มนุษย์เราใช้เวลาถึง 1 ใน 3 ของเวลาทั้งชีวิตไปกับ การนอนหลับ เนื่องจากร่างกายของเราถูกออกแบบมาเพื่อให้การนอนหลับเป็นการวิธีการในการฟื้นฟู ซ่อมแซม รวมถึงการเจริญเติบโตของร่างกาย การนอนหลับจึงเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
แต่ในบางครั้งเรากลับพบว่า หลังจากตื่นนอนเรา มักมีอาการเจ็บปวดตามร่างกาย หรือรู้สึกไม่สบายตัวจากการนอนหลับ ซึ่งกระทบต่อการนอนของเรา อันที่จริงแล้วสาเหตุเหล่านี้ มันมีที่มาจากการนอนหลับผิดท่านั่นเอง
วันนี้ ในบ้าน จะพาไปชม 10 อาการที่เป็นปัญหาจากการนอนหลับ ที่กระทบต่อการนอนของเรา พร้อมแนวทางการแก้ไขอาการเหล่านั้น เพื่อให้การนอนหลับของเราเป็นไปอย่างสบายตลอดทั้งคืน
1. อาการปวดไหล่
หากตื่นนอนมาพร้อมกับอาการปวดไหล่ ในขณะนอนนั้นให้หลีกเลี่ยงการนอนตะแคงข้าง หรือนอนหนุนไหล่ที่กำลังเจ็บ ท่านอนที่ดีที่สุด คือ การนอนหงายแล้วนำหมอนมาวางไว้ที่ท้องแล้วกอดเอาไว้ แต่ถ้าไม่ชอบนอนแบบนี้ก็สามารถนอนตะแคงข้างด้านที่ไม่มีอาการปวดไหล่ แต่จะต้องไม่นอนหนุนแขน
2. อาการปวดหลัง
อาการปวดหลัง อาจจะมีเหตุมาจากที่นอนที่อ่อนนุ่มเกินไป รวมถึงท่านอนที่ไม่ถูกต้องอย่างการนอนคว่ำหน้าและวางขาในตำแหน่งที่ไม่ถูกต้อง โดยสามารถแก้ไขอาการปวดหลังได้โดยหาหมอนใบเล็กๆ มารองบริเวณหลังส่วนเอว และบริเวณหลังเข่า
3. อาการปวดคอ
อาการปวดคอเป็นปัญหามาจากเครื่องนอนเช่นเดียวกับอาการปวดหลัง ส่วนวิธีที่ดีที่สุดในการนอนคือการหนุนหมอนขนาดพอดีพร้อมกับรองแขนสองข้างด้วยหมอนเล็กๆ และหมอนที่ใช้หนุนไม่ควรมีขนาดหนาเกิน 6 นิ้ว
4. อาการนอนหลับยาก
แสงจากโทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เรานอนหลับยาก นอนจากนั้นควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน โซดา ชาดำ และช็อกโกแลตอย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนนอน นอกจากนั้น การออกกำลังกายในช่วงเช้าและช่วงบ่าย ช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิตและช่วยให้นอนหลับได้เร็วขึ้น
5. อาการหลับๆ ตื่นๆ
การตื่นนอนระหว่างคืนบ่อยๆ มีสาเหตุสำคัญมาจากการใช้มือถือในช่วงก่อนนอน รวามถึงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งทำลายสมดุลของน้ำในร่างกายและส่งผลต่อวงจรการนอนหลับ นอกจากนี้ให้ดูอุณหภูมิของห้อง อุณหภูมิที่เหมาะแก่การนอนที่สุดคือ 20-22 องศาเซลเซียส
6. อาการตื่นยาก
ปัญหานี้เจอได้กับทุกคน และเป็นปัญหาที่แก้ได้ง่ายมากด้วยการตั้งเวลาปลุกในเวลาเดียวกันทุกวัน (แม้ในวันหยุดสุดสัปดาห์) เพื่อให้ร่างกายเคยชิน และที่สำคัญ ถ้าอยากตื่นแต่เช้า ก็ต้องเข้านอนแต่เช้า
7. อาการกรน
หากมีอาการกรน ให้นอนตะแคงข้าง เพราะการนอนหงายเนื้อเยื่อภานในคอและลิ้นจะหดตัวและเกิดอาการกรน การเลือกหมอนที่นุ่มเกินไปก็มีส่วนช่วยให้เกิดอาการกรน นอกจากนั้น การฝึกใช้กล้ามเนื้อของลิ้นและลำคอ สามารถช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และลดอาการนอนกรน
8. อาการตะคริวที่ขา
ผู้ที่มีอาการเป็นตะคริวที่ขาในช่วงกลางคืนมักเกี่ยวข้องกับโรคบางอย่าง ความเสียหายของเส้นประสาท หรือการขาดธาตุบางชนิดในร่างกาย หากมีอาการนี้บ่อยเกินไปให้ปรึกษาแพทย์โดยด่วน ส่วนวิธีที่ช่วยป้องกันอาการตะคริว คือ การยืดกล้ามเนื้อก่อนนอน หรือการออกกำลังกายเป็นประจำ
9. แสบร้อนทรวงอก
หากมีอาการแสบร้อนกลางทรวงอก ให้นอนตะแคงซ้าย จัดวางท่านอนในลักษณะตัว Z เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดกรดไหลย้อน
10. ปวดขา
ส่วนอาการปวดขาในตอนกลางคืน ให้ใช้หมอนหรือปลายเตียงรองขาระหว่างนอนหลับจะช่วยในเรื่องของการไหลเวียนโลหิต การถูกหรือนวดเบาๆ ก่อนนอนก็สามารถช่วยได้เช่นกัน
ที่มา: brightside .