เมื่อย่างเข้าสู่เดือนมีนาคม อากาศเย็นๆ ของหน้าหนาวก็เริ่มอุ่นขึ้นมาทีละน้อย เป็นสัญญาณสำคัญว่าเรากำลังเดินทางเข้าสู่หน้าร้อนกันแล้ว และหน้าร้อนของเมืองไทยก็เป็นที่รู้กันดีว่าร้อนแบบสุดขีด การอยู่ในร่ม หรือดื่มเครื่องดื่มเย็นๆ อาจจะยังไม่เพียงพอ ซึ่งคงจะไม่มีอะไรดีไปกว่านั่งเล่นอยู่ในห้องที่มีแอร์เย็นฉ่ำ
เครื่องปรับอากาศ จึงควรมีไว้ติดบ้านเพื่อคลายร้อน อย่างไรก็ตาม เครื่องปรับอากาศที่วางขายก็มีตัวเลือกมากมาย จึงอาจเป็นเรื่องยากสำหรับบางคนที่จะการเลือกเครื่องปรับอากาศที่เหมาะสม วันนี้ ในบ้าน ก็มีสาระน่ารู้เกี่ยวกับการเลือกเครื่องปรับอากาศมาฝาก กับ “7 ข้อมูลสำคัญ เพื่อการเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศอย่างชาญฉลาด” ไปชมกันได้เลยครับ
1. ประเภทของเครื่องปรับอากาศ
ก่อนอื่นจะต้องดูประเภทของเครื่องปรับอากาศก่อน ว่าแบบไหนที่เหมาะสมกับบ้าน และความต้องการของเราที่สุด ซึ่งประเภทของเครื่องปรับอากาศจะประกอบไปด้วย แบบติดผนัง แบบแขวน แบบตู้ตั้ง แบบฝังเพดาน แบบหน้าต่าง และแบบเคลื่อนที่
ซึ่งในแต่ละแบบต่างก็มีลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะฟังก์ชันของการกระจายลมเย็น นอกจากนี้การเลือกเครื่องปรับอากาศแต่ละแบบให้มีดีไซน์เหมาะสมกับสถานที่ติดตั้งก็เป็นสิ่งที่ผู้บริโภคควรให้ความสำคัญ
ที่สำคัญ อย่าลืมคำนึงถึงเรื่องการบำรุงรักษา (Maintenance) และการล้างทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศด้วย เพราะเครื่องแต่ละประเภทก็มีรูปแบบการล้างที่แตกต่างกันไปเช่นกัน
2. ค่าติดตั้ง
ในการติดตั้งเครื่องปรับอากาศในแต่ละจุดของบ้านหรืออาคาร จะมีความยากง่าย และรายละเอียดการติดตั้งที่แตกต่างกันไป ซึ่งสิ่งเหล่านี้ จะส่งผลให้การติดตั้งเครื่องปรับอากาศหรือค่าแรงของช่าง มีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันไปด้วย
ปัจจัยหลักๆ ที่จะส่งผลต่อราคาค่าติดตั้งก็คือ ขนาด BTU ของเครื่องปรับอากาศ ซึ่งหากติดตั้งเครื่องที่มีค่า BTU สูง ค่าติดตั้งก็จะสูงตาม รวมไปถึง ประเภทของเครื่องปรับอากาศ ที่ยังส่งผลต่อราคาด้วย โดยทั่วไปแล้ว ค่าติดตั้งแบบติดผนังจะมีราคาถูกที่สุด ค่าติดตั้งแบบแขวนหรือตู้ตั้งพื้นราคาจะสูงขึ้นมานิดนึง และค่าติดตั้งแอร์แบบฝังเพดาน จะมีค่าใช้จ่ายสูงที่สุด นอกจากนี้ หากติดตั้งส่วนที่เกินมาตรฐาน ก็ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น ความยาวของท่อน้ำยา ความยาวของสายไฟ รางครอบท่อ ค่าแรงกรีดปูนฝังท่อ โดยการคำนวณจะวัดเป็นระยะต่อราคา (เมตร/บาท)
จะเห็นได้ว่าค่าติดตั้งเครื่องปรับอากาศนั้นมีรายละเอียดที่ค่อนข้างยิบย่อย ดังนั้นแล้ว ก่อนที่จะติดตั้งเครื่องปรับอากาศ จะต้องวางแผนกำหนดตำแหน่งเครื่องให้เหมาะ พร้อมทั้งคำนวณค่าใช้จ่ายให้เรียบร้อยก่อนที่จะให้ช่างลงมือติดตั้งกันนะครับ
3. ประสิทธิภาพของการทำงาน
เครื่องปรับอากาศมีขนาด และประสิทธิภาพการทำงานที่แตกต่างกันไปตามขนาดของห้อง ดังนั้น ควรเลือกเครื่องปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับขนาดของห้อง เพื่อให้เครื่องทำงานได้เต็มที่ และประหยัดไฟที่สุด
โดยสามารถพิจารณาจากค่าความสามารถในการทำความเย็น (Cooling Capacity) หรือขนาด BTU ต่อชั่วโมงว่าเหมาะสมกับห้องที่ติดตั้งหรือไม่ หากน้อยเกินไปจะส่งผลให้เครื่องไม่สามารถทำความเย็นได้ทั่วทั้งห้องได้ หรือหากมากเกินไปก็ทำให้คอมเพรสเซอร์ตัด/ต่อการทำงานบ่อย ส่งผลกระทบต่อการรักษาอุณหภูมิและการใช้พลังงานเช่นเดียวกัน
ขนาด BTU ของเครื่องปรับอากาศ ที่เหมาะสมกับห้องแต่ละขนาด
– ห้องขนาด 9 – 12 ตร.ม. หรือห้องนอนขนาดเล็ก ควรใช้เครื่องปรับอากาศ 9,000 BTU
– ห้องขนาด 12 – 16 ตร.ม. หรือห้องขนาดมาตรฐานของคอนโดมิเนียมทั่วไป ควรใช้เครื่องปรับอากาศ 12,000 BTU
– ห้องขนาด 16-24 ตร.ม. หรือห้องแบบสตูดิโอ ควรใช้เครื่องปรับอากาศ 18,000 BTU
– ห้องขนาด 24 – 32 ตร.ม. หรือห้องโถงในบ้าน/ห้องสตูดิโอขนาดใหญ่ ควรใช้เครื่องปรับอากาศ 24,000 BTU
4. เทคโนโลยีของเครื่องปรับอากาศ
ปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยีของเครื่องปรับอากาศให้ก้าวหน้าขึ้นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีสารทำความเย็นที่สร้างมลภาวะน้อยลงและรักษ์โลกมากยิ่งขึ้น, เทคโนโลยี Inverter ที่จะช่วยให้เครื่องปรับอากาศใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดไฟฟ้ามากขึ้น, เทคโนโลยีการกระจายลมเย็นช่วยให้ห้องเย็นเร็วขึ้น เย็นทั่วถึงมากขึ้น, เทคโนโลยีและฟังก์ชันที่ช่วยอำนวยความสะดวกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการตั้งเวลาเปิดปิดอัตโนมัติหรือการสร้างโปรไฟล์เพื่อใช้งานสำหรับผู้ใช้งานแต่ละคน
นอกจากเทคโนโลยีเหล่านี้แล้ว เครื่องปรับอากาศหลายๆ แบรนด์ยังใส่ใจสุขภาพของผู้โภคด้วยการหันมาพัฒนาเทคโนโลยีกรองอากาศและกำจัดฝุ่นละอองอีกด้วย ซึ่งก็นับว่าเป็นปัญหาหนักที่คนไทยจำนวนไม่น้อยต้องประสบกันแทบจะทุกปี
5. การประหยัดพลังงาน
การประหยัดพลังงานเป็นเรื่องอันต้นๆ ที่เราต้องคำนึงถึง เพื่อให้เราสามารถเปิดแอร์ได้นานๆ โดยเสียค่าไฟฟ้าได้น้อยที่สุด ก่อนเลือกเครื่องปรับอากาศ ให้พิจารณาอัตราส่วนประสิทธิภาพพลังงานตามฤดูกาล หรือค่า SEER (Seasonal Energy Efficiency Ratio) บนฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 หากค่า SEER ยิ่งสูง หมายความว่าความสามารถในการประหยัดพลังงานของเครื่องปรับอากาศยิ่งมากนั่นเอง
นอกจากการคำนึงถึงค่า SEER บนฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 แล้ว เครื่องปรับอากาศที่มี เทคโนโลยี Inverter คือทางเลือกยอดเยี่ยมที่ช่วยเสริมในเรื่องของการประหยัดพลังงาน เพราะการทำงานของเทคโนโลยี Inverter นั้น คือการลดรอบทำงานของคอมเพรสเซอร์ให้ช้าลงเมื่อห้องมีอุณภูมิเย็นสบาย แต่หากอุณภูมิห้องสูงขึ้นเกินกว่าที่กำหนดไว้ คอมเพรสเซอร์จะทำงานอีกครั้ง วิธีนี้เป็นการลดภาระการทำงานของคอมเพรสเซอร์และทำให้ประหยัดไฟขึ้นอีกด้วย
6. ค่าบำรุงรักษา
เครื่องปรับอากาศก็เหมือนกับเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปที่มีอายุการใช้งาน เมื่อใช้ไประะยะหนึ่งแล้วจำเป็นต้องมีการบำรุงรักษาเพื่อรักษาประสิทธิภาพ และยืดอายุการใช้งาน จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงค่าบำรุงรักษาด้วย โดยแบรนด์ที่มีความน่าเชื่อถือสูงมักจะมีศูนย์บริการ และทีมงานมืออาชีพไว้บริการในราคาที่เหมาะสม
7. อายุการใช้งาน
ควรพิจารณาอายุการใช้งานของเครื่องปรับอากาศด้วย โดยเครื่องปรับอากาศแต่ละยี่ห้อ หรือแต่ละรุ่นจะมีอายุการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป จึงควรเลือกใช้บริการจากแบรนด์ที่มีความน่าเชื่อถือจึงจะดีที่สุด
และนี้ก็คือข้อมูลสำคัญทั้งหมดที่เราควรจะต้องรู้ก่อนที่จะเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศ ซึ่งวันนี้ ในบ้าน ก็จะพาเพื่อนๆ ชาวเว็บไปรู้จักกับ Mitsubishi Heavy Duty ตัวเลือกที่สามารถตอบโจทย์ได้ครบทุกประเด็น ครบทุกความต้องการของคุณภายในเครื่องเดียว
เครื่องปรับอากาศที่มีระบบ Inverter จะช่วยประหยัดค่าไฟเป็นอย่างมาก เพราะเครื่องปรับอากาศ Mitsubishi Heavy Duty ใช้ระบบ Inverter แท้ทั้งระบบ ประกอบด้วย 4 ชิ้นส่วน คือ แผงวงจรอัจฉริยะ PAM, คอมเพรสเซอร์กระแสตรง, มอเตอร์กระแสตรงและวาล์วอิเล็คทรอนิค EEV ซึ่งจะทำงานสัมพันธ์กันในการควบคุมความเร็วรอบ ปรับเปลี่ยนความถี่ในการทำงานและควบคุมอัตราการไหลของสารทำความเย็นให้อยู่ในสภาวะเหมาะสมที่สุด จึงทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้พลังงานทำให้เกิดการประหยัดไฟมากที่สุดด้วย
นอกจากนี้ยังช่วยทำให้ห้องเงียบสนิท เพราะเมื่ออุณหภูมิภายในห้องอยู่ในระดับที่ตั้งไว้ คอมเพรสเซอร์จะลดรอบการทำงานให้ช้าลง แต่ไม่หยุดการทำงาน ทำให้อุณหภูมิภายในห้องเย็นสบายคงที่ตามที่ตั้งค่าไว้ อุณหภูมิภายในห้องจะไม่สูงขึ้นหรือจะไม่ต่ำลงไปกว่านั้น ไม่มีเสียงรบกวนจากการตัด–ต่อคอมเพรสเซอร์
แตกต่างจากระบบ Non-Inverter หรือ Fixed Speed ที่เมื่อถึงระดับอุณหภูมิที่กำหนด คอมเพรสเซอร์จะตัดการทำงานและต่อการทำงานอีกครั้งเมื่อห้องร้อนขึ้น ทำให้การรักษาอุณหภูมิภายในห้องทำได้ไม่ดีเท่าระบบ Inverter และทำให้เกิดการใช้พลังงานสิ้นเปลืองจากการกระชากไฟ ส่งผลกระทบต่อค่าไฟที่แพงขึ้นนั่นเอง
ระบบทำความสะอาดตัวเอง (Self Clean Operation) โดยใช้พัดลมมอเตอร์เป่าเบาๆ เพื่อไล่ความชื้นในคอยล์เย็นช่วยลดกลิ่นอับชื้น และยับยั้ง การเจริญเติบโตของเชื้อรา โดยระบบการทำความสะอาดตัวเองนี้จะทำงานโดยอัตโนมัติเป็นเวลา 2 ชั่วโมงหลังปิดเครื่องปรับอากาศ หลังจากทำงานเสร็จสิ้นเครื่องจะปิดการทำงานเองโดยอัตโนมัติ จึงมั่นใจได้ว่าเครื่องปรับอากาศของ Mitsubishi Heavy Duty จะช่วยดูแลสุขภาพของทุกคนในบ้าน
แผ่นฟอกอากาศของ Mitsubishi Heavy Duty เป็นแผ่นฟอกอากาศที่สามารถถอดเปลี่ยนได้และมีความหลากหลายรองรับกับการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นแผ่นฟอกอากาศ Enzyme Filter ที่ประกอบไปด้วยเอ็นไซม์ยูเรีย (Enzyme-urea) มีคุณสมบัติต่อต้านเชื้อก่อภูมิแพ้, แผ่นฟอกอากาศ Solar หรือ Sun Filter ที่มีคุณสมบัติขจัดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ ทำให้ห้องหอมสดชื่น, แผ่นฟอกอากาศ Allergen Clear Filter ที่ช่วยดักจับสารก่อภูมิแพ้และแบคทีเรียในอากาศ และยังมีแผ่นฟอกอากาศ Vitamin C Filter ที่ช่วยปล่อย Vitamin C มาพร้อมลมเย็นสบาย ทำให้ผิวมีความชุ่มชื้นสุขภาพดีอีกด้วย จึงมั่นใจได้ว่าเครื่องปรับอากาศของ Mitsubishi Heavy Duty จะช่วยดูแลสุขภาพของทุกคนในบ้าน
และที่สำคัญเครื่องปรับอากาศทุกเครื่องของ Mitsubishi Heavy Duty รับประกันชิ้นส่วนทุกชิ้นถึง 5 ปีทุกชิ้นส่วน จึงมั่นใจ และอุ่นใจได้ว่าจะมีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำ และช่วยเหลือเราไปได้อีกนาน
หากเพื่อนๆ ชาวเว็บ สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อสอบถามได้ที่ข้อมูลด้านล่างนี้เลยนะครับ
เว็บไซต์ : www.mitsubishi-kyw.co.th
ติดต่อศูนย์บริการ
โทรศัพท์ : 0-2763-7000
โทรสาร : 0-2379-4759-62
.