บ้านทาวน์เฮ้าส์ หรือบ้านทาวน์โฮม มักจะมีพื้นที่แคบและจำกัด ซึ่งบางครั้งบ้านตามโครงการก็จะเป็นแบบบ้านเปล่าๆ ไม่มีห้องครัว หลายคนจึงต้องการต่อเติมห้องครัวไว้ใช้งาน
ครั้งนี้ ในบ้าน จึงได้มาพร้อมกับไอเดียเพิ่มห้องครัวให้บ้านทาวน์เฮ้าส์ขนาดเล็ก จากคุณ สมาชิกหมายเลข 1620416 ที่ได้ทำการเนรมิตรพื้นที่เปล่าข้างบ้าน ให้เป็นครัวขนาดกระทัดรัด เพื่อการใช้งานที่คุ้มค่า หากเพื่อนๆ สนใจ ลองตามไปชมกันเลยค่ะ
ต่อเติมห้องครัวไซส์เล็กฉบับบ้านทาวน์เฮาส์ ใช้งานพื้นที่ว่างเปล่าข้างบ้านได้อย่างคุ้มค่า
(โดย สมาชิกหมายเลข 1620416)
หลังจากที่ได้รีวิว (เขาเรียกรีวิวหรือเปล่าก็ไม่รู้) เกี่ยวกับ Pump ของ Kikawa KQ200! ก็เกิดแรงบันดาลใจอยากอวดผลงานการต่อเติมห้องครัวหลังบ้าน สำหรับบ้านทาวน์เฮ้าส์ หลังน้อย หลังแรกในชีวิต ทั้งหมดทั้งมวลก็เกิดจากเจ้าตัวน้อย ที่กำลังเติบโดขึ้น
บ้านคุณพ่อ คุณแม่หลังเก่า ก็เริ่มเบียดเสียด จึงต้องขยับขยายออกมาจากอ้อมอก ขอข้ามในส่วน การเสาะหา และรอลุ้นผล รวมทั้งรายละเอียดอื่นๆ เลยนะครับ เรามาเริ่มที่ภาพที่แล้วเสร็จก่อน เพื่อเรียกน้ำย่อยกันเลย
ส่วนภาพนี้คือแบบที่เขียนเอง โดยนำความสามารทาง isometic จากมัธยม 3 มาใช้ เข้าใจว่าน่าเกลียดนะครับ แต่ส่วนตัวพยายามทำอย่างไรก็ได้เพื่อจะสื่อสารกับ ผรม. ให้รู้เรื่อง และนี่เป็นสิ่งหนึ่งที่บ่งบอกว่า ผรม.เข้าใจในสิ่งที่เราต้องการ…
First Chapter…
(เสียงแห่งความ สุขลาภ) ที่โต๊ะกินข้าว ร้านอาหารแห่งหนึ่ง บนถนนที่เต็มไปด้วยความวุ่นวาย บทสนทนาที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้เรื่องหนึ่งเกี่ยวกับทาวน์โฮม (ทาวน์เฮ้าส์) หรืออะไรก็ช่างมัน
“สรุปแล้วลูกจะต่อเติมห้องครัวเลยไหม” เสียงอันทรงอำนาจ วิ่งทะลุความวุ่นวายในร้าน อาหารแห่งนี้ ที่มีลูกค้าเนืองแน่ เข้าหูซ้ายของข้าพเจ้ามา แต่! ยังไม่ออกหูขวานะ
“ให้แบงค์อนุมัติก่อนเถอะแม่”
“กินต่อ กินต่อ อย่าเพิ่งพูดอะไรตอนนี้เลย” เสียงตัดบทจากพระราชบิดา ตรัสออกมาโดยพลัน
ก่อนที่สถานการณ์จะมาคุ…
7 วันให้หลัง ระหว่างใช้ชีวิต busy ness man อยู่ที่ออฟฟิต ย่านใจกลางเมืองแห่งเหล่าทวยเทพเสียงโทรศัพท์ iPhone ก็ดังขึ้นตามปกติ แต่ครั้งนี้พิเศษที่ 02 incoming call “สวัสดีครับ พูดสายครับ”
“สวัสดีค่ะคุณ ดิฉันโทรมาจาก TOS นะคะ” เจนสัมผัสอะไรบางอย่างได้ เฮ้ย! ไม่ใช่! แต่ข้าพเจ้ารู้ได้ใน
สัญชาติญาณว่าเสียงดังกล่าวเป็นเสียงสุขลาภ “เรื่องยื่นอนุมัติเป็นหนี้ชั่วชีวิตของคุณได้รับการอนุมัติแล้ว
