กระแสการกางเต็นท์กำลังได้รับความนิยมสูงในเมืองไทย ซึ่งเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวที่จะทำให้เราได้ออกไปสูดอากาศบริสุทธิ์ ช่วงค่ำก็มีกองไฟ กลางคืนก็เต็มไปด้วยหมู่ดาวเต็มท้องฟ้า แต่การจะกางเต็นท์ หรือตั้งแค้มนั้นได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัยนั้น เราก็ควรจะมีความรู้และมีอุปกรณ์พื้นฐานครบครันเสียก่อน
วันนี้ ในบ้าน ก็จะมาแนะนำมือใหม่ที่กำลังวางแผนจะไปหาพื้นที่สวย ๆ กางเต็นท์ด้วย “แค้มปิ้ง 101” เพื่อเป็นคู่มือให้มือใหม่ได้รู้ไว้ ก่อนที่จะได้ออกไปกางเต็นท์กันแบบชิล ๆ
1. เต็นท์
แน่นอนว่าการจะกางเต็นท์ได้ เราก็ต้องมีเต็นท์เสียก่อน โดยนี่คืออุปกรณ์พื้นฐานที่สุดที่เราจำเป็นต้องมี โดยมันจะทำหน้าที่เป็นพื้นที่นอนหลับ และปกป้องเราจากแมลง หรือสัตว์ในช่วงกลางคืน
เต็นท์จะมีหลายขนาดและหลายเกรด มีราคาแตกต่างกันไป ดังนั้น การเลือกเต็นท์เราจึงต้องคำนึงถึงจำนวนคนที่จะนอน สภาพอากาศของพื้นที่ ๆ เราจะไป รวมไปถึงน้ำหนักของเต็นท์ด้วย
2. ถุงนอนและแผ่นรองนอน
เช่นเดียวกันกับเต็นท์ ถุงนอนเป็นสิ่งสำคัญที่เราจะขาดไม่ได้ เพราะถุงนอนจะทำหน้าที่เป็นผ้าห่มที่ให้ความอบอุ่นกับเรา การเลือกถุงนอนก็จะต้องคำนึงถึงสภาพอากาศเป็นสำคัญ นอกจากถุงนอนแล้วแผ่นรองนอนก็มีประโยชน์ไม่แพ้กัน เพราะจะช่วยให้เราสามารถนอนบนพื้นผิวธรรมชาติได้อย่างสบายนั่นเอง
3. เฟอร์นิเจอร์อื่น ๆ
สำหรับเฟอร์นิเจอร์อื่น ๆ เป็นสิ่งที่เราจะมี หรือไม่มีก็ได้ เพราะวัตถุประสงค์ของอุปกรณ์ในหมวดนี้ จะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้แก่เราเท่านั้นเอง ถ้าหากเราสามารถนำติดตัวไปได้ก็ดี แต่ถ้าลำบากที่จะขนไปก็ไม่เป็นไร โดยจะมีตัวอย่าง เช่น
เก้าอี้สนาม เก้าอี้สนามมักจะสร้างขึ้นจากวัสดุน้ำหนักเบา สามารถนำไปกางนั่งไปทุกที่ ปัจจุบันเก้าอี้ประเภทนี้มักจะมีลูกเล่นและฟังก์ชันการใช้งานที่หลากหลายมากขึ้น
ผ้าใบกันน้ำ โดยปกติแล้ว ในช่วงเช้า ๆ มักจะมีหมอกลงจัด ซึ่งอาจจะทำให้เต็นท์ของเรามีความเปียกชื้นได้ ดังนั้น การกางผ้าใบกันน้ำเอาไว้เหนือเต็นท์ จึงจะช่วยแก้ปัญหาความชื้นได้ นอกจากนี้ ในช่วงกลางวัน ผ้าใบกันน้ำจะช่วยบังแสงแดดได้อีกด้วย
ตะเกียง/โคมไฟ เป็นอีกหนึ่งในอุปกรณ์ที่มีประโยชน์มาก ๆ เพราะว่าเราอยู่กลางป่า ในช่วงกลางคืน หากมีแสงจากตะเกียง หรือโคมไฟ ก็จะทำให้เรามีความสะดวกมากขึ้น
4. อุปกรณ์ทำอาหาร
การทำอาหาร ถือว่าเป็นไฮไลท์ของการกางเต็นท์เลย โดยเฉพาะเมนูปิ้งย่างทั้งเนื้อสัตว์ต่าง ๆ หรือมาร์ชเมโลว์สำหรับเด็ก ๆ โดยปัจจุบันมีเตาทำอาหารให้เลือกใช้มากมายทั้งแบบเป็นแก๊สกระป๋อง หรือแบบถ่านไม้ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะสะดวกใช้เตาแบบไหนนั่นเอง
5. เสื้อผ้าและสุขอนามัย
การเลือกเสื้อผ้าควรจะเลือกชุดที่ใส่สบายสบาย ปกป้องแขนขาได้ดี แห้งไว สามารถระบายอากาศได้ดี หากไปพื้นที่เขตหนาวก็ควรเลือกเสื้อผ้าที่ป้องกันอากาศหนาวได้ดี
ในเรื่องสุขอนามัยนั้น เราก็ควรเตรียมเครื่องใช้ส่วนตัวไปให้ครบทั้งสบู่ แชมพู แปรงฟัน ยาสีฟัน สำหรับสุภาพสตรีก็ควรติดผ้าอนามัยไปด้วยทุกครั้ง เผื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน
6. อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย
ภายในป่า แมลง สัตว์และพืชที่มีพิษล้วนแต่เป็นสิ่งที่เราต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยสำหรับแมลงนั้น เราอาจจะพกยาจุดกันยุงไปใช้ได้ หรือถ้าหากต้องการความสะดวก ก็มีครีมสำหรับป้องกันแมลงขายด้วยนะ
ถ้าหากเราไปสัมผัสโดนต้นไม่มีพิษ หรือเกิดอาการแพ้จากพืชมีพิษเหล่านั้น ก็มีครีมสำหรับอากาศลดการระคายเคืองให้เราพกไว้เพื่อความอุ่นใจด้วย
ชุดปฐมพยาบาล เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่จำเป็นต้องมีติดตัวไว้เสมอ เพราะเราไม่รู้ว่าจะต้องเผชิญกับอุบัติเหตุอะไรบ้าง โดยชุดปฐมพยาบาลควรจะประกอบไปด้วยชุดทำแผล ยาแก้แพ้ ยาลดไข้ที่อยู่ภายในซองที่กันน้ำได้
7. เครื่องมือเอนกประสงค์
เครื่องมือเอนกประสงค์เป็นอุปกรณ์สารพัดประโยชน์ที่ทำออกมาในรูปของอุปกรณ์ชิ้นเดียวที่สามารถนำออกมาใช้งานได้หลายแบบ เพื่อใช้ในเหตุกรณีฉุกเฉินต่าง ๆ นั่นเอง
ทริปเล็ก ๆ น้อย ๆ สำหรับสิ่งที่ ควร และ ไม่ควร ทำ
ไม่ควร ทะเยอทะยานในการออกไปกางเต็นท์ที่ไกล ๆ จนเกินไป ควรเริ่มจากสถานที่ไกล ๆ ในช่วงวันหยุดสั้น เพื่อสะสมประสบการณ์ก่อน
ควร ใช้เวลาในการตั้งเต็นท์อย่างเหมาะสม เพราะเชื่อเถอะว่า การตั้งเต็นท์ หรือการรีบทำอาหารในช่วงมืด ๆ มันไม่สนุกนักหรอก
ไม่ควร เล่นมือถือ หรือโซเชี่ยลมีเดียมากเกินไป เพราะการมากางเต็นท์ คือ การที่เปิดโอกาสให้คุณได้หยุดพฤติกรรมเหล่านั้นเพื่อมาสัมผัสกับธรรมชาติ
ควร นำอาหารที่คุณชอบมาด้วย ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นอาหารแห้ง หรืออาหารสำเร็จรูปเสมอที่เราจะนำมากิน การพกเนื้อสัตว์ หรือของอร่อย ๆ มาด้วย ก็ช่วยเพิ่มความสุขได้นะ
ที่มา: bhphotovideo