ไดซุงิ (ยกพื้นของต้นสน) ถือเป็นหนึ่งในเทคนิคการปลูกป่าเพื่อเพิ่มผลผลิตด้านไม้ของประเทศญี่ปุ่นมานานหลายศตวรรษแล้ว
ซึ่งการใช้เทคนิคดังกล่าวนำมาใช้ปลูกต้นคิตายามะซีดาร์ ได้โดยไม่จำเป็นต้องปลูกบนพื้นดินเลย โดยในปัจจุบันมันก็ได้กลายมาเป็นเทคนิคในการปลูกต้นไม้เพื่อประดับสวนแทน
ย้อนกลับไปในช่วงอดีตของญี่ปุ่น เทคนิคการปลูกต้นไม้แบบไดซุงินำมาใช้เพื่อเพาะต้นคิตายามะ มีลักษณะกิ่งสูงตรงและเนื้อไม้ค่อนข้างเรียบ ซึ่งในตอนนั้นมีความต้องการสูงมากและประสบปัญหาไม่มีพื้นที่ในการเพาะปลูกต้นไม้
เทคนิคไดซุงินั้นจะเป็นการตัดกิ่งของต้นสนคิตายามะ เพื่อให้หน่อที่เหลือเติบโตขึ้นจากส่วนที่ตัดที่เป็นเหมือนยกพื้น แทนที่จะโค่นต้นไม้ทั้งต้นเพื่อเอาซุง
ทำให้คนตัดไม้สามารถโค่นเพียงส่วนบน และปล่อยให้ฐานและโครงสร้างรากต้นไม้ยังคงเหลืออยู่ให้เติบโตต่อไปได้
หลังจากผ่านไปประมาณ 20 ปี จะเกิดเป็นหน่อขนาดใหญ่ที่สามารถตัดได้เป็นไม้คิตายามะที่มีคุณภาพ หรืออาจจะนำไปปลูกเพิ่มที่อื่นเพื่อให้มีพื้นที่ป่าสีเขียวเพิ่มขึ้น
การใช้เวลาเพาะปลูกนานถึง 20 ปีอาจจะฟังดูนาน แต่การปลูกด้วยเทคนิคไดซุงินั้นมีอัตราเติบโตที่เร็วกว่าเมื่อเทียบกับต้นไม้ที่ปลูกบนพื้นดิน
ไม่เพียงเท่านี้ เทคนิคการปลูกป่าอันชาญฉลาดยังส่งผลให้ไม้คิทายามะมีความยืดหยุ่น 140% เช่นเดียวกับไม้ซีดาร์ทั่วไป และ 200% ของไม้ที่มีความหนาแน่นแข็งแรง
.
ต้นกำเนิดของเทคนิคไดซุงินั้นเกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 14 เมื่อ ซูกิยะ ซูคูริ สถาปนิกผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้วัสดุจากธรรมชาติโดยเฉพาะไม้ พบว่าท่อนไม้ของต้นคิตายามะนั้นมีความเรียบและสวยงามจึงนำมาทำเป็นเสาหลักของบ้าน
แต่ด้วยข้อจำกัดในเรื่องของที่ดินที่ไม่เพียงพอต่อการปลูกที่ต้องใช้ไม้เป็นจำนวนมาก เทคนิคไดซุงิจึงถือกำเนิดขึ้นมาได้นั่นเอง
ที่มา: japantimes