เชื่อว่าหลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่าการทำธุรกรรมที่ใช้เงินจำนวนมากอย่างเช่นการซื้อบ้าน หรือรถนั้น ผู้คนจะไม่นิยมใช้เป็นเงินสดในการใช้จ่าย เพราะมีความเสี่ยงต่อการสูญหายระหว่างทาง รวมถึงยังสร้างความลำบากในขณะตรวจสอบเพื่อรับเงินอีกด้วย ทำให้วิธีการจ่ายเงินที่นิยมจะเป็นการจ่ายด้วย “แคชเชียร์เช็ค”
วันนี้ ในบ้าน พาไปรู้จักกับ “แคชเชียร์เช็ค” เอกสารที่สามารถใช้แทนเงินสดจำนวนมากได้อย่างสะดวกและปลอดภัย โดยแคชเชียร์เช็คก็จะมีข้อมูลและรายละเอียดปลีกย่อยที่น่ารู้น่าสนใจอยู่ไม่น้อย
ดังนั้น ก่อนที่เราจะซื้อ เราก็จะต้องมารู้จักกับแคชเชียร์เช็คกันก่อน
1. แคชเชียร์เช็คคืออะไร?
แคชเชียร์เช็คเป็นเช็คประเภทหนึ่งที่ธนาคารสั่งจ่ายโดยมีเงินสดอยู่ตามจำนวนที่ระบุในเช็ค และมีการระบุชื่อผู้รับไว้อย่างชัดเจน
ซึ่งวิธีซื้อแคชเชียร์เช็ค ซื้อได้ทั้งเงินสดหรือหักบัญชีเงินฝากเท่าจำนวนที่ระบุในเช็คให้กับธนาคารพร้อมค่าธรรมเนียม
ผู้ขายแคชเชียร์เช็คต้องเป็นธนาคารเสมอ
ส่วนผู้รับเงินเป็นผู้ที่มีชื่ออยู่ในเช็ค
2. ต่างจากเช็คทั่วไปอย่างไร
3. แคชเชียร์เช็คใช้เพื่ออะไร
ใช้พกแทนเงินสดจำนวนมาก ไม่ต้องเสียเวลานับเงิน ถ้าสูญหายก็มั่นใจได้ว่าเงินจะไม่หายไป เพราะผู้รับเงินต้องตรงกับในเช็คเท่านั้น ถึงจะรับเงินได้และแคชเชียร์เช็คยังไม่มีวันหมดอายุด้วย จึงช่วยอำนวยความสะดวกได้เป็นอย่างดีทั้งผู้จ่ายเงินและรับเงิน เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ต้องการนำเงินไปทำธุรกรรมต่างๆ เช่น ดาวน์รถยนต์ ซื้อบ้าน
4. เราจะซื้อแคชเชียร์เช็คได้อย่างไรบ้าง?
การซื้อแคชเชียร์เช็ค จะซื้อได้กับธนาคารเท่านั้น โดยเราต้องถือเงินสด หรือมีเงินในบัญชีธนาคารนั้น ๆ โดยจะมีค่าธรรมเนียมในการออกแคชเชียร์เช็คอยู่ที่ 20 บาทต่อ 1 ฉบับ
5. แคชเชียร์เช็คมีอายุกี่วัน
โดยปกติแล้วแคชเชียร์เช็คจะไม่มีกำหนดวันหมดอายุ เพราะธนาคารเป็นผู้รับเงินจากผู้ซื้อแคชเชียร์เช็คไปแล้ว ดังนั้น ถึงจะผ่านไปหลายปี ก็ยังสามารถขึ้นเงินได้ แต่มักจะเรียกเก็บข้ามธนาคารไม่ได้ถ้าหากว่าแคชเชียร์เช็คนั้นออกมาหลายปีแล้ว ทำให้ในทางปฏิบัติ เราก็อาจจะต้องไปติดต่อกับทางธนาคารเสียก่อน
6. หน้าตาของแคชเชียร์เช็ค
7. ควรต้องระบุ A/C Payee Only หรือไม่?
โดยหลักต้องระบุแคชเชียร์เช็คให้เป็น Account Payee Only (A/C Payee Only)
8. แคชเชียร์เช็คปลอมมีไหม?
ในอดีตเคยมีการปลอมแปลงแคชเชียร์เช็คเกิดขึ้น ดังนั้น เพื่อความแน่ใจ เราอาจจะใช้วิธีสังเกตควาคมชัดและรายละเอียดบนแคชเชียร์เช็คให้ครบถ้วนที่สุด หรืออาจจะตรวจสอบหมายเลขของแคชเชียร์เช็คกับทางธนาคารดูก็ได้
9. หากทำแคชเชียร์เช็ค
เมื่อทำแคชเชียร์เช็คหาย สิ่งแรกที่ควรทำ คือ การโทรไปแจ้งอายัตกับทางธนาคารเพื่อระงับการจ่ายเงิน จากนั้นจึงไปแจ้งความกับสถานีตำรวจในท้องที่เพื่อนำเอกสารไปประกอบการออกแคชเชียร์เช็คฉบับใหม่
10. สามารถยกเลิกแคชเชียร์เช็คได้ไหม?
เราสามารถยกเลิกแคชเชียร์เช็คได้ แต่จะต้องเป็นผู้ซื้อเท่านั้นที่สามารถยกเลิกได้ โดยจะต้องนำเอกสารที่ประกอบด้วยบัตรประชาชน แคชเชียร์เช็คและใบเสร็จรับเงินไปยกเลิกที่ธนาคาร โดยจะไม่มีค่าธรรมเนียม
ที่มา : checkraka, finance-rumour .