เพราะการสร้างบ้านสักหลังไม่ใช่เรื่องเล็กๆ เราจึงต้องตรวจเช็คแบบฟอร์มสัญญาก่อสร้างบ้านที่ทำกับผู้สร้างบ้านหรือบริษัทก่อสร้างให้ละเอียดถี่ถ้วน ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างเจ้าของบ้านและทีมสร้างบ้าน ซึ่งหากจะเรียกสัญญาก่อสร้างบ้านว่าเป็นเสมือนกับเป็นเครื่องป้องกันปัญหาความขัดแย้งของทั้งสองฝ่าย ก็คงจะไม่ผิด
วันนี้ ในบ้าน จะพาเพื่อนๆ ชาวเว็บไปดูกันว่า เวลาที่เราทำสัญญาสร้างบ้านกับผู้รับเหมาหรือช่างก่อสร้าง มีอะไรบ้างที่เราควรจะระบุให้ชัดเจนในแบบฟอร์ม รับรองได้ว่าจะช่วยให้เราสามารถคุมงบประมาณและระยะเวลาสร้างบ้านได้อย่างดีเยี่ยมเลยล่ะครับ
1. แบบก่อสร้าง
ความสำคัญของแบบก่อสร้าง หรือแบบบ้านนั้น ก็เพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างผู้ว่าจ้างและผู้ก่อสร้าง ควรระบุรายละเอียดแบบบ้านให้ชัดเจนและเข้าใจได้โดยง่าย และมีทั้งแบบภาพจำลองสร้างจริง หรือภาพ 3D ด้วย โดยเฉพาะในเรื่องรายละเอียดฟังก์ชันการใช้งาน จะได้ไม่เกิดปัญหาในการใช้ชีวิตจากบ้านที่สร้างจริงแต่ไม่ตรงกับแบบแปลน
2. ขอบเขตการทำงาน
ระบุให้ชัดเจนว่าเจ้าของบ้านต้องการให้ช่างงานทำอะไรบ้าง ทั้งในเรื่องของพื้นที่การทำงานและกระบวนการการทำงาน เช่น หากต้องการสร้างบ้านชั้นเดียวขนาดสองห้องนอน ต้องระบุให้ชัดเจนว่าสร้างบ้านขนาดกี่ตารางเมตร ต้องการทำเฉพาะโครงสร้างบ้าน หรือรับเหมาสร้างจนเสร็จสมบูรณ์แบบพร้อมอยู่ ฯลฯ เพื่อให้ช่างไม่ต้องทำงานเกินจากที่กำหนดไว้ ป้องกันปัญหางบประมาณที่อาจบานปลาย
3. ระยะเวลาก่อสร้าง
การกำหนดระยะเวลาก่อสร้างในใบสัญญา จะช่วยให้เรามั่นใจว่าจะได้บ้านตามวันที่เราต้องการ ซึ่งควรจะระบุรายละเอียดให้ชัดเจนว่าจะก่อสร้างให้เสร็จภายในระยะเวลาเท่าไหร่หรือเสร็จวันไหน (ควรระบุเป็นวันที่ชัดเจน) และ ควรระบุเงื่อนไขปรับลดค่าจ้างในกรณีที่งานเสร็จล่าช้า อาจจะปรับเป็นเปอร์เซ็นต์หรือเป็นจำนวนที่เหมาะสมตามจำนวนวันที่เลยกำหนด
4. รายละเอียด BOQ
BOQ หรือ Bill of Quantities คือ คือบัญชีแสดงปริมาณวัสดุและ
ภาพตัวอย่าง : แบบฟอร์ม BOQ
5. งวดการแบ่งจ่ายค่าจ้าง
การแบ่งจ่ายเงินค่าจ้าง ควรแบ่งจ่ายเป็นงวดๆ พร้อมระบุรายละเอียดส่วนงานของงวดนั้นๆ ไว้ด้วย เช่น งวดแรกจ่าย 10% จากราคาบ้านทั้งหมด เพื่อเป็นวัสดุอุปกรณ์, งวดที่สองให้ 10% จากราคาบ้านทั้งหมด สำหรับงานวางผังหรือเสาเข็ม ฯลฯ
ภาพตัวอย่าง : รายละเอียดในการชำระแต่ละงวด
การกำหนดการจ่ายค่าจ้างเป็นงวดๆ จะช่วยลดความเสี่ยงสำหรับช่างที่อาจจะฉ้อโกงได้ เพราะหากได้เงินก้อนใหญ่ไปในทีเดียว อาจทำให้ช่างทิ้งงานและหนีหายไปเลย หรือหากช่างงานไม่มีฝีมือ เราก็สามารถจ้างช่างชุดใหม่ให้เข้ามาสานงานต่อไปโดยที่เงินทั้งหมดไม่หายไปทีเดียว
6. การรับประกันความเสียหาย และระยะเวลาประกันงาน
ตามกฎหมายแล้ว เมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้จะซื้อแล้วผู้จะขายต้องรับผิดชอบในความเสียหายหรือชำรุดของอาคาร ซึ่งก็คือกฎหมาย การรับประกันความเสียหาย นั่นเอง และเมื่อมีเหตุชำรุดบกพร่องหรือเสียหายเกิดขึ้นกับบ้านที่ซื้อโดยที่เจ้าของบ้านไปตรวจเจอทีหลัง ก็สามารถนำกฎหมายข้อนี้ไปเรียกร้องกับผู้ขายได้ เพื่อรักษาสิทธิในฐานะผู้ซื้อ
– กรณีที่เป็นโครงสร้างอาคาร กฎหมายกำหนดให้รับประกัน 5 ปีนับแต่วันโอนกรรมสิทธิ์
– กรณีที่เป็นส่วนควบหรืออุปก
ใครที่กำลังจะสร้างบ้าน อย่าลืมเช็คทั้ง 6 ข้อด้านบนนี้ให้ดีก่อน จะได้ไม่ต้องมานั่งเสียใจในภายหลังกันนะครับ
และสำหรับใครที่กำลังมองหาบริษัทรับสร้างบ้าน สถาปนิก หรือวิศวกรกันอยู่ล่ะก็ ขอแนะนำเว็บไซต์ สารพัดช่าง.com เพราะที่นี่ได้รวบรวมทีมงานก่อสร้างพร้อมผลงานบ้านสวยๆ มากมาย รอให้เพื่อนๆ ได้เลือกชมกันครับ ^_^
ที่มา : สารพัดช่าง.com
Facebook : สารพัดช่าง.com Sarapadchang .