ไมโครพลาสติกเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับโลกที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยการแพร่กระจายและปนเปื้อนไปทั่วทุกหนแห่งจนไม่สามารถตรวจสอบได้ ทั้งในแหล่งน้ำ อากาศ ดิน และอาหาร โดยความน่ากลัวของไมโครพลาสติกเหล่านี้ คือ มีขนาดที่เล็กมากจนแทบไม่สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่กลับส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมทั่วโลก ลุกลามมาถึงในเรื่องของอาหารการกิน และปัจจัยสำคัญอย่าง “น้ำดื่ม” สิ่งจำเป็นต่อร่างกายที่ควรจะสะอาดและปลอดภัยจากสิ่งเจือปน ด้วยกระแสการกระจายและปนเปื้อนของไมโครพลาสติก จนมาสู่คำถามที่ว่า หากกินไมโครพลาสติกเข้าไป ร่างกายจะเป็นอันตรายหรือไม่ และเราจะหลีกเลี่ยงมันได้อย่างไร? บทความนี้มีคำตอบ!
‘ไมโครพลาสติก’ อันตรายที่กำลังก่อตัว
ไมโครพลาสติก (Microplastics) คือเศษชิ้นส่วนพลาสติกที่มีขนาดเล็กมาก มีเส้นผ่าศูนย์กลางเพียง 5 มิลลิเมตร ไปจนถึงขนาดเล็กที่ตาเปล่ามองไม่เห็น โดยเกิดจากการแตกหักและย่อยสลายของขยะพลาสติกในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเส้นใย ไมโครบีดส์ (Microbeads) โฟม หรือแผ่นฟิล์ม เป็นต้น และด้วยขนาดที่เล็กและมีจำนวนมหาศาล ก็ทำให้ไมโครพลาสติกแพร่กระจายและปนเปื้อนไปหลากหลายแหล่ง ทั้งในพื้นดิน อากาศ แม่น้ำ หรือทะเลซึ่งเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำหลายๆ ชนิดที่มนุษย์กิน ดังนั้นโอกาสในการปนเปื้อนและเข้าสู่ร่างกายมนุษย์รวมถึงสิ่งมีชีวิตจึงเกิดขึ้นได้ง่ายผ่านทางอาหารการกิน รวมไปถึงแหล่งน้ำสำหรับอุปโภคบริโภค เช่น น้ำประปา และน้ำบรรจุขวดด้วย
หากกินไมโครพลาสติกเข้าไป ร่างกายจะเกิดอันตรายไหม?
ปัจจุบันมีงานวิจัยมากมายที่พบว่าในร่างกายมนุษย์มีไมโครพลาสติกชนิดต่างๆ จำนวนมาก แต่ก็ยังไม่มีรายงานใดที่ชี้ชัดว่าไมโครพลาสติกทำให้เกิดผลกระทบที่ร้ายแรงต่อสุขภาพ อีกทั้งทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ยังให้ข้อมูลว่าไมโครพลาสติกสามารถขับออกผ่านกระบวนการขับถ่ายปกติได้
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลดังกล่าวอาจไม่ได้ทำให้หลายคนคลายความกังวลลง กลับกันยังก่อให้เกิดข้อสงสัยเพิ่มขึ้นอีกว่า หากร่างกายขับออกไม่หมดและไมโครพลาสติกยังตกค้างและสะสมในร่างกายจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ในระยะยาวนี้จะส่งผลกระทบต่อร่างกายเราหรือไม่ และมีผลเสียมากน้อยแค่ไหน? มาดูกันว่าผลเสียและความเสี่ยงในด้านต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจะมีอะไรบ้าง
ร่างกายเสี่ยงต่อการได้รับสารพิษเพิ่มขึ้น
