การสร้างบ้านด้วยตู้คอนเทนเนอร์ เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะตู้คอนเทอเนอร์นั้น นอกจากจะมีรูปทรงที่เหมาะกับการสร้างอาคารแล้ว คุณภาพเหล็กของตู้ก้จะมีความแข็งแรง และทนต่อการกัดกร่อนได้ดีอีกด้วย
อย่างไอเดียการสร้างบ้านในวันนี้ เป็นการสร้างบ้านด้วยตู้คอนเทนเนอร์ด้วยงบราว ๆ 500,000 บาท แต่ต้องบอกไว้ก่อนนะ ว่าอันนี้เฉพาะตัวบ้านเท่านั้น ยังไม่รวมค่าถมที่ ค่าตกแต่ง และค่าอื่น ๆ ซึ่งก็เป็นข้อมูลดี ๆ สำหรับเพื่อน ๆ ที่กำลังศึกษาการสร้างบ้านแนวนี้กันอยู่
ปลูกบ้านคอนเทนเนอร์ 100 ตารางเมตร งบ 500,000
(โดยคุณ สมาชิกหมายเลข 4146180)
ที่ดินที่จะนำมาปลูกบ้านจากตู้คอนเทนเนอร์ในครั้งนี้มีขนาดเนื้อที่ 400 ตารางวา โดยจะแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ของแม่ ของพี่ชาย ของน้องสาว และของเจ้าของบ้าน ซึ่งเราจะพาเพื่อน ๆ ไปโฟกัสในจุดที่เป็นตำแหน่งของบ้านตู้คอนเทนเนอร์กัน
เริ่มด้วยการถมที่เพื่อปรับหน้าดินในเสมอกัน
เริ่มหาแบบบ้านจากอินเตอร์เน็ต และก็ได้แบบบ้านตามรูปนี้เลย
เจ้าของอยากจะใช้ประโยชน์จากใต้ถุนบ้าน ไม่อยากจะเว้นว่างไว้ตามแบบ จึงคิดว่าจะทำเป็นที่เก็บของต่าง ๆ หรืออุปกรณ์ ก่อสร้าง ทำสวน อะไรพวกนี้ จึงลงมือเทพื้นด้วยปูนไว้ก่อน
หลังจากเทพื้นเสร็จแล้ว เราใช้วิธี เอาเสาเข็มมาวางเป็นฐานราก
ใช้เสาเข็ม 9 เมตร ทั้งหมด 4 ต้น โดยต้นสุดท้าย จะตัดเสาเข็ม และวางห่างกัน เพื่อเอาไว้ทำบันไดทางขึ้นข้างบ้าน
จากนั้นเอาตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 40 ft high cube จำนวน 2 ตู้ มาวาง สาเหตุที่ใช้ตู้สูง เพราะว่าไม่อยากให้เพดานเตี้ย กลัวว่าจะทำให้ดูอึดอัด เนื่องจากตู้ขนาดมาตรฐานจะสูงแค่2.4เมตร แต่แบบ high cube จะสูง 2.7เมตร
ซึ่งซื้อตู้คอนเทนเนอร์มือสองจากแถว ๆ บางนาตราด ราคาตู้ใบละ 50,000 บาท
เมื่อวางตู้คอนเทนเนอร์เสร็จ ก็รีบขึ้นหลังคาเลย เพราะที่โล่ง ๆ แดดร้อนมาก หลังคาใช้เมทัลชีท บุโฟมกันร้อนอย่างหนา เพราะไม่อยากใช้หลังคากระเบื้อง เนื่องจากน้ำหนักจะหนักมาก
.
.
เมื่อบ้านมีหลังคาแล้ว จากนั้นก็เริ่มเจาะและตัดผนังตู้คอนเทนเนอร์ด้านในบ้านออก เพื่อเชื่อมต่อพื้นที่ระหว่างตู้คอนเทนเนอร์ทั้ง 2 ตู้ จะทำให้บ้านกว้างขึ้น เจาะช่องสำหรับหน้าต่าง
และก็เอาผนังเหล็กของตู้ที่ตัดออกไปทำผนังบ้าน ผนังห้องน้ำและผนังห้องนั่งเล่น ที่ตอนแรกได้วางคอนเทนเนอร์เหลื่อมกันเอาไว้ และเว้นพื้นที่เอาไว้สำหรับ 2 ห้องนี้
.
