หน้าร้อนของไทย ขึ้นชื่อในเรื่องอากาศร้อนสุด ๆ ทำให้แอร์เย็น ๆ เป็นพระเอกในหน้านี้ แต่สำหรับคนที่อยู่บางหอพัก หรือบางบ้าน หรือคนที่งบน้อย ก็อาจจะไม่มีโอกาสได้ใช้แอร์ เพราะว่าแอร์ตัวใหญ่ก็มีราคาที่แพงเสียเหลือเกิน
แต่สำหรับหนุ่มวิศวกรรายนี้ที่ ในบ้าน กำลังจะพาเพื่อน ๆ ไปชมไอเดียดี ๆ นี้กัน ได้ผุดไอเดียสร้างห้องเล็ก ๆ ที่สามารถทำความเย็นได้ด้วยงบประหยัด เหมาะสำหรับหอพักที่ไม่มีแอร์ หรือคนที่งบน้อยที่ต้องการความเย็นฉ่ำในราคาประหยัด มาชมกันเลยว่าหนุ่มรายนี้เค้าทำยังไง
รีวิวการทำห้องทำงาน และห้องนอน เย็นเจี๊ยบ ฉบับ หอไม่มีแอร์และ บ้านพักงบน้อย โดย วิศวกร Save Cost
(โดยคุณ สมาชิกหมายเลข 1253703)
สวัสดีครับ ก่อนอื่นผมขอแนะนำตัว ว่ามีอาชีพเป็นวิศวกรโยธา ที่ทำงานย้ายที่ไปเรื่อย ๆ จนกว่างานจะเสร็จ
วันนี้จึงขอแบ่งปัน ห้องทำงานและห้องนอนขนาดเล็ก ที่สามารถอยู่ได้ทุกสภาพ ห้องพักธรรมดาที่ราคาไม่แพง
นี่คือภาพของการทำห้อง ขนาด 1.5 m x 3.0 m. x 1.8 m. โดย jomperspect วิศวกร Save Cost โดยที่ไม่ต้องแปะเทพกาวตรงผนัง ไม่ต้องติดกาวสองหน้า ไม่ต้องเจาะ เหมาะสำหรับไปได้ทุกที่ครับ
.
ส่วนวิธีการทำนั้น โดยขั้นแรก เชื่อมเหล็กที่เรากำหนดโครงใว้แล้ว โดยสามารถถอดประกอบได้ เป็นเหล็กกล่องขนาด 1/2 ” x 1/2″ หนา 16 mm.
โดยโครงสร้างหลัก ๆ เอามาแปะ ด้วยเทปกาวที่พื้นกระเบื้องครับ ไม่เน้นติดผนัง เพราะติดจุดละ 500 โดยการแปะ ให้รอบ ๆ ครับ แต่เราต้องเอาพวกโต๊ะ หรืออะไรที่ใหญ่กว่า ทางเข้า เข้าไปติดตั้งก่อนครับ
จากนั้นไล่แปะรอบ ๆ
แปะจนคิดว่าแข็งแรงพอแล้วครับ
เริ่มติดฉนวนกันความร้อนครับ ฉนวนแบบนี้สามารถกันทั้งร้อนและกักความเย็นครับ ที่เลือกชนิดนี้เพราะว่า…งบครับ
โดยที่ยึดตัดกับเสาต้นของห้องครับ ใช้สกรูยิง มีบล๊อก เป็นชนิดเดียวกันกับที่ยิงน๊อต บนหลังคาเมทัลชีทครับ แต่ว่ามีขนาดสั้นกว่า
ราคาของแผ่นฉนวนนี้ อยู่ที่ขนาดอีกที ประมาณ 5 mm. ม้วนละประมาณ 20 เมตรครับ ราคาแล้วแต่เจ้า ประมาณ 400- 600 บาท 3 mm. ก็จะราคาถูกมาอีกหน่อย
ราคาของเหล็กกล่องขนาด 1/2 ” x 1/2″ หนา 16 mm. ราคา 80-120 บาท/6 เมตร ใช้ หกท่อน ประมาณ 720 บาท
เหล็กกลม RB9 สำหรับยึดหรือเสียบระหว่างเหล็กกล่องเพื่อล๊อคโครงสร้างประมาณ 1 เมตร 45 บาท
ต้องหาช่างฝีมือดี ๆ หน่อยครับ เชื่อมระหว่างโครงเพื่อให้มีความแข็งแรงและไม่หลุด
ไล่ยิง ไล่ติด ให้รอบ ๆ เนื่องจากฉนวนชนิดนี้ มีความเหนียวเป็นพิเศษทำให้จุดยิงมีจำนวนไม่มาก และสามารถปรับความตึงได้ง่ายมาก
.
ห้องเริ่มมืด ติดไปเยอะละ
.
ติดให้รอบครับ และอันที่ทำคัญ นี่ครับ พระเอกสำคัญของผมเลย มันยึดเกาะดีมาก
แล้วเราก็ไล่เก็บงาน
.
.
.
นี่ครับพระเอกของเรา
เอามาติดตั้ง แล้วเจาะรูผนังเอาท่อระบายความร้อนออกไป
พร้อมทั้งติดต่อสองท่อระบายน้ำจากคอยน์แอร์ ออกไปด้วยครับ
เอาติดตรงมุม อันนี้แล้วแต่คนที่อยากจะติดแต่ละที่เองนะครับ เอาสะดวก บางคนบางห้องลักษณะก็ไม่เหมือนกันครับ
แต่สักพัก รู้สึกความร้อนระบายไม่ดี เลยต้องใช้ตัวช่วย
พัดลมระบายร้อนราคาไม่เกิน 200 จากชอปปี้ เลือกเอาอันที่แรงไม่มากนะครับ ถ้าดูดแรงมากไป อากาศร้อนข้างนอกจะมาแทนที่เยอะไป
แนะนำว่าควรติดตรงทิศทางที่แอร์พุ่งไปหา อากาศจะได้ไหลไปทางเดียวกัน
ของผมติดข้างบนแอร์เพราะ ว่ามีปลั๊กใกล้ ๆ ครับ และรู้สึกว่า เปิดคอมแล้วอากาศบนนั้นมันร้อน ๆ ครับ
จากนั้นก็ติดไฟ ต่อเป็นหลอดไฟ เสียบจาก USB จากคอม เป็นหลอด LED ปรับได้สามโทนจากชอปปี้ ชอบแบบไหนก็ติดแบบนั้นครับ
.
นี่ครับปรับได้ ปรับโทนได้ ปรับหรี่ได้ ชอบจริง ๆ
นี่คือสัดส่วนของที่นอนครับ ที่ห้องไม่มีเตียงให้ เป็นที่โล่ง ๆ ตอนแรกกะว่าจะติดแอร์ในห้องเลย ประมาณ 12000 BTU เจ้าของให้ติดได้ครับ ดีใจมาก แต่รื้อถอนไม่ได้ แสดงว่าเราติดให้เค้าฟรี ๆ
ก็เลยเป็นที่มาของการทำห้องแบบนี้ครับ แถมเมื่อเรากลับบ้านช่วงเทศกาล ยังสามารถเอากลับไปใช้ได้อีก
.
ลืมบอก นี่คือทางเข้าครับ
.
.
ทำขนาดพอคนเข้าได้ แปะเทปกาวตรีนตุ๊กแกครับ
แค่นี้อากาศเย็น ๆ ก็จะอยู่กับเราไปตลอดการนอนและการทำงานอื่น ๆ เพิ่มเติมแล้ว
สรุป งบประมาณ การทำห้องนอน ห้องทำงาน นี้ ซึ่งไม่รวมเราตกแต่งอื่นๆ นะครับ
1. เหล็ก สำหรับทำโครง 720 บาท
2. เชื่อมเอง ประกอบเอง อันนี้ไม่คิด
3. ค่าแผ่นฉนวนกันความร้อน 400-600 บาท
4. แอร์ มีโปรลดพอดี จาก เมกะโฮม 4990 บาท ส่งฟรี 6000 BTU.
5. โต๊ะ เก้าอี้ สายไฟ เอามาเองครับ
6. พัดลมดูดอากาศ ประมาณ 175 บาท
7. หลอดไฟ LED แบบ ต่อ USB 120 บาท
8. สกรู สำหรับยึด ฟรีครับ ของเหลือจากที่ตัวเองมี ถ้าซื้อไม่เกิน 50 บาท
9. ที่นอน ครับ ถ้ามีก็ใช้อันเดิม ครับ ส่วนผม ใช้ของเดิมครับ ราคาไม่เกิน 750 บาท
10. บางคนสามารถ แปะเทปติดผนังได้ ก็จะสามารถ กักเก็บความเย็นได้ดียิ่งขั้น หรือ จะติดพัดลม เป่าทั้วไป ให้มีขนาดเล็กลงอีกหน่อยก็จะประหยัดพื้นที่ไปได้อีกนิดครับ
ถ้าไม่รวมแอร์ อย่างมากก็ไม่เกิน 2000 บาทครับ แข็งแรง ทนทาน
ที่มา: สมาชิกหมายเลข 1253703