ไม้พาเลท ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน ในการนำมาเป็นเฟอร์นิเจอร์ สำหรับตกแต่งบ้าน เนื่องด้วยราคาประหยัด และเป็นไม้ที่หาง่าย จึงทำให้หลายคนต่างนำมาทำเป็นของประดับบ้าน โดยไม่ได้ตรวจสอบถึงแหล่งที่มาอย่างละเอียด ซึ่งอาจจะนำเชื้อโรคมาสู่บ้านโดยไม่รู้ตัว
วันนี้ ในบ้าน จึงได้นำเทคนิคการตรวจสอบไม้พาเลท ก่อนตัดสินใจซื้อจากคุณ สมาชิกหมายเลข 738889 ที่ได้ให้คำแนะนำ เกี่บวกับการเลือกซื้อไม้พาเลทมือสองมาใช้ในงานตกแต่ง ตรวจสอบเพื่อความปลอดภัยของทุกคนในบ้าน หากเพื่อนๆ กังวลใจเรื่องเหล่านี้กันอยู่ ลองไปชมรายละเอียดกันเลย
เทคนิคช่วยตรวจสอบไม้พาเลท ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ แต่งบ้านอย่างชาญฉลลาด เพราะภัยร้ายอาจมาเยือนได้หากไม่ระวัง
(โดย สมาชิกหมายเลข 738889)
ช่วงนี้เห็นงานตกแต่งที่มีการนำไม้พาเลทมือสอง มาใช้กันมาก การนำมาใช้ตกแต่งโดยเฉพาะภายในอาคาร ถ้าไม่ตรวจสอบให้ดี อันตราย นะครับ
พาเลทส่วนมากผ่านการรมสารเพื่อกันเชื้อรา และแมลงศัตรูไม้ โดยเฉพาะพาเลทที่มาจากต่างประเทศ เพราะต้องผ่านความชื้นจากการขนส่งทางเรือ แม้แต่กองไม้ที่ไปเลือกซื้อตามร้านขายไม้มือสอง เจอเชื้อราสารพัดสีเลยครับ
(เคยตรวจพบเชื้ออิโคไลมาแล้ว)
คำแนะนำเล็กน้อย ในการนำพาเลทไม้มือสองมาใช้ในงานตกแต่ง สำหรับท่านที่ทราบแล้วก็ถือว่า ทบทวนความรู้ก็แล้วกันนะครับ
1. ไม่ทราบแหล่งที่มา อย่านำมาใช้ภายในอาคาร
2. ถ้าไม่มีตราประทับอะไรเลย อย่านำมาใช้ภายในอาคาร
3. ตราประทับ MB (Methyl Bromild) รมสารพิษ ห้ามใช้
4. ตราประทับ HT (Heat Treatment) ความร้อนฆ่าเชื้อ ใช้ได้
5. ตราประทับ KD (Kiln Dried) อบในเตาอบแห้ง ใช้ได้
6. ตราประทับ DB (Debarked) ไม้ลอกเปลือกที่นำมาใช้ตามมาตราฐาน IPPC ตรา DB ถ้าเป็น MB ต้องลอกเปลือกก่อน Treatment แต่ถ้าใช้คู่กับตรา HT จะลอกก่อนหรือหลังTreatmentก็ได้ เป็นแค่มาตราฐานการเตรียมไม้สำหรับทำพาเลท
พาเลทที่ผลิตใช้ในประเทศ ส่วนใหญ่ไม่มีตราประทับ ซึ่งมักจะผ่านการรมสารเพื่อป้องกันเนื้อไม้ทั้งนั้น จึงอนุมานว่าอันตราย ใครจะใช้พาเลทไม้ทำเป็นเตียงนอน โต๊ะอาหาร หรือเก้าอี้โซฟา ตรวจดูให้ดีก่อนนะครับ
ที่มา : สมาชิกหมายเลข 738889