่วมมาด้วยนั้นช่วยดึงประสิทธิภาพการใช้งานให้สูงที่สุด
ตัวอย่างของ ‘พาสาน’ อาคารสัญลักษณ์ต้นแม่น้ำเจ้าพระยา แลนด์มาร์คของปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ ตั้งอยู่บริเวณแหลมเกาะยม จุดบรรจบแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน และต้นกำเนิดแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งในช่วงฤดูฝนหรือน้ำหลากจะทำให้เกิดน้ำท่วมตามมา
การปล่อยให้เกิดน้ำท่วมบริเวณแลนด์มาร์คนั้นไม่ใช่เป็นการละเลย แต่เป็นการตั้งใจทำให้สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศ ซึ่งการอธิบายถึงหลักการออกแบบนั้นทางเพจ สถาปนิก ignite ได้อธิบายไว้อย่างครบถ้วนเลย
“ในที่สุด ! แต่นี่เป็นไปตามการออกแบบนะ สำหรับตัวอาคารที่เป็น Landmark นั้นหลายๆคน คงจะทราบแล้วว่า “พาสาน” เกิดจากคำว่า มีที่มาจากคำว่า “ผสาน” คือ การรวมกัน แต่ “พาสาน” คือ การ”พา”คนเข้าไป ”สาน” ให้เกิดการผสมผสานกันระหว่าง คน สถานที่ และช่วงเวลา
โดยมีรูปแบบอาคารที่มีความหมายเชิงสัญลักษณ์ แต่ งานนี้จะสมบูรณ์ไม่ได้ เลยถ้าไม่มีการ วางผังและออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมที่ดี
ตามสัญญาที่เคย โพสต์ เรื่องนี้มาก่อนหน้านี้ ทีมงานจึงขอสรุปใจความในเรื่องงานภูมิสถาปัตยกรรม จากการคุย กึ่ง สัมภาษณ์ ภูมิสถาปนิกผู้ออกแบบ คุณ Josh ธัชพล สุนทราจารย์ อย่างไม่เป็นทางการให้เพื่อนๆ ทราบดังนี้
ความสำคัญของที่ตั้ง คือ จุดนี้เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำเจ้าพระยา เกิดจากแม่น้ำสองสายบรรจบกัน คือแม่น้ำ ปิง และ น่าน ทำให้เห็นชัดว่าเมื่อแม่น้ำบรรจบกันแล้ว มีสองสี
เงื่อนไขของ site ที่มีผลต่อการออกแบบคือ ระดับน้ำ พื้นที่บริเวณนี้จะมีน้ำท่วม ในฤดูน้ำหลาก ระดับน้ำเฉลี่ยในบริเวณนี้คือ +18 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล แต่ในช่วงน้ำหลาก น้ำอาจจะสูงไปได้ถึงระดับ26เมตรได้ เท่าปี 2554 ที่เกิดน้ำท่วมใหญ่
ซึ่งคุณ Josh บอกว่าถ้าระดับน้ำถึง 24 เมตรน้ำจะท่วมใต้อาคาร อาจจะได้เห็นการพายเรือรอดได้ ซึ่งในสัปดาห์นี้ น้ำอยู่ที่ประมาณ 23 เมตรแล้วครับ
ดังนั้นการออกแบบที่ดีที่สุดคือ การไม่เอาชนะธรรมชาติ หากเอาชนะธรรมชาติคือไม่ให้น้ำท่วมเลย จะต้องทำเขื่อนสูง 24-26 เมตร ซึ่งสูงจากระดับน้ำเฉลี่ย 6-7 เมตรเลยทีเดียวไม่รวมในช่วงหน้าแล้ง อาจจะกลายเป็นเขื่อนสูง 9-10 เมตร ประมาณบ้านสามชั้นเลย เวลามองมาคงไม่สวยเอามากๆ
การออกแบบทางภูมิสถาปัตยกรรม จึงออกแบบโดยยอมรับให้น้ำเข้าท่วม site ได้แล้วให้เห็นปรากฏการณ์ของ Space & Time ที่เปลี่ยนไป เมื่อฤดูกาลเปลี่ยน ทำให้เกิดภาพที่สามารถ นำเรือลอดใต้ สัญลักษณ์แม่น้ำเจ้าพระยานี้ได้
นอกจาก อาคารแล้ว ส่วนประกอบของโครงการ ก็มีส่วน พิพิธภัณฑ์ ที่อยู่ใต้ดินอีกด้วย และ สวนสาธารณะ โห.. ฟังแล้วต้องถามงบประมาณโครงการ
ซึ่งทำให้อึ้งเข้าไปอีกว่า ใช้งบ 200 ล้านบาทในปี 2554 เป็นงบจากเทศบาล และ ประชาชนร่วมบริจาค
ทำให้รู้ว่าคนที่นี่รักท้องถิ่น และ ถ้าเทียบกับ เทศบาลที่ เอาเงินไปซื้อ เสากินรี หรือ เสาตัวอะไรประหลาดๆ ทั้งหลายแล้ว
โครงการนี้ได้น้ำได้เนื้อกว่ามาก ในแง่ ได้สถานที่นันทนาการได้ museum ได้เป็นสถานที่เรียนรู้ทางภูมิศาสตร์
จะว่าไปแล้วความเป็นธรรมชาติอันเป็นเอกลักษณ์ของ Site และ ข้อจำกัดเรื่องน้ำท่วม จัดว่าเป็นเนื้อหาด้าน ภูมิสถาปัตยกรรม ที่มีลักษณะคล้าย ผู้หญิงที่มีความ Sexy และร้ายกาจพอๆกัน
ด้วยส่วนผสมแบบนี้ จะออกมาสวยได้ ก็ต้องมีรสนิยมที่ดี หรือมี stylish ที่ดี และที่สำคัญ ยังมีผู้สนับสนุนที่ดีด้วยคือคนในท้องถิ่น”
ที่มา: @architectvariety