นะคะได้กรอบวงเงินที่ 95% ค่ะ” สุดท้าย sense ของข้าพเจ้าก็ถูกต้องจริงๆ ด้วย
หลังจากวางสาย เริ่มสับสน อลหม่าน รีบตั้งสติ โทรหาพระมารดาในบัดดล “แม่ครับ ธนาคารโทรมาแจ้งผล
อนุมัติแล้วนะครับ” ยังไม่ทันจบคำว่าครับ “ถามไปตั้งนาน ว่าจะต่อเติมห้องคร้วเลยไหม” “ธนาคารอนุมัติแล้ว
จะไปทำอะไรทัน” question mark ขึ้นมาในหัว วนไปวนมา 555 อย่างไรก็ตาม “รีบหา ผรม. เลยหรือจะให้แม่
หาให้ เอาไหม?” “เดี๋ยวโทรไปอีกทีนะแม่” รีบตัดบทอีกทีก่อนจะมาคุเหมือนเดิม
Second Chapter
ระหว่างไปตรวจรับบ้าน หาจุดบกพร่องต่างๆ ก็จะมี ผรม. เข้ามาเสนอ มาสอบถาม มาทำหลายราย จนอาเจียน
กันไปเลยทีเดียวเชียว ทั้งนี้เราวางแผนไว้ล่วงหน้าแล้วว่าจะทำอะไรก่อน/หลัง เพื่อไม่ให้งบประมาณ บานปลาย
ไปเสียก่อนเพราะเงินเก็บที่มี (เก็บมาเกือบ 10 ปี) มีจำนวนจำกัดอย่างยิ่ง T_T
ระยะเวลาติดต่อ เสนอราคา ถ้าจำไม่ผิด ประมาณ 2 อาทิตย์ หลังจากโอนที่กรมที่ดินเรียบร้อยแล้ว
เจ้าแรกเสนอที่ 200K (ลงเข็ม, ต่อเติมหลังคาโรงรถ, ห้องครัวปิดหลังบ้าน, ไม่รวมกระเบื้องอื่นๆ)
เจ้าที่สองเสนอมาที่ 150K (ไม่ลงเข็ม, ค่าแรงอย่างเดียว อุปกรณ์ วัสดุ อื่นๆ จัดการเอง)
เจ้าที่สามเสนอมา 140K (ลงเข็ม, หลังคาหน้าบ้าน, หลังคาห้องครัวหลังบ้าน ไม่รวมวัสดุ และอุปกรณ์อื่นๆ)
เจ้าที่สี่เสนอมาที่ 110K (ลงเข็ม, ทุกอย่างยกเว้นกระเบื้อง, แกรนนิต, เครื่องดูดควัน, แทงค์น้ำ และปั๊มน้ำ ที่ต้องหาซื้อเอง)
และอีก 2 – 3 เจ้าที่เสนอราคามาแต่เกิน 200K ทั้งนั้น ผมตัดทิ้งไปเลย เพราะเราวิเคราะห์ แจกแจง BOM ออกมาแล้วต้นทุนอยู่ระหว่าง 50,000 – 60,000 บาทเท่านั้น และแน่นอนที่สุด เราเลือกราคาที่ต่ำที่สุดไว้ก่อน และป้องกัน ด้วยการเขียนสัญญา โดยสัญญาฉบับนี้เราร่างขึ้นมาเอง
จากประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมา แน่นอนผมเชื่อว่า ผรม. รายไหนก็ตามเมื่อได้อ่านสัญญา ต้องไม่กล้าทิ้งงาน หรือเพิกเฉยต่อบ้านหลังน้อยของเรา อีกทั้งผม เชิญ ผรม. ท่านนั้นไปเซ็นท์สัญญาต่อหน้าเจ้าหน้าที่พนักงาน (ตำรวจ) ซึ่งเป็นญาติกับคุณพ่อของเรา
(ในตอนท้ายผมจะแจกแจงรายละเอียด BOM ทั้งหมดสำหรับท่านที่สนใจ)
หลังจากที่สรุป ผรม. ได้แล้ว เซ็นท์สัญญาทั้งสองฝ่ายเรียบร้อยแล้ว และโอนเงินงวดแรก 30% ไปให้ ผรม. แล้ว
ก็เริ่มกันเลย ขอข้ามในตอนขึ้นโครงเหล็กและฉาบปูนไปเลยนะครับ
ที่มา : สมาชิกหมายเลข 1620416