สิ่งที่ต้องทำก่อนที่จะได้เข้าไปอยู่ในบ้านโครงการหลังใหม่ ก็คือการตรวจรับก่อนโอน มีหลายๆ คนที่มองข้ามเรื่องนี้ไป ส่งผลให้บ้านที่ได้มานั้นมีข้อบกพร่องและมีหลายจุดที่ต้องได้รับการแก้ไข บางคนก็อาจถึงขั้นไม่ได้อยู่บ้านตัวเองทั้งๆ ที่ซื้อมาแล้วครึ่งปี เพราะบ้านที่ได้รับมาตรวจเช็คไม่เรียบร้อยและซ่อมแซมยังไม่แล้วเสร็จ
วันนี้ ในบ้าน ก็จะพาชาวเว็บไปชมรูปภาพเด็ดๆ จากคุณ Satan_Boat ที่ได้รวบรวมจากการตรวจบ้าน โดยจะเป็นปัญหาที่ผู้สร้างบ้านเคยได้พบเจอ เคสหนักเบาแตกต่างกันไป ลองมาดูกันเพื่อเป็นวิทยาทานครับ จะได้รู้ว่าสิ่งใดอย่ามองข้ามเวลาที่เราตรวจเช็คบ้านก่อนโอน ตามมาดูกันเลย
อย่ามองข้าม!! รวมภาพเด็ด “ปัญหาที่พบจากการตรวจรับบ้าน” ประสบการณ์ตรงของเจ้าของบ้าน
(โดย Satan_Boat)
1. รูปแรกคือ มีน้ำรั่วจากถังเก็บน้ำชักโครก
จะเห็นน้ำไหลตลอด ถ้าไหลเยอะ อาจจะทำให้ปั๊มทำงานตลอดเวลา เปลืองทั้งไฟ ทั้งน้ำครับ
2. รูปสองคือ กระเบื้องมีความเอียงไม่พอทำให้น้ำขัง
อันนี้ผิดใหญ่หลวงครับ จะทำให้ห้องน้ำเปียกตลอดเวลา ตะไคร่ขึ้นสกปรกด้วย
3. รูปที่สาม คือ กำแพงกั้นระหว่างส่วนเปียกส่วนแห้ง
พอดูด้านบน เจอความมักง่ายของการทำงานครับ
4. รูปที่สี่ คือ ตัวอย่างที่เหมาะสมของการป้องกันปัญหาน้ำขังบริเวณพื้นที่ระหว่าง รูระบายน้ำ กับมุมผนัง
โดยทำการตัดกระเบื้องเฉียงแลัวยกปลายกระเบื้องขึ้น ทำให้น้ำไหลลงรูระบายน้ำได้สะดวกครับ
5. รูปที่ห้า คือ หลังคาน้ำรั่ว
พอขึ้นไปดูบนฝ้า จะเห็นคราบน้ำเปื้อนที่แผ่นฟอล์ยสะท้อนความร้อนแบบจะจะครับ ต้องขออภัยที่ติดยี่ห้อมานะครับ เพียงต้องการเป็นวิทยาทาน นะครับผม
6. รูปที่หก คือ ปูฉนวนกันความร้อนไม่เรียบร้อย
ต้องระวัง ปูฉนวนกันความร้อนจะต้องเว้นรูตรงโคมไฟ ดาวไลต์นะครับ ไม่งั้นจะร้อนจนไหม้ได้
7. รูปที่ เจ็ด คือ ต่อปลั๊กสายไฟเครื่องทำน้ำอุ่นเพื่อทดสอบสายดิน แต่เสียบแล้วไม่มีไฟ
เลยปีขึ้นไปดู สรุป สายไฟโดนตัดขโมยออกไปและทิ้งความเละเทะ ไว้บนฝ้าครับ
8. รูปที่ แปด คือ สายไฟประธาน (สายไฟที่ต่อมาจากเสาไฟฟ้าหน้าบ้าน) สายไฟยาวไฟพอ มีการต่อเชื่อมลงไปยังตู้ไฟด้านล่าง
