ที่ดินหน้าแคบ อาจเป็นอุปสรรค์ในการก่อสร้างบ้านสำหรับใครหลายคน เพราะบ้านที่ดินหน้าแคบมักจะมาพร้อมกับข้อจำกัดในการก่อสร้างหลายๆ อย่าง ซึ่งถ้าหากออกแบบได้ไม่ดีพอ รูปทรงของบ้านอาจจะดูไม่สวยงาม และอาจทำให้พื้นที่ใช้สอยภายในบ้านลดลงได้
แต่สำหรับคุณ stargooseberrykennel กลับมองว่ามันเป็นเรื่องท้าทายที่จะได้ออกแบบบ้านลงบนพื้นที่ทรงแคบ ซึ่งเขาก็ได้เปลี่ยนให้ที่ดินขนาดจำกัดแห่งนี้ กลายเป็น “บ้านหน้าแคบสไตล์โมเดิร์น” ที่มีความสวยงามโดดเด่น อีกทั้งยังมีพื้นที่ใช้งานครบครัน พร้อมทั้งสวนพักผ่อนกลางบ้าน ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นอย่างไร ต้องลองไปติดตามกันค่ะ
เมื่อสถาปนิก ต้องปลูกบ้านหลังแรกให้ตัวเอง
(โดย stargooseberrykennel)
Chapter 1 บริบทที่ดินและที่มาที่ไป
การเริ่มต้น ที่จะมีบ้านเป็นของตนเองในฐานะ สถาปนิกด้วยแล้ว กว่าจะได้เริ่มเป็นรูปร่าง อายุก็ปาเข้าไป หลักสี่แล้วเป็นที่เรียบร้อย จะว่าเริ่มจากปลูกบ้านให้ตัวเองก็ไม่เชิง เพระาแรกเริ่มเดิมทีกะว่าจะทำไว้ขาย แต่ไปๆมาๆ ชักเริ่มเสียดายเลยล้มแผนการกลับมาเป็นบ้านหลังแรกของตัวเองซะอย่างนั้น แรกเริ่มเดิมทีที่ดินตรงนี้เป็นของเพื่อนบ้าน ซึ่งเราเองตั้งแต่เกิดก็โตมากับบ้านเก่าที่ติดกัน กับที่ดินแปลงนี้จนวันนึงเจ้าของบอกขายเพราะไม่มีคนมาอยู่ ทางครอบครัวเลยซื้อไว้ ประกอบกับรถไฟฟ้ากำลังจะมาพอดี เห็นข่าวว่าจะเปิดให้บริการ ก่อนสิ้นปีนี้ 2561 นี้ เนื่องจากที่ดินเป็นทรงแคบและลึก จึงค่อนข้างมีข้อจำกัดในการออกแบบพอสมควร ทางเลือกที่เอามาใช้แก้ปัญหา คือการหาทางเอาวิวที่เป็นส่วนตัวแล้วสามารถใช้ประโยชน์จากวิวนี้ ให้ได้มากที่สุด
Chapter 2 อยู่อย่างไทยไม่มีเชย
สิ่งนึงที่ผมชอบทำอยู่เสมอๆในการออกแบบคือการนำเอา ภูมิปัญญาของไทยมาใช้ในการออกแบบ เมื่อมาถึงบ้านตัวเองก็ต้องไม่ลืมเอามาใช้ ลักษณะที่ว่าดังกล่าวคือ ในการเข้าถึง space ต่าง ของไทยมักจะมี ส่วนที่เรียกว่า Transition space ลองนึกภาพดูว่าจากเรือนไทยในสมัยก่อน จะมีชานบ้านเป็นตัวเชื่อมก่อนเดินไปในส่วนพื้นที่ใช้สอยอื่นๆของบ้าน เช่นเมื่อคุณจะเดินไปครั้ว คุณต้องออกจากเรือนนอนมาเดินผ่านชานบ้าน แล้วจึงไปเข้าครัว เราจึงเอาตรงนี้มาใช้
การทำ คอร์ทตรงกลางเพื่อเพิ่มพื้นที่ส่วนที่ติดอากาศและสร้างมุมมอง ส่วนตัวให้กับห้องต่างๆ
Chapter 3 ผสานความต้องการกับ lifestyle
อย่างที่กล่าวมา บ้านหลังนี้เป็นบ้านหลังแรกและเป็นบ้านในอนาคตของลูกๆด้วยเพราะคงไม่ได้สร้างบ้านกันบ่อยๆ อันดับแรก บ้านนี้ประกอบด้วย ชั้น 1
living room 1 ห้อง
kitchen and dining 1 ห้อง
restroom 1 ห้อง
ชั้น 2
ห้องนอน 3 ห้อง
ห้องน้ำ 3 ห้อง
เนื่องจากมีลูกเล็ก 2 คนจึงเตรียมห้องนอนไว้ให้ลูกทั้ง 2 คนเผื่อไว้ในอนาคตส่วนพื้นที่อื่นๆคือส่วนที่ใช้ร่วมกัน
สิ่งที่ขาดไม่ได้คือต้นไม่กลางบ้าน เป็นสิ่งแรกที่เขียนลงไปในแปลนบ้าน ก่อนที่จะกำหนดห้องอื่นๆเสียอีก ในแปลนสังเกตได้ว่า ครัวจะอยู่ด้านหน้า ห้องรับแขกอยู่ด้านหลังเพราะต้องการความเป็น private แต่จริงๆแล้วเราออกแบบพื้นที่ให้สามารถเชื่อมต่อกันได้ โดยมีสวนกลางบ้านเป็นตัวเชื่อม