คุณสมบัติอย่างหนึ่งของไมโครพลาสติกคือสามารถดูดซับและอุ้มน้ำ ทำให้มีการดูดซึมและกักเก็บสารพิษบางประเภทเอาไว้ เช่น DDT สารพิษในยาฆ่าแมลงที่ปนเปื้อนอยู่ในน้ำ ดังนั้นเมื่อเราดื่มน้ำที่ปนเปื้อนไมโครพลาสติกซึ่งเป็นตัวกลางในการสะสมพิษเข้าใป ก็มีโอกาสที่ร่างกายจะรับเอาสารพิษนั้นเข้าไปด้วย ถือเป็นความเสี่ยงของร่างกายที่อาจได้รับสารพิษในปริมาณที่เพิ่มขึ้น หากสะสมอาจกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันที่ต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อขับสิ่งแปลกปลอมออกจากร่างกายและส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาวได้
เกิดความผิดปกติของฮอร์โมนในร่างกาย
ไมโครพลาสติกมีสารเคมีเรียกว่า Bisphenal A (BPA) ซึ่งพบได้ภายในบรรจุภัณฑ์พลาสติกสำหรับอาหารและเครื่องดื่ม สารนี้ได้สร้างความกังวลว่าอาจกระทบกับร่างกายมนุษย์หลายอย่าง ทั้งการทำงานที่ผิดปกติของฮอร์โมนในร่างกาย รบกวนการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อ ลดประสิทธิภาพความจำและระบบประสาท รวมถึงกระทบกับพัฒนาการทางสมองของเด็กและฮอร์โมนการเจริญเติบโต ที่กระตุ้นให้เด็กเป็นหนุ่มสาวเร็วเกินไป มีภาวะไฮเปอร์แอ็กทีฟ และเป็นโรคอ้วน ฯลฯ
ประสิทธิภาพการทำงานของเส้นเลือดลดลง
ไมโครพลาสติกนั้นมีขนาดที่เล็กมากจนสามารถเข้าไปปะปนอยู่ภายในกระแสเลือด และขัดขวางการไหลเวียนเลือดได้ ส่งผลให้การทำงานของเส้นเลือดอาจมีประสิทธิภาพลดน้อยลง เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะต่างๆ เช่น ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น
เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง
ไมโครพลาสติกที่โอบอุ้มและดูดซับสารพิษและโลหะหนักจากสิ่งแวดล้อมไว้ เมื่อเข้าสู่ร่างกายอาจฝังตัวลึกและปล่อยสารพิษสู่เนื้อเยื่อและเซลล์ต่างๆ ทำให้เซลล์หรืออวัยวะส่วนนั้นๆ เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งได้ในอนาคต
3 วิธีรับมือกับไมโครพลาสติกในน้ำดื่ม
ปัญหาไมโครพลาสติกปนเปื้อนในแหล่งน้ำ ที่ไมโครพลาสติกมีขนาดอนุภาคเล็กมากจนไม่สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า ทั้งยังมีน้ำหนักเบา อาจทำให้หลุดรอดจากกระบวนการบำบัดน้ำเสียและแทรกซึมเข้าสู่ร่างกายได้ผ่านการดื่มน้ำดื่ม กลายเป็นเรื่องที่ทำให้หลายคนกังวลว่าในระยะยาวต่อจากนี้ว่า ปริมาณไมโครพลาสติกที่สะสมเข้าไปในร่างกายมากขึ้นเรื่อยๆ อาจกระทบผลเสียต่อสุขภาพได้ คงจะดีกว่าหากเลือกหาวิธีป้องกันและลดความเสี่ยงไว้ตั้งแต่ปัจจุบัน ลองมาดู 3 วิธีการกำจัดไมโครพลาสติกที่สามารถทำได้ทันที และเริ่มต้นง่ายๆ ที่บ้านของทุกคน
- ลดการใช้พลาสติก และไม่ทิ้งขยะลงน้ำ
หากใช้พลาสติกน้อยลง ปริมาณการแตกตัวและย่อยสลายเป็นไมโครพลาสติกก็ย่อมต่ำลงเช่นเดียวกัน แม้วิธีนี้อาจไม่เห็นผลในช่วงสั้นๆ แต่จะเกิดผลดีในระยะยาวต่อโลกอย่างแน่นอน เช่นเดียวกันกับการไม่ทิ้งขยะลงในแหล่งน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้ไมโครพลาสติกปนเปื้อนในตัวสัตว์น้ำและระบบนิเวศทางทะเล ซึ่งจะทำให้เกิดการปนเปื้อนทางอ้อมกลับมาสู่มนุษย์ ผ่านทางเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และการอุปโภคบริโภคนั่นเอง
