อากาศที่ร้อนระอุของประเทศไทย เครื่องใช้ไฟฟ้ายอดนิยมก็คงจะหนีไม่พ้น เครื่องปรับอากาศ นั่นเอง แต่หากเราใช้แอร์ไปนานๆ ฝุ่นมักจะเกาะติดกับแอร์ ทำให้เกิดปัญหาทางระบบทางเดินหายใจตามมา การล้างทำความสะอาดแอร์จึงมีความสำคัญไม่น้อย
วันนี้ ในบ้าน จะมาพร้อมกับขั้นตอนการล้างแอร์ จากคุณ SINCE 1990 ที่ได้ทำการแนะนำวิธี และขั้นตอนการล้างแอร์ ที่ใครก็สามารถทำเองที่บ้านได้ ประหยัดค่าใช้จ่ายไปอีกเพราะไม่ต้องจ้างช่าง ตามไปชมกันเลย
อุปกรณ์ที่ใช้
1. สายยาง หรือหัวฉีด
2. ผ้ายางยาวๆ สำหรับรองน้ำที่ไหลจากการฉีด
3. ถังน้ำ
4. เทปกาว
5. บันได
6. น้ำยาล้างจาน
7. ไขควง 4 แฉก
8. ผ้าซับน้ำ
ขั้นตอนของการถอดอะไหล่ตัวแอร์ในบ้าน ข้อสำคัญที่สุด ก่อนจะทำการถอดอะไหล่แอร์ ต้องแน่ใจว่าเราเอาสวิทช์เบรกเกอร์ลงอยู่ในสถานะ OFF แล้ว จากนั้นก็ลองกดเปิดแอร์ดู ถ้าแอร์เปิดไม่ติด ก็ทำการถอด และรื้อแอร์ได้เลย
เปิดบานสวิงดู
ขั้นตอนการทำ
ขั้นตอนที่ 1 เปิดฝาหน้า เพื่อถอดฟิลเตอร์ออกก่อน ขั้นตอนนี้ต้องค่อยๆ ดึงออกมา ไม่งั้นฝุ่นกระจาย ดังรูป
ขั้นตอนที่ 2 หาจุดขันน็อต ซึ่งจะมีจุกพลาสติกปิดไว้ บริเวณด้านล่าง ใกล้กับบานสวิง แอร์ส่วนใหญ่จะมี 2 – 3 จุด ซ้าย กลาง ขวา แต่แอร์ตัวนี้เป็นแอร์ขนาดเล็กมีอยู่ 2 จุด ดึงออกได้เลย ดังรูป
ขั้นตอนที่ 3 ใช้ไขควงขันน็อตตรงจุดที่เราถอดจุกพลาสติกออกทวนเข็มนาฬิกา ดังรูป
อีกจุดคือ ตรงบริเวณฝาปิดจุดเชื่อมต่อสายไฟ ดังรูป
ขั้นตอนที่ 4 วางไขควงแล้วใช้สองมือ แบมือหงาย สอดเข้าไปบริเวณฝาบนแอร์ แล้วดันขึ้น เพื่อให้ล็อคที่มีสลักอยู่หลุด จะมีเสียงดังแก๊ก พอสลักหลุดแล้ว ให้ดึงฝาบนออกมาเล็กน้อย ดังรูป
ขั้นตอนที่ 5 จับฝาด้านล่างสองข้าง แล้วดึงออกมา ดังรูป
พอถอดฝาครอบแอร์ออกมาแล้ว ให้นำไปวางไว้รอล้าง ซึ่งวิธีการวาง ให้วางแบบคว่ำไว้ ไม่ควรวางแนวตั้ง หรือพิงอะไรไว้ เพราะถ้าพื้นลื่น ฝาครอบแอร์อาจหล่นลงมาแตกหักได้ แล้วก็อีกอย่างคือไม่ควรวางแบบหงายไว้ เพราะจะทำให้ฝาหน้าแอร์เรามีรอยถู รอยขีดข่วน ดังรูป
ขั้นตอนที่ 6 ขั้นตอนของการถอดบานสวิง ให้ถอดสลักยึดตรงกลางออกก่อน ดังรูป
.
.
จากนั้นค่อยๆ ดึงตรงกลางให้หย่อน แล้วถอดด้านซ้ายมือเรา เสร็จแล้วค่อยถอดด้านขวาออกจากมอเตอร์สวิง
ถอดออกมาแล้วบางรุ่น จะมีที่ครอบเล็กๆ ให้ถอดออกมาเก็บไว้ เพราะตอนล้างหลุดง่ายมาก ถ้าหายมาเดี๋ยวงานเข้า ดังรูป
ถอดออกมาแล้วก็วางแนวนอนไว้รอล้าง
ขั้นตอนที่ 7 หาถุงใหญ่ๆ มาคลุมชุดแผงวงจรไว้ กันเวลาเราฉีดน้ำ เดี๋ยวไปโดนอุปกรณ์พัง ดังรูป
.
ขั้นตอนที่ 8 เตรียมเทปกาว แล้วก็ผ้ายาง ติดด้านข้างซ้ายขวา ถ้าไม่แน่ใจก็หาคลิปดำ หรือตัวหนีบผ้า มาหนีบไว้พยายามทำให้เป็นรางน้ำ อีกด้านนึงก็หย่อนลงในถังน้ำ ดังรูป
.
