ด้วยสภาพอากาศที่ไม่แน่นอนของประเทศไทย ทำให้หลายคนตัดสินใจเลือกซื้อบ้านพร้อมโรงจอดรถ หรือต่อเติมโรงจอดรถในร่ม เพื่อกันแดด กันฝน หรืออันตรายต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับยานพาหนะที่ใช้เป็นประจำในทุกๆ วัน
สำหรับใครที่กำลังมีแผนอยากต่อเติมโรงจอดรถที่บ้าน วันนี้ ในบ้าน ข้อมูลดีๆ ในสร้างโรงจอดรถด้วยหลังคาเมทัลชีทจากคุณ BoomBasic มาให้ได้ชมกัน รายละเอียดจะเป็นอย่างไรนั้น ไปติดตามกันเลยค่ะ
[CR] รีวิวต่อเติมหลังคาโรงรถ Metal Sheet + PU Foam 36 ตร.ม. ด้วยงบ 8 หมื่นบาท
(โดย BoomBasic)
สวัสดีครับ วันนี้ผมจะมารีวิว ทำหลังคาโรงรถ Metal Sheet + PU Foam 36 ตร.ม. ด้วยงบ 8 หมื่นบาทตามชื่อกระทู้เลยครับ
เนื่องจากบ้านที่ซื้อมามีพื้นที่จอดรถ แต่ไม่มีหลังคาทำให้ต้องจอดรถตากแดด ตากฝนอยู่นาน และที่บ้านก็เลี้ยงหมาด้วย ผมเลยมีแนวคิดว่าจะทำโรงรถให้รถ + ให้หมาด้วย จากรูปด้านล่างเป็นสภาพบ้านตอนที่ไม่ได้ทำหลังคาครับ
และด้านล่างเป็นสภาพหมา (ฺBrownie) ตอนที่ยังไม่ทำหลังคาเช่นกัน
ผมเลยศึกษาข้อมูลครับ จนสุดท้ายลองให้ช่างมาวัดพื้นที่และประเมินราคาหลังคา Metal Sheet + PU หนา 1 นิ้ว พื้นที่รวม 36 ตร.ม. โดยผมส่งเงื่อนไขไปให้ผู้รับเหมาหลังคาหลายเจ้าตีราคา โดยเงื่อนไขตามด้านล่าง
– หลังคา Metal Sheet+PU 1″ 36 ตร.ม.
– เสาแต่ง 2 ต้น
-เสาธรรมดา 2 ต้น
-ลงเสาเข็มลึก 4 เมตร 3 หลุม
-ติดไฟ 6 ดวง
-รางน้ำฝน
ถ้า Spec ตามนี้ ที่ได้สอบถามมาหลายเจ้าราคาจะตกราวๆ 8 หมื่น ถึง 1 แสนบาท ครับ โดยถ้าต้องการลดราคาลง ก็ต้องลด Spec เช่นลงเสาเข็มให้ตื้นขึ้นหรือไม่ลงเลย หรือฝากน้ำหนักไว้กับตัวบ้าน (ไม่ใช้เสาฝั่งตัวบ้าน) อะไรทำนองนี้ แต่ผมเลือกจ่ายส่วนนี้เพื่อป้องกันผลกระทบที่ตามมาทีหลัง เช่นหากเกิดการทรุดตัวแล้วหลังคาไปดึงรั้งบ้านลงมากรณีฝากน้ำหนักไว้ที่ตัวบ้านอะไรทำนองนี้ กลัวมันเกิดแล้วมันจะไม่คุ้มครับ เลยเลือกจ่ายเพิ่มขึ้นอีกหน่อยเพื่อความสบายใจ คงจะดีกว่าต้องมานั่งจ่ายเงินซ่อมบ้านทีหลัง ต่อไปก็ไปดูขั้นตอนการก่อสร้างเลยดีกว่าครับ
เริ่มแรกช่างก็จัดการลงเสาเข็มครับ ผมเลือกลงลึกแค่ 4 เมตร ถ้าลงลึกมากกว่านี้ก็ได้ครับ ราคาก็จะสูงขึ้นไปอีก (โครงสร้างหลังคาใช้เหล็กกล่อง และ Metal Sheet น้ำหนักรวมไม่มาก ประกอบกับผมใช้เสาค้ำทั้งหมด 4 เสาแล้ว เลยลงเข็มลึกแค่ 4 เมตรพอ)
.
.
.
หลังจากจบวันแรกก็จะได้โครงสร้างคร่าวๆตามรูปด้านล่างครับ ซึ่งงานค่อนข้างไวมากเลย
โดยช่างจะเชื่อมเสาค้ำยันไว้หลายจุดครับ เนื่องจากปูนเสาเข็มยังไม่แห้งสนิทดี
.
วันต่อมาก็ทะยอยทาสีครับ รวดเร็วมาก
ด้านล่างจะเป็นสภาพวันที่ 4 ครับ จะเห็นว่าโครงทุกอย่างแทบจะสมบูรณ์หมดแล้ว เหลือแค่ปูหลังคากับเดินไฟแค่นั้น
.
โดยไฟผู้รับเหมาให้เราไปซื้อมาเองครับ ผมเลือกซื้อโคมไฟกลม Online ขนาด 6″ สีดำเพราะราคาไม่แพงครับ จัดมาเลย 6 ตัว ตัวละ 150 บาท
ส่วนไฟผมเลือกซื้อแบบ LED 24 WATT ครับ เอาให้สว่างทั่วบ้านไปเลย ของที่ซื้อมาก็เอามากองไว้หน้าบ้านให้ช่างจัดการต่อ
ส่วนตำแหน่งติดตั้งไฟเราก็ Mark ให้ช่างเลยครับว่าจะติดตั้งจุดไหน ผมชอบให้ติดห่างๆกันหน่อย
มาดูวันสุดท้ายกันเลยดีกว่าครับว่าจะออกมาเป็นอย่างไร เริ่มจากทดสอบหลังคาว่ามีจุดรั่วหรือไม่
.
.
เดินไฟตามตำแหน่งที่ Mark เอาไว้
.
.
และสุดท้ายเก็บงานทำความสะอาดครับ ทำงานรวดเร็ว และปราณีตมาก
.
สุดท้ายครับ มาดูผลงานที่แล้วเสร็จกันครับ
.
.
.
.
.
.
.
.
ในส่วนของราคาจะถูกหรือจะแพงก็ขึ้นอยู่กับ Option ของเจ้าของบ้านครับว่าจะเลือกทำมากน้อยขนาดไหน สำหรับผมเองทำแค่นี้ก็น่าจะตามสมควรกับงบประมาณที่มี และความปลอดภัยของโครงสร้างตามที่ตนเองต้องการแล้วครับ
ใช้เวลาในการก่อสร้างเพียงแค่ 5 วันเท่านั้นครับ รวดเร็วมากๆๆๆ หวังว่าจะมีประโยชน์กับคนที่สนใจต่อเติมหลังคานะครับ
ที่มา :BoomBasic .