- ต้มและกรองน้ำอีกรอบก่อนนำไปอุปโภค บริโภค
การต้มน้ำให้เดือดประมาณ 5 นาที แล้วรอให้เย็นลง จากนั้นนำไปกรอง วิธีนี้สามารถช่วยลดอนุภาคพลาสติกขนาดเล็กได้ถึง 80% เพราะน้ำประปาที่ถูกต้มจนเดือดจะทำให้อนุภาคหินปูนแยกออกมาและจับตัวบนผิวพลาสติก เมื่อกรองตะกอนออกด้วยตะแกรงสเตนเลส ก็จะช่วยดักจับเศษพลาสติกที่ปนเปื้อนได้มากขึ้น ถือเป็นขั้นตอนสั้นๆ ที่เข้าใจง่าย แต่ได้ผลลัพธ์ที่ค่อนข้างดี ทำให้แหล่งน้ำที่ใช้อุปโภค บริโภคมีความสะอาดมากยิ่งขึ้น
- ใช้เครื่องกรองน้ำที่มีคุณสมบัติกรองไมโครพลาสติก
การเลือกติดตั้งเครื่องกรองน้ำถือเป็นวิธีการกำจัดไมโครพลาสติกในน้ำดื่มที่สะดวกและรวดเร็วกว่าการต้มและการกรอง และได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ในตลาดปัจจุบัน ก็มีเครื่องกรองน้ำหลากหลายยี่ห้อและคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป จึงแนะนำให้มองหาเครื่องกรองน้ำที่มีสัญลักษณ์มาตรฐาน NSF 401 ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงว่าเครื่องกรองน้ำนั้นได้ผ่านการทดสอบเรื่องการลดสิ่งปนเปื้อนที่เกิดขึ้นใหม่ 15 ชนิด รวมถึงไมโครพลาสติกด้วย
ติดตั้งเครื่องกรองน้ำ eSpring™ ดื่มน้ำสะอาดได้ทุกวัน
อยากมั่นใจว่าน้ำที่ดื่มทุกวันจะเป็นน้ำที่สะอาดจากไมโครพลาสติกและบรรดาสิ่งปนเปื้อนต่างๆ เครื่องกรองน้ำ eSpring™ พร้อมตอบโจทย์ด้านคุณภาพให้ทุกๆ บ้านได้อย่างดี ด้วยเทคโนโลยีการกรองขั้นสูงแบบคาร์บอนและยูวี ชุดไส้กรองคาร์บอน e3 ที่ได้การรับรองมาตรฐาน NSF มาตรฐาน NSF/ANSI 55 รวมถึง NSF/ANSI 42, 53 และ 401 มาพร้อมคุณสมบัติการกรองอนุภาคขนาดเล็กได้ถึง 0.2 ไมครอน*,** กำจัดภัเงียบในน้ำอย่างไมโครพลาสติก และลดสารปนเปื้อนได้มากกว่า 170 ชนิด*,** ทั้งยังมีนวัตกรรม UV-C LED สามารถฆ่าเชื้อโรค ไวรัส และแบคทีเรียได้ 99.99%*,*** ผ่านการกรองสิ่งปนเปื้อนและฆ่าเชื้ออย่างละเอียด แต่ยังคงเก็บแร่ธาตุอย่างแคลเซียม และแมกนีเซียม ที่จำเป็นและมีประโยชน์ต่อร่างกายเอาไว้ได้ครบ นอกจากนี้ตัวไส้กรองยังออกแบบมาให้ช่วยลดกลิ่นไม่พึงประสงค์ ทำให้น้ำมีรสชาติที่ดี ถือเป็นอุปกรณ์คู่ทุกครัวเรือนที่ทุกคนควรมี
*เครื่องกรองน้ำ อีสปริง ออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับน้ำประปาที่ผ่านการบำบัดเพื่อการบริโภคแล้วเท่านั้น ไม่มีผลในการป้องกันหรือบรรเทาโรค
**ผ่านการทดสอบโดยห้องทดลองอิสระตามมาตรฐาน NSF (NSF/ANSI 42, 53, 55 และ 401) อีกทั้งในส่วนของการทดสอบการลดสารปนเปื้อนนอกเหนือจากในมาตรฐาน NSF ก็ได้รับการรับรองจาก NSF International
***ผ่านการทดสอบโดยห้องทดลองอิสระตามมาตรฐาน NSF/ANSI 55 โดยใช้ qBeta bacteriophage เป็นเชื้ออ้างอิงในการทดสอบ