ไม่ว่าบ้านหลังไหนก็มีพัดลมเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้เป็นประจำ และเมื่อพัดลมถูกใช้งานไปนานๆ ก็มักจะเกิดอาการหมุนช้า หรือไม่ยอมหมุนทั้งๆ ที่เสียบปลั๊กและเปิดสวิตซ์แล้ว หากนำไปให้ช่างซ่อม ก็คงจะเป็นเรื่องที่สิ้นเปลืองไม่น้อย คงจะดีทีเดียวหากเราสามารถซ่อมพัดลมที่ติดๆ ดับๆ ได้ด้วยตัวเอง
วันนี้ ในบ้าน ก็มีขั้นตอนการซ่อมพัดลมมาฝากชาวเว็บกันครับ เป็น วิธีแก้พัดลมไม่หมุน หมุนช้า หรือหมุนไม่สม่ำเสมอ สาธิตโดยคุณ Control.A บ้านใครที่มีพัดลมที่ที่มีอาการดังกล่าว ลองมาดูกันเลยครับ ทีนี้ก็ไม่ต้องเสียเงินไปจ้างช่างกันแล้วล่ะ
ซ่อมเองได้ไม่แพงด้วย!! วิธีแก้พัดลมไม่หมุน หมุนช้า หรือหมุนไม่สม่ำเสมอ ด้วยเงินเพียง 20 บาท
อาการเสียที่ว่าเกิดจากตัว Capacitor ที่ทำงานร่วมกับ Motor ของพัดลมครับ Capacitor หรือที่เรียกว่า ตัว C หรือบางคนเรียกตัว CAP ครับ
จริงๆ อาการพัดลมหมุนช้า ไม่หมุนโดยมากเกิดได้จาก 2 สาเหตุ ก็คือ Motor เสีย และตัว Capacitor ค่ามันเสื่อมหรือเสียนั่นแหละครับ ซึ่งโอกาสที่จะเสียมากที่สุดก็เป็นเจ้าตัว C นี่แหละครับ
ส่วนอาการอื่นๆ ที่อาจจะเกิดตัว C เสียได้อีกก็คือ พัดลมไม่หมุน หรือ ต้อง Start ด้วยมือก่อนถึงจะทำงาน หรือ ทำงานไปซักพักก็ค่อยๆ หยุด จับตัว C เปลี่ยนได้เลยเช่นกัน
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นควรจะตรวจเช็คดูก่อนนะครับว่าแกนหมุนไม่ได้ฝืดมาก อันนั้นเกิดจากไม่ค่อยได้ถอดมาล้างทำความสะอาด เป่า ปัด ฝุ่นบริเวณมอเตอร์เลย ซึ่งควรทำเป็นประจำครับ 2-3 เดือนซักครั้งนึงหากเราใช้งานทุกวัน
เครื่องมือที่ใช้ก็มี
1. ไขควงแฉก
2. คีมตัดหรือ Cutter ก็ได้
3. หัวแร้ง
4. ตะกั่วบัดกลี
5. ที่ขาดไม่ได้เลยก็คือตัว C หรือตัว CAP นั่นแหละครับ
6. ส่วน Meter วัดไฟจะมีหรือไม่มีก็ได้ครับ ไม่ค่อยจำเป็นผมเอามาเช็คเพื่อให้เห็นว่าตัวที่เสียเกิดจากตัว C ครับ
นี่ครับตัว C ราคา 20 บาท ซื้อได้ที่ร้านอมร หากใครมีโอกาสไปเดินบ้านหม้อก็อาจจะหาได้ในราคา 10-15 บาท หรือร้านที่ขายอะหลั่ยเครื่องใช้ไฟฟ้า แล้วแต่สะดวกครับ
ส่วนจะรู้ได้อย่างไรว่าใช้ค่าแบบไหนสำหรับตัวที่เราจะซ่อม ก็ต้องถอดร์อพัดลมมาดูก่อนครับ ซึ่งโดยทั่วๆ ไป (เกือบทุกยี่ห้อทุกรุ่น) ก็จะใช้ค่า 1.5uF(Micro Farad) 400V
แต่เพื่อชัวร์ก็ควรจะถอดรื้อดูก่อนครับ หรือเอาตัวอย่างไปถามที่ร้านขายได้เลย บอกคนขายว่า C พัดลมครับ
ขั้นตอนแรกก็ถอดๆๆ ครับ
ก่อนที่จะถอดอย่าลืมดึงปลั๊กก่อนนะครับ อันนี้สำคัญมากๆ ทุกยี่ห้อของพัดลมเจ้าตัว C จะอยู่ติดกับ Motor ครับ เพราะหากลากสายยาวไป สายที่เพิ่มขึ้นก็อาจจะทำให้ค่า C เพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ เพราะฉะนั้นบริษัทผู้ผลิตก็จะเอาไว้ติดกับ Motor ครับ โดยจะมีน๊อต 2 ตัว ต้องถอดน๊อตตัวบนก่อน จากนั้นก็ถอดตัวที่ท้ายครับ
หลังจากนั้นก็จะได้หน้าตาแบบนี้ครับ ตัว C ก็คือที่ลูกศรชี้ไว้นั่นแหละครับ ขันน๊อตตัดสายออกมาได้เลย ไม่มีขั้วครับ ตอนต่อกลับต่อยังไงก็ได้
เอามาตรวจวัดให้ดูครับ ค่าที่ได้ของตัวนี้คือ
0.444 uF ซึ่งค่าปกติจะเป็น 1.5 uF เสียแน่นอน
ซึ่งถ้าค่าน้อยกว่านี้อาจจะทำให้พัดลมไม่หมุนเลยก็ได้
*** ค่าที่โชว์ในรูปคือ 444.2 nF (Nano Farad) ซึ่งก็เท่ากับ 0.4442 uF (Micro Farad) ซึ่งก็คล้ายๆ กับ 1000 มิลลิกรัม เท่ากับ 1 ครับ 1000 เท่ากับ 1 กิโลกรัม นั่นแหละครับ ซึ่งจริงๆ ค่าพวกนี้มันแบ่งย่อยได้ลงไปอีก มิลลิ —> ไมโคร —> นาโน —> พิโก้ ใครเรียนมาทางสายวิทย์อาจจะคุ้นเคย ****
จากนั้นก็ปอกสายไฟตรงปลายเพื่อพัดกลีครับ ต้องระมัดระวังไม่ไปทำให้ส่วนอื่นๆ ของพัดลมเสียหายนะครับ เพราะขดลวด motor จะเล็กมากๆ ขายเอาได้ง่าย
จริงๆ ขั้นตอนนี้ใครไม่มี หัวแร้ง ตะกั่ว ก็สามารถใช้วิธีการพันสายไฟได้ครับ เพียงแต่ต้องพันเข้ากันให้แน่นหนาที่สุด และหลังจากนั้นต้องพันด้วยเทปพันสายไฟอีกครั้ง อันนี้จำเป็นมากๆ นะครับไม่งั้นไฟช๊ดตเอาได้
จากนั้นเป็นอันเรียบร้อยครับ ซ่อมพัดลมด้วยงบประมาณ 20 บาท หากยกไปหาช่างก็ประมาณ 100-150 บาท
สำหรับใครที่เปลี่ยนตัว C ไปแล้วพัดลมยังไม่หมุน (ส่วนคนที่หมุนช้านี่กลับมาปกติแน่นอน) อาการเสียเป็นที่ Motor ค่อนข้างแน่ (ควรแกะฝาล่างดูว่าสายไฟขาดหรือเปล่าก่อนนะ ต้องระมัดระวังหน่อยนะครับ)
อาการ Motor เสียค่าซ่อมประมาณ 200-300 บาท ซึ่งดูเหมือนจะไม่ค่อยคุ้มสำหรับคนที่มีพัดลมตัวเล็ก ๆ ราคา 300-500 บาท
ลองซ่อมดูได้ครับ สำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องพัดลม อากาศร้อนๆ ได้รับลมเย็นๆ จะได้ใจเย็นๆ อารมณ์ดีๆ กันครับ
ที่มา : Control.A