แบบนี้ไม่ดีครับ ไฟวิ่งแรงในสายไฟชุดนี้ ถ้าต่อแบบไม่ถูกต้อง แบบในรูป (จริงๆ ไม่ควรต่อเลย!! ) มีสิทธิ์เกิดความร้อนที่จุดต่อสูงและลุกไหม้ได้
9. รูปที่เก้า คือ เขี้ยวทองแดงนี้ เป็นช่องสำรอง สำหรับติดตั้งเบรกเกอร์เพิ่มเติม จะต้องมีฉนวนหุ้มให้เรียบร้อยนะครับ
เพราะมีกระแสไฟวิ่งอยู่ ถ้ามือไปโดนนี่ ถึงตายได้นะครับ
10. รูปที่ สิบ คือ ตู้ไฟ ไม่มีระบุว่า เบรกเกอร์ตัวไหน ควบคุมระบบไฟอะไร
แบบนี้ถือว่างานไม่เรียบร้อยครับ
11. รูปที่ สิบเอ็ด คือ กระเบื้องลอนคู่
เทคนิคการติดตั้งคือ ปลายกระเบื้องด้านซ้ายสุดของรูป หากติดตั้งด้วยช่างผู้ชำนาญ เค้าจะทำให้ของของกระเบื้องหลังคา ชี้ขึ้นฝ้าครับ ไม่ใช่ งุ้มลงดินแบบในรูป เพื่อเวลาฝนสาดจากด้านข้างลอดเข้าไปใต้ ปีกกันน้ำ ลอนยกขึ้น จะทำให้น้ำไม่ไหลเข้าบ้าน
12. รูปที่ สิบสอง คือ มองหลังคาแล้วแอ่ม โค้งไปมา ยังงี้น้ำรั่วแน่ๆครับ
หลังคาที่ดี ต้องเป็นแนวตรงกันหมด เอียง ก็ต้องเอียงเป็นระนาบเดียวกัน
13. รูปที่ สิบสาม คือ ลวดแขวนฝ้า
มัดแบบมักง่าย มั่วๆ แบบนี้ หากปูฉนวน ฝ้าแอ่น แน่ หรือไม่ทำอะไร ฝ้าอาจจะค่อยๆ ย้อยลง จนร้าว หรือแอ่นลงแน่ๆ
14. รูปที่สิบสี่ คือ ถังบำบัดไม่ทำงาน
สังเกตดีดี แผ่นพลาสติกที่กั้นระหว่างส่วนโสโครก กับส่วนน้ำใส ที่ผ่านบำบัดไม่มีอะไรกั้น ยังงี้เศษโสโครกยังไม่ทันบำบัด ก็ลอยข้ามออกไปท่อระบายน้ำข้างนอกได้เลย
15. รูปที่ สิบห้า คือ เปิดฝารูระบายน้ำมา เจอไม่ได้ต่อท่อน้ำทิ้งไว้ใต้ถุนบ้าน
ปวดหัวเลยครับ เพราะน้ำไหลลงดินใต้บ้านตรงๆ แมลงเข้ามาได้เลย
16. รูปที่ สิบหก คือ ต้องใส่ข้องอหงาย เพื่อขังน้ำไว้ป้องกันกลิ่นย้อนเข้าไปในห้องน้ำในบ้าน แต่ใส่ผิด
บางอันไม่ใส่ บางอันใส่คว่ำลง
17. รูปที่ สิบเจ็ด คือ ต้องเปิดดูท่อระบายน้ำรอบบ้าน โดยเปิดน้ำในบ้านซักระยะ เพื่อดูว่าน้ำไหลออกไปจากตัวบ้านได้หมด หรือไม่
ถ้าน้ำขังแบบนี้ แสดงว่า ท่อระบายน้ำเอียงไม่พอ ทำให้มีกลิ่นน้ำเน่าในบ้านตลอดเวลา และทำให้ราดน้ำส้วมไม่ลง เพราะมีสิทธิ์ น้ำท่วมปากท่อระบายน้ำที่ออกจากถังบำบัด