ขั้นตอนที่ 9 ฉีดน้ำตามแนวท่อทองแดงรังผึ้ง ถ้าตอนฉีดสังเกตุว่าน้ำจะไหลลงมาในถังเราไม่เยอะ ไม่ต้องตกใจ เพราะเราไม่ได้ถอดรางน้ำของตัวแอร์ แต่น้ำจะไหลไปตามท่อน้ำทิ้ง ถ้าน้ำล้นน้ำก็จะไหลลงรางน้ำผ้ายางของเรา ดังรูป
.
ขั้นตอนที่ 10 ฉีดน้ำล้างโบเวอร์แอร์ ตรงพัดลม ตอนฉีดให้ใช้มือด้านถนัดฉีดน้ำ แล้วอีกข้างให้จับโบเวอร์แอร์ไว้ไม่ให้หมุนเร็ว เดี๋ยวสะอาดไม่ทั่วถึง อีกอย่างก็กันการสึกหรอของมอเตอร์ ตรงนี้เรียกว่า โบเวอร์แอร์ ฉีดน้ำเข้าไปเลย ดังรูป
ฉีดเสร็จแล้วก็ลงน้ำยาล้างจาน หรือผงซักฟอก ดังรูป
ฉีดน้ำอีกรอบ จนมั่นใจว่าแอร์เราสะอาดทุกซอกทุกมุมแล้ว
ขั้นตอนที่ 11 ระหว่างที่รอแม่บ้านล้างอะไหล่ เราก็แว็บออกไปล้างคอนเดนเซอร์แอร์ (คอยล์ร้อน) อยู่นอกตัวบ้าน
ขั้นตอนที่ 12 ขันน็อตฝาบน ซ้ายขวา หรือถ้ามีด้านหลังด้านหน้าก็ขันกันไป ดังรูป
.
พอขันน็อตซ้ายขวาหน้าหลังออกหมด ก็ยกฝาบนขึ้น ดังรูป
ขั้นตอนที่ 13 แอร์บางรุ่น มอเตอร์พัดลมจะมีรูระบายความร้อน เวลาฉีดน้ำเข้ามาแรงๆ น้ำก็จะเข้าไปในตัวมอเตอร์ เปิดแอร์ปุ๊บ อาจเกิดการระเบิดได้ ฉะนั้น เราต้องใช้ถุงคลุมไว้ให้มิดชิด แต่โชคดีที่แอร์ตัวนี้ไม่มีรูให้ใช้ถุง ก็สามารถฉีดน้ำได้เลย ดังรูป
.
.
นี่แค่แรงดันจากน้ำก็อกธรรมดา ถ้ามีปั้มเครื่องฉีดแรงดันสูงคงแรงกว่านี้ ส่วนใครที่แอร์มอเตอร์พัดลมมีรู ไม่คลุมถุงพลาสติกเสี่ยงพังได้แต่ถ้าใช้ถุงคลุมแล้วพอฉีดเสร็จอย่าลืมเอาถุงออกด้วย ไม่งั้นก็พังเช่นกัน เพราะอาจเกิดอาการไหม้ตามมา ดังรูป
ฉีดด้านนอก-ด้านใน จนมั่นใจว่าสะอาดแล้วก็พอ ดังรูป
ขั้นตอนที่ 14 ประกอบฝาบนเข้าเหมือนเดิม ขันน็อตให้ครบ ถ้าขันไม่ครบเดี๋ยวตอนแอร์ทำงานมันจะดังให้รำคาญใจตอนดึกๆ ดื่นๆ
พอประกอบเสร็จ สังเกตุเห็นผ้าพันท่อแอร์ขาด สาเหตุน่าจะเกิดจากแสงแดดที่แผดเผา เพราะอายุอานามแอร์ตัวนี้ก็ติดนานแล้ว ใช้เทปกาวพันไว้แทน ดังรูป
.
ขั้นตอนที่ 15 กลับเข้ามาในบ้าน แล้วประกอบคอยล์เย็น ใส่สวิงก่อน อย่าลืมตัวครอบเล็กๆ ของสวิงที่เราถอดออกใส่เข้าไปด้วย
ใส่สวิงจากขวามือเรา เสียบเข้าไปที่มอเตอร์สวิงให้ลงล็อก จากนั้นก็ใส่ด้านซ้ายมือ เสร็จแล้วก็ใส่ตรงกลาง เสียบเข้าไปในล็อกให้ดังแก็ก ดังรูป
.
ขั้นตอนที่ 16 ใส่ฝาครอบแอร์ วิธีการใส่คือ ต้องใส่จากล่างขึ้นบน เราต้องใส่ให้ตรงช่องสวิงก่อน แล้วค่อยดันเข้าด้านบนถ้าเข้าล็อกจะดังแก็ก 2 แก็ก ขันน็อตให้เรียบร้อย ใส่จุกพลาสติก
ขั้นตอนที่ 17 ใส่ฝาครอบจุดเชื่อมต่อไฟ แล้วขันน็อตให้เรียบร้อย ดังรูป
ขั้นตอนที่ 18 ใส่ฟิลเตอร์ ปิดฝา ดังรูป
ขั้นตอนที่ 19 ใช้ผ้าสะอาดเช็ดตัวแอร์ให้แห้ง ดังรูป
ขั้นตอนที่ 20 เปิดสวิตช์เบรกเกอร์ และกดรีโมทเปิดแอร์ ลองใช้งานดู ดังรูป
.
ตอนเปิดแอร์ มันก็จะมีละอองน้ำออกมาหน่อยๆ ไม่ต้องตกใจ เพราะน้ำที่ออกมาคือน้ำที่เกาะอยู่ตามโบเวอร์แอร์
ที่มา : SINCE 1990