“บ้านหอมดิน” เป็นบ้านของคุณหมอสองคนที่ต้องการจะสร้างบ้านของครอบครัวขึ้นในจังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งตั้งอยู่บนที่ดินขนาด 2 ไร่ (3,370 ตร.ม.) ซึ่งเดิมใช้เป็นนาข้าว
เมื่อเริ่มขั้นตอนการวางแบบและแนวคิดในการสร้างบ้านหลังนี้ เริ่มแรกจะต้องทำให้บ้านมีฐานที่ยกขึ้นสูง เพื่อป้องกันน้ำท่วม อันเป็นลักษณะการออกแบบบ้านของคนไทยนั่นเอง
ประการต่อมา เจ้าของบ้านมีความกังวลเรื่องของการขึ้นลงบันไดเมื่ออายุมาก นั่นจึงทำให้สถาปนิกเลือกใช้ทางลาดแทนบันไดในหลายจุดของบ้าน
การออกแบบรูปทรงของอาคาร จะผสานเอาดีไซน์ของบ้านสมัยใหม่ กับบ้านไทยเดิม ๆ มาเข้าไว้ด้วยกัน ทำให้ได้บ้านที่มีกลิ่นอายแบบไทย ๆ แต่ก็ให้ดีเทลที่ดูทันสมัยอีกด้วย
ส่วนที่เป็นรั้วกั้นพื้นที่ในหลาย ๆ ส่วนของบ้าน สถาปนิกจะใช้ไม้ไผ่มาเป็นวัสดุ เพราะนอกจากจะแข็งแรงทนทานแล้ว ยังให้ความเป็นธรรมชาติอีกด้วย
ส่วนของหลังคาบ้าน จะเป็นหลังคาทรงหน้าจั่วที่เหมาะกับสภาพอากาศเมืองไทย สามารถป้องกันแดดและฝนได้ดี ในส่วนของวัสดุนั้น ตัวแผ่นหลังคาจะเป็นไฟเบอร์กลาสทั้งหมด
ความโปร่งสบาย เป็นองค์ประกอบหลักที่สถาปนิกคำนึงถึง เพื่อให้บ้านเย็นสบายได้ทุกมุม รวมไปถึง เพื่อให้เกิดความใกล้ชิดกับธรรมชาติด้านนอกให้มากที่สุด
ภายในบ้านจะเน้นการตกแต่งด้วยองค์ประกอบ และเฟอร์นิเจอร์ที่เป็นไม้ ซึ่งไม้เหล่านี้เป็นผลงานจากช่างในพื้นที่ ทั้งไม้ที่ทำเฟอร์นิเจอร์และไม้ไผ่ ก็ได้มาจากในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียง
ภายในห้องนั่งเล่น ในบรรยากาศที่ดูผ่อนคลายมากเลยล่ะ จากภายนอกเราอาจจะเห็นว่าบ้านมีการเปิดโล่งในหลาย ๆ ส่วน แต่สำหรับห้องนี้ก็จะมีกำแพงและผนังที่ส่วนให้มีความเป็นส่วนตัวมากเลยล่ะ
อีกหนึ่งประโยชน์ของการเลือกใช้หลังคาแบบไฟเบอร์กลาส คือ ตัวแผ่นหลังคาจะมีความโปร่งแสง ทำให้ภายในบ้านสว่าง ในช่วงกลางวันจึงประหยัดค่าไฟได้พอประมาณเลยล่ะ
ภายในห้องนอน ยังคงเน้นการตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์งานไม้ จุดเด่นจะอยู่ที่ผนังแบบเปิดโล่ง เพื่อรับลมได้อย่างเต็มที่ แต่ขณะเดียวกันก็มีกำแพงด้านนอกคอยให้ความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยได้ดีเลยทีเดียว
ที่มา: ArchDaily
ออกแบบ: TA-CHA Design
ถ่ายภาพ: Beersingnoi
.
.
.
.