18. รูปที่ สิบแปด คือ ลูกบิดประตูห้องน้ำ ต้องเป็นแบบเหรียญขัน
เผื่อมีใครล้มในห้องน้ำ คนด้านนอกเอาเหรียญไขเข้าไปช่วยได้ทัน
19. รูปที่ สิบเก้า คือ ประตูห้องน้ำ
ลองเอากระจก หรือมือถือกล้องหน้า ส่องใต้บานประตูดู หากไม่ได้ทาสี บอกให้ช่างทาสี เพื่อยืดอายุประตู หากไม่ทา จะทำให้โดนน้ำเต็มๆ ทำให้ประตูพอง ดังรูป
20. รูปที่ ยี่สิบ คือ ประตูไม่ได้เจาะรูกลอนให้
เวลาเช็คประตูให้เปิดประตูให้สุด จะได้รู้ว่าติดอะไรไหม และทดสอบกลอนทุกอัน
21. รูปที่ 21 คือ ประตูโดนตัดบาน เพราะบานประตูขนาดใหญ่กว่าวงกบ
หลักการจะต้องตัดเฉลี่ยบนล่าง ไม่ใช่มักง่าย ตัดแต่ด้านบน จน กระดูกประตูหากไปเลย เป็นโพรงแบบนี้ ต้องเอามือลูบขอบบนทุกบานนะครับ
22. รูปที่ 22 คือ ติดตัวล๊อกประตูกับผนังไม่ตรง
ใช้งานไม่ได้ ต้องเช็ดทุกบานที่มี เหมือนกันครับ
23. รูปที่ 23 คือ อุปกรณ์บานพับ และสกรู มีสนิม
แสดงว่าใช้ของห่วย
24. รูปที่ 24 คือ ตรวจสอบขนาดลูกตั้ง ลูกนอนบันได
หากรู้สึกเดินแล้วหวาดเสียว แสดงว่า ขนาดบันไดเล็กเกินไป อันตรายมาก หากไม่ได้ ไม่แนะนำให้ซื้อบ้านเลยครับ เพราะอันตรายในการใช้งานมาก (ความเห็นส่วนตัวนะครับ หากโครงการแก้ไขขนาดบันไดให้ได้ก็โอเค)
25. รูปที่ 25 คือ สายไฟที่ต่อกับปล๊ัก ขันไม่แน่น
อันนี้อันตรายมาก เสี่ยงเกิดความร้อนสะสมที่รอยต่อและไฟลุกไหม้ได้ สาเหตุที่เจอ เกิดจาก ทดสอบแล้ว ช่างต่อสายไฟสลับระหว่าง Line กับ Neutral พอแกะออกมาดู เจอประเด็นเรื่องขันต่อสายไฟไม่แน่น ชุ่ยมากๆ
26. รูปที่ 26 คือ ไม่ได้ต่อท่อระบายอากาศจากพัดลมดูดอากาศในห้องน้ำไปนอกบ้าน
27. เวลาไปตรวจบ้าน มองดูข้างๆ บ้านก็ดีว่า ทำเหมือนบ้านเราไหมนะครับ
เจอประมาณว่า บ้านนึงติดคิ้วบัวปูน บนหน้าต่าง บ้านเราทำไมไม่มี
28. รูปนี้ภูมิใจมาก เป็นรูปที่อธิบาย กับประโยคที่ชอบพูดว่า ลามิเนตโดนน้ำมากๆ ไม่ได้เด๋วพอง
ผมได้ภาพ การพองระยะสุดท้ายของไม้ลามิเนตมาให้ดูครับ
29. รูปนี้ อารมณ์ว่า กระเบื้องสีเพี้ยน ยังดันทุรังปูให้
เป็นไงละครับ เริ่ดไหม
