คนสมัยก่อนนิยมสร้างบ้านด้วยไม้ เพราะเป็นวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นทั้วประเทศ อีกทั้งการสร้างบ้านด้วยไม้ยังเหมาะกับเมืองร้อนอีกด้วย เพราะช่วยให้บ้านเย็นสบาย อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาผ่านไปหลายสิบปี วัสดุอย่างไม้เองก็จะมีสภาพที่ชำรุดทรุดโทรมลงไปได้
วันนี้ ในบ้าน จึงจะพาไปชมเรื่องราวของคุณ Dookdig&Otwo ที่ได้ทำการ รีโนเวทบ้านไม้ 40 ปี ของแม่ ซึ่งเป็นบ้านที่มีความชำรุดทรุดโทรมพอสมควร การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ก็จะทำให้บ้านมีความสวยงามและแข็งแรงมากขึ้นกว่าเดิม เราไปชมเรื่องราวครั้งนี้กันเลย
รีวิว : รีโนเวทบ้านไม้ 40 ปี แบบขัดใจบุพการี
(โดยคุณ Dookdig&Otwo)
บ้านไม้ครึ่งปูนหลังนี้เป็นบ้านพ่อแม่สร้างมาด้วยน้ำพักน้ำแรงจะทุบทิ้งสร้างใหม่ เสียดายความทรงจำสมัยเด็ก เลยมีทางเลือกหลัก ๆ คือ ถ้าโครงสร้างยังใช้งานได้เพียงพอกับอายุขัยคนอยู่ต่อก็จะรีโนเวทเอา มันเลยจบที่รีโนเวท
สภาพภายนอก
สภาพบ้านเก่าภายใน
.
.
.
ออกแบบตามสถาปนึก วิธีออกแบบ คือคิดแบบคร่าว ๆ ไว้ก่อน แล้วเดินดูประตู-หน้าต่าง อุปกรณ์ก่อสร้างแบบที่เราชอบและอยู่ในงบ
กลับมาเป็นแบบตามนี้ (ออกตัวว่าไม่ได้เก่งเรื่องออกแบบ แต่ถนัดเรื่องลดต้นทุนเพราะจบ IE มา)
ภายนอก
ภายใน
แปลนก็เอาตามใจคนอยู่แบ่งเป็นห้อง ๆ ยังกะรังผึ้ง คนแก่ไม่ชอบเลยส่วนนี้แกชอบโล่ง ๆ แต่แกไม่ได้อยู่
ปลายเดือนสิงหาคมปีที่แล้วเริ่มรื้อบ้าน
รื้อบ้านยังไม่เสร็จอิสานโดนพายุถล่ม (ยโส-อุบล น้ำท่วมปีที่แล้ว) ต้องหยุดการก่อสร้างไปเกือบ 2 สัปดาห์
ต่อเติมเพิ่มอีกห้องเสาเล็ก ๆ ตามพื้นที่เท่าแมวดิ้นตาย
ขึ้นโครงหลังคาแล้วรีบ ๆ มุง กลัวน้องฝนมาอีก (วันที่มุงหลังคาเสร็จจำได้ว่าฝนตกพอดี ทดสอบรอยรั่วหลังคาไปในตัว)
.
รื้อบันไดเดิม รื้อพื้นบ้านและเสริมคานชั้นสองบางส่วน เจาะพื้นไม้ชั้นบนออกสองห้อง เพื่อเอาไม้มาปูชั้นสองส่วนที่ต่อเติมและต้องกการมองจากพื้นชั้นล่างเห็นฝ้าหลังคา
.
รื้อไม้ฝาบ้าน ไม้เก่า-กรอบ จากนั้นทำโครงฝาบ้าน
ใส่หน้าต่างบ้านเดิมทั้งหมดแต่ปรับเปลี่ยนตำแหน่งใหม่ (จุดนี่คนไม่เห็นด้วยและตำหนิเยอะ แต่ชี้แจงกับเจ้าของบ้านกำมะลอว่า ต้องการเอาทุกสิ่งของบ้านเก่าที่ใช้ได้ใส่เข้าไปเหมือนเดิม ของเก่ามีความทรงจำ ของใหม่ก็งั้น ๆ ใครไม่ชอบก็ไปซื้อใส่บ้านตัวเองเอา )
ตีไม้ฝาเชอร่าชั้นสองรอบบ้าน
ช่วงที่ช่างตีฝาชั้น 2 เดินทางไปซื้อสีเพราะช่วงลด 50% วันสุดท้าย ได้สีมาตามนี้
.
ทำบันไดขึ้นชั้น 2
โครงระเบียงภายในชั้น 2
ทำโครงกั้นห้องด้วยเหล็กกั้นด้วยฝ้าเชอร่าบอร์ด 4 มม. 2 ชั้น (เหตุที่ใช้เพราะปลวกไม่กินและชั้น 2 ไม่มีคนอยู่ประจำต้องการแค่เก็บของและห้องนอนน้องสาวตอนกลับบ้าน)
.