Chapter 4 การย่อย mass และรูปแบบ pattern
การออกแบบบ้านหลังนี้ เหมือนการทดลองนำเอาไอเดียหลายๆอย่างมาลอง การสะท้อนเอกลักษณ์ของบ้านจึงเป็นสิ่งสำคัญที่อยากให้บ้านมันมี pattern อะไรบางอย่างที่ไม่เหมือนใคร เริ่มจาก รูปทรง ที่ดินที่ยาว เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า เราจัดการเอา mass ตรงกลางออกเกิดเป็น courtyard กลางบ้าน mass ส่วนที่ตรงกลางที่ยกออกมาส่วนนึงเอามาทำเป็น volume หลังคาจั่วด้านหน้า แล้วส่วนที่เหลือมามาย่อยเป็นสัดส่วนเล็กๆแล้วเอามาทำเป็น Skin facade อาคาร
Chapter 5 เริ่มก่อสร้าง
งานเข็มเจาะ เสร็จเรียบร้อย
เริ่มผูกคานคอดิน งานคานคอดินชั้น 1
ผนังตรงโถงบันไดใช้การเทคอนกรีตเปลือย โชว์พื้นผิว โดยที่เราฝังไฟรอเอาไว้ก่อนเทคอนกรีตเลย บอกช่างไปว่าแกะแบบยังไงเอาแบบนั้นเลยไม่ต้องฉาบแต่งใดๆทั้งสิ้น เอาเท่าที่ทำได้ให้ดีที่สุด ไว้เดี๋ยวมาดูผลลัพธ์ครับ
เริ่มงานพื้นชั้น 2 ก่อนก่อผนังเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง
ผนังคอนกรีต wall ครึ่งแรก แกะแบบออกมาเป็นที่น่าพอใจใช้ได้ถึงแม้ว่าจะไม่ perfect แต่ก็ถือว่ายอมรับได้ในระดับนึงทีเดียวสำหรับช่างที่ไม่เคยทำ
.
.
.
เมื่อ คอนกรีต wall ผสานกับ โครงสร้างบันไดที่ใช้การเข้าแบบให้หยักตามรูปแบบโครงสร้าง ซึ่ง pattern ที่กำหนดไว้ ตั้งแต่การออกแบบ
.
จุดยากอีกอย่างคือรูปทรงจั่วที่เราอยากให้มันออกมาเป็น pure form เรียบๆนิ่ง ไม่อยากได้หลังคาที่มี ลอนๆ เราจึงใช้วิธีการหล่อ คอนกรีตหลังคา
เลย ซึ่ง detail ค่อนข้างยากนิดนึง แต่ช่างก็ยินดีทำให้
.
.
หลังจากถอดแบบออกมาเริ่มเห็น form เป็นรูปเป็นร่างมากขึ้นก่อนถึงงานฉาบปูน
.
งานฉาบเริ่มมา บ้านเหมือนดูเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น
.
.
.
แล้วสิ่งที่รอคอยก็มาถึง อย่างที่บอก สิ่งแรกที่เขียนลงไปในแบบบ้านคือต้นไม้ใหญ่ ซึ่งจะช่วยให้บรรยากาศของบ้านดีขึ้นอยา่งมาก แต่การเอาเข้ามาก็ยากลำบากพอสมควรทีเดียว แต่ก็คุ้มค่ากับการรอคอย
.
.
.
.
.
.
.
.
ส่วนท้ายๆของการก่อสร้างคือการทำ skin อาคาร อย่างที่กล่าวไป เราพยายามหาเอกลักษณ์ เล็กๆน้อยๆให้กับบ้านหลังนี้ รูปแบบ ต่างๆที่ได้เห็น พยายามที่จะให้มันสอดประสานเป็นเรื่องราวเดียวกัน ทั้งภายนอกและภายใน
.
.
.
.
.
.
แล้วสุดท้าย บ้านก็เสร็จ ใช้เวลาประมาณ 1 ปี นิดๆนับจากวันตอกเข็ม
.
.
.
.
.
คอร์ทตรงกลางบ้าน เปิดมุมมองให้ห้อง ครับและ living room ได้วิวที่เป็นส่วนตัว สวนกลางบ้านยังสามารถเชื่อมส่วนทั้งสองได้ด้วย
.
.
.
.
.
.
Interior ภายในบ้านบางส่วนครับ
.
.
.
.
.
.
.
.
เมื่อเพิ่มการออกแบบแสงไฟเข้าไปในอาคาร เพื่มยามค่ำคืนจะได้ไม่มืด
.
.
.
.
.
.
สุดท้ายหวังว่า การรีวิวนี้คงจะมีประโยชน์ เล็กๆน้อยให้กับผู้ที่กำลังหรือมีแผนจะสร้างบ้าน นอนาคตอันใกล้นี้ ขอบพระคุณที่เข้ามาเยิ่ยมชมกระทู้ด้วยครับ
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
ที่มา : stargooseberrykennel .