หลายคนอาจจะเคยสงสัยกันว่า ที่ดินเปล่าในเมืองอย่าง กทม. ปริมณฑล หรือตัวเมืองในหลาย ๆ จังหวัด ทำไมถึงมักจะปลูกกล้วยเอาไว้ ทั้งทีอยู่ในโซนตัวเมือง ซึ่งดูจากบริบทก็ไม่น่าจะเอื้อต่อการทำเกษตรกรรมแบบจริงจังเท่าไรนัก
ล่าสุด ผู้ใช้บัญชี Tiktok @job.land ก็ได้มาไขความกระจ่างแล้ว โดยจุดประสงค์ที่แท้จริงของการปลูกพืชเกษตรเหล่านี้บนที่ดินในเมืองก็เพราะเกี่ยวข้องกับเรื่องการเสียภาษีที่ดินนั่นเอง
โดยตามกฏหมายได้ระบุไว้ว่า…
“ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์เป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน ให้เก็บภาษีเพิ่มขึ้น 0.3% ในทุก 3 ปี แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 3% ของราคาประเมินที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง”
ในขณะที่หากใช้ที่ดินเพื่อการทำเกษตรก็จะมีอัตราภาษีที่ลดลงมา คือ…
“ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม ให้เก็บภาษีได้ไม่เกิน 0.15% ของราคาประเมินที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง”
ด้วยเหตุผลด้านอัตราภาษีนี้เอง ทำให้เจ้าของที่ดินเปล่าจึงใช้กลยุทธ์ปลูกพืชทางการเกษตรเพื่อให้ดูเหมือนเป็นการใช้งานที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม จะได้ไม่เป็นพื้นที่รกร้าง
โดยอ้างว่าที่ดินนี้ประกอบเกษตรกรรม โดย 3 ปีแรกได้รับการยกเว้น จะต้องปลูกต้นไม้ตามบัญชีแนบท้ายของกฎหมายจึงจะได้รับสิทธิภาษี
โดยกำหนดพืชที่ปลูกไว้ หลายชนิด เช่น
1. กล้วย 200 ต้นต่อไร่
2. ทุเรียน 20 ต้นต่อไร่
3. มะม่วง 20 ต้นต่อไร่
4. มะพร้าว 20 ต้นต่อไร่
5. มะละกอถ้ายกร่อง 100 ต้นต่อไร่ ไม่ยกร่อง 175 ต้นต่อไร่
6. มะนาว 50 ต้นต่อไร่
และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งเทคนิคสำหรับคนที่มีที่ดินเปล่ายังไม่ได้ใช้ทำอะไร การปลูกพืชการเกษตรแบบนี้ก็จะช่วยลดภาษีได้พอสมควรเลยล่ะ
ที่มา: @job.land