กั้นเสร็จน้องสาวรีบลางาน ลงมาทาสีห้องเอง
.
จัดการห้องเก็บของ
.
งานระเบียงชั้นบนหน้าบ้าน
.
เริ่มชั้นล่างด้วยห้องน้ำ
.
ทุบด้านข้าง ก่อใหม่และใส่ประตูม้วน
.
ก่อกั้นห้องด้านในเพื่อใส่วงกบ
เอาประตูเหล็กพับหน้าบ้านออก ก่อปูนใส่วงกบหน้าบ้าน
งานปูพื้นเริ่มมา
.
ระหว่างที่ช่างปูพื้น จขกท. จัดการทาสี (ไม่มีคนถ่ายให้ต้องหยุดทาสีมาถ่ายเก็บไว้)
ปูห้องน้ำและใส่สุขภัณฑ์
.
.
.
.
.
เคาเตอร์ครัว
งานไฟฟ้า
งานติดประตูหน้าต่าง
.
.
.
สุดท้ายสำหรับงานช่าง งานกำแพงและพื้นหน้าบ้าน
.
แต่เจ้าของบ้านยังไม่จบ ทำประตูเหล็กหน้าบ้านกับพ่อ อันนี้ก็ความทรงจำ เราใช้ประตูเหล็กพับสีน้ำเงิน มากางออกพอไม่ให้หมามุดออกได้ ทำเป็นประตูเลื่อนหน้าบ้านสีน้ำตาลแทน
.
ขั้นตอนเข้าตรวจงาน (บุพการีทั้ง 3 พี่น้อง และเจ้าของบ้านตัวจริง)
.
รูปบ้านบางส่วน หลังบ้านเสร็จสิ่งที่ลืมมาก ๆ คือ ถ่ายรูปห้องเปล่า ๆ ทุกห้อง ผู้ชมเลยอดชมเพราะนึกได้ก็ขนของเข้าบ้านบางส่วนแล้ว สรุปอดดูความรก
.
.
ได้บ้านตามแบบที่นึก แต่ความละเอียดจะไปเทียบกับบ้านราคาหลายล้านคงไม่ได้ งานถ้ายิ่งสเกลละเอียดก็ยิ่งค่าใช้จ่ายสูงขึ้นตาม เราคิดแค่ว่าเรารับฝีมือช่างได้ที่เท่าไหร่ บางอย่างเราไม่ได้อยู่ด้วยความสวยงาม ขอแค่เป็นบ้านที่ไม่สร้างปัญหาให้เราในอนาคตเป็นพอ อยู่มาปีนึงแล้ว ฝนไม่รั่ว กระเบื้องไม่ระเบิด มันเพียงพอแล้วจริง ๆ
งบประมาณการก่อสร้าง 465,000 บาท ไม่รวมเฟอร์
ค่าช่าง 125,000 บาท
ค่าอุปกรณ์ก่อสร้างทั้งหมด 340,000 บาท
อย่าลืมว่าออกแบบเอง คำนวนวัสดุก่อสร้างเอง ซื้อของเอง คุมงานเอง ทาสีเอง
เคล็ดลับการซื้ออุปกรณ์ก่อสร้าง
1. ค้นหาราคา-เทียบอุปกรณ์ในเน็ต ร้านในตัวจังหวัดมีราคาในเน็ตแทบทุกร้าน
2. หากต้องการของจากห้าง ที่จังหวัดเป็นห้างวัสดุสีเขียว เราซื้อออนไลน์จะถูกกว่าเดินเข้าไปซื้อที่ห้างเอง บ้าน จขกท. ห่างตัวจังหวัด 15 กม.
3. ตอนจ่ายตังค์ถามแคชเชียร์เรื่องโปรส่วนลดมีอะไรบ้างได้ที่ละ 100-200 ซื้อ 100ครั้งเป็นเงินเท่าไหร่
4.ถ้าไม่จำเป็นใช้เงินสดซื้อไม่ใช้ เพราะใช้บัตรเครดิตรูดซื้อได้ส่วนลดมากกว่า ได้แต้มคืนเงินอีกต่างหาก
ช่วงที่สร้างบ้านโชคดีมาก ได้ปูนนกเขียวในโปร 2 แถม 1 จากราคาปกติและที่ใช้เงินอยู่ในงบประมาณคือเราซื้อของเอง เลือกเอง คุมงานเอง คำนวนวัสดุให้ช่างเองใช้ประสบการณ์ทำงานให้เป็นประโยชน์
สุดท้ายลาด้วยรูปนี้
ที่มา : Dookdig&Otwo