30. ผนังล้มดิ่ง หมายความว่าไง ก็คือผนังมันเอียงไม่ตั้งฉากกับระนาบพื้นครับ
ฟ้องด้วยตา ตรงที่ ความหนาเสามันไม่เท่ากันครับ
31. ก่อผนังห่วย
ฉาบผนังก็เลยกลายเป็นเรื่องยาก ผิวมันเลยขรุขระแบบนี้ครับ
32. หลังคากระเบื้อง ห้าม พ่นโฟมทับนะครับ
เคสนี้ น้ำรั่ว แก้ยากมาก ต้องรื้อกระเบื้องออก ลอกโฟมแล้วมุงใหม่ กันความร้อน ติดฟอล์ยสะท้อนความร้อน พร้อม ปูฉนวนกันความร้อนบนฝ้า และใช้อิฐมวลเบา หนา 10 ซม รับรองบ้านเย็นแน่ครับ
33. จ้างมาตรวจบ้าน ควรมีการเทสระบบไฟของเครื่องทำน้ำอุ่น
ว่าเบรกเกอร์กันดูดทำงานดีไหม เพราะจุดนี้คือความปลอดภัยนะครับ
34. ไม่จืดจริงๆ
35. ฝาบ่อแตก คือ เรื่องธรรมดานะครับ แต่ต้องเปลี่ยนอันใหม่ให้
ที่สำคัญ!!! ฝาบ่อท่อระบายน้ำ หน้าบ้าน หากเป็นที่จอดรถ ฝาบ่อต้องหนาเป็นพิเศษนะครับ อย่างน้อย 5 เซนติเมตร เพื่อรับน้ำหนักรถที่ถอยเข้ามาจอดในบ้าน
36. มาเรื่องงานกระเบื้อง ไอ้ที่มีปัญหามากๆ คือ การปูกระเบื้องแบบ ซาลาเปา
ลองดูรูปแรกนะครับ จะเห็นว่า ถ้าปูแบบซาลาเปา เอาปูนปาดๆ ที่กระเบื้องแล้วแปะลงไปกับพื้นหรือผนัง จะเห็นว่า ปูนแทบไม่ได้ติดกับกระเบื้องเลย อาการคือ เอาเหล็กเคาะเบา จะได้ยินเสียงกลวงหลังกระเบื้อง
แต่ถ้าปูด้วยปูนกาวโดยใช้เกรียงหวี จะเห็นได้ว่า ปูนแผ่กระจายเต็มหน้า ทำให้กระเบื้องแน่น เคาะไม่ดัง
เวลาช่างมาปูทำไมต้องใช้ปูนกาว เพราะมันเหนียว มันทน ถ้าให้ช่างผสมเองกับทรายที่ไม่มีคุณภาพ ที่เค้าชอบเรียกทรายขี้เป็ด จะเห็นว่าปูนมันดูยุ่ยๆ ไม่แข็งแรงยึดกระเบื้องไม่ไหว อยู่ๆไป กระเบื้องมันเลยระเบิดออกครับ
37. ในการติดตั้งถังบำบัดน้ำเสียลงดิน สิ่งที่สำคัญที่ช่างติดตั้งห้ามลืมคือ พอขุดดิน ลงเข็มสั้นและพื้นคอนกรีตรับน้ำหนักถังแล้ว เมื่อวางถังลงไปในดิน ช่างจะต้อง เติมน้ำในถัง ก่อนกลบดินครับ
เพราะ หากไม่เติมน้ำแล้วกลบดินไปเลย แรงดันของดินจะถีบจนถังแตก ดังภาพด้านล่าง คราวนี้ก็บรรลัยเลยครับ เพราะจะต้องรื้อขุดดิน เปลี่ยนถังใหม่ วุ่นวายมากๆ
เคสนี้ ถังบำบัดทรุดตัวเพราะไม่ได้ลงเข็มสั้นไว้ครับ นี้ก็หนักหนาครับ
ที่มา : Satan_Boat