ระหว่างตู้ทั้ง 2 ตู้ จะใช้พื้นสมาร์ทบอร์ดยิงกับโครงเหล็กเพื่อเชื่อมต่อพื้นที่ภายในบ้าน
กั้นโครงเหล็ก เพื่อกั้นสัดส่วนระหว่างห้องนอน กับห้องรับแขก
เมื่อทำโครงเหล็กเพื่อกำหนดสัดส่วนของห้องต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว ก็เริ่มกรุผนังห้อง วัสดุที่เลือกใช้คือสมาร์ทบอร์ทแผ่นเรียบ และติดฉนวนกันร้อนด้วย เพื่อป้องกันผนังบ้านร้อน แต่สำหรับห้องครัวเลือกใช้สมาร์ทบอร์ทแบบเซาะร่อง เพื่อให้ดู soft และ vintage มากขึ้น
รูปนี้คือกรุผนังห้องครัว ช่องที่เจาะไว้ กะว่าจะทำหน้าต่างบานกระทุ้ง เพราะจะติดตั้งเคาน์เตอร์ครัวตรงนั้น ลมและแสงแดดจะได้ส่องเข้ามาถึงตรงอ่างล้างจานได้
สุดทางคือห้องน้ำสำหรับแขก ซ้ายมือคือห้องเก็บของ และตรงที่ยืนถ่ายรูปอยู่คือตำแหน่งห้องครัว ซึ่งในขั้นตอนนี้ช่างก็จะเดินท่อน้ำ และสายไฟ
จากนั้นคือทำฝ้า
ติดไฟในห้องนอน
ปูกระเบื้อง
ติดตั้งอ่างอาบน้ำในห้องน้ำและปูกระเบื้องห้องน้ำ
พอทำภายในเสร็จเรียบร้อย ก็เกิดเปลี่ยนใจอยากกรุผนังภายนอกบ้านด้วยไม้เชอร่า อยากได้อารมณ์แบบบ้านเมืองนอกนิด ๆ อีกอย่างกลัวว่าถ้าผนังตู้คอนเทนเนอร์สัมผัสกับแดดโดยตรงอาจจะร้อนก็ได้
คิดว่าถ้ากรุผนังภายนอกก็น่าจะทำให้ร้อนน้อยลงได้อีกพอกรุผนังภายนอก และติดประตูหน้าต่างเสร็จก็จะได้หน้าตาประมาณนี้
มันดูขาด ๆ อะไรบางอย่างไป ก็เลยซื้อไม้เชอร่ามาตัดทำเป็นบัวประตู และหน้าต่าง ดูดีขึ้นมาทันทีเลย
บ้านเราไม่มีประตูหลังบ้าน นี่คือทางเข้าบ้านด้านข้าง
เมื่อตัวบ้านเสร็จ ก็จัดการต่อท่อน้ำดี ท่อน้ำทิ้ง ด้านหลังบ้าน และวางแผ่นพื้นรอบบ้าน
วางแผ่นพื้นหน้าบ้าน
พอทำมาขั้นตอนนี้ รู้สึกตัวว่าหลังคาบ้านสั้น ๆ เพราะบ้านหันหน้าทางทิศตะวันออก ช่วงเช้าถึงช่วงสายแดดเข้ามาถึงกลางบ้านเลย ก็เลยต้องต่อเติมระเบียงหน้าบ้านทำหลังคายาวออกไป และสำหรับทำเป็นที่จอดรถด้วย
ทำระเบียงและที่จอดรถเสร็จหน้าตาเป็นแบบนี้ เริ่มดูเป็นบ้านจริง ๆ ขึ้นมาแล้ว
พอบ้านจะเสร็จ ก็มีไอเดีย บ้านเราชอบปิ้งย่าง ก็เลยอยากได้พื้นที่หน้าบ้านนั่งกินปิ้งย่างกัน ก็เลยทำศาลากล้วยไม้ เอาไว้นั่งกินปิ้งย่าง ส่วนนี้ค่าแรงช่าง 20,000 ซื้อของอีกประมาณ 10,000
มีระแนงแขวนกล้วยไม้
ชิงช้าสำหรับเด็ก ๆ
งานจัดสวนก็มา
.
ระหว่างจัดสวน ก็ตกแต่งภายในไปด้วย เนื่องจากภายในกรุด้วยสมาร์ทบอร์ด เราจึงติดวอลล์เปเปอร์เพื่อเพิ่มความสวยงาม มาดูห้องนอนกัน
.
ห้องรับแขก
.
.
.
บานประตู ตรงหลังคานั่นเป็นช่อง service ระบบไฟ เปิดขึ้นไปสามารถเข้าไป service ระบบไฟที่อยู่บนหลังคาตู้ได้ ให้ช่างเดินไฟส่องสว่างเอาไว้ในนั้นด้วย เวลาขึ้นไปจะได้ไม่ต้องถือไฟฉาย
.
.
.
.
.
สุดท้ายนี้สำหรับเพื่อน ๆ ที่อยากจะมีบ้านในฝัน แต่กำลังทุนทรัพย์ไม่เพียงพอ ก็อาจจะลองปลูกบ้านคอนเทนเนอร์แบบนี้ดูก็ได้นะ
สรุปค่าใช้จ่ายปลูกบ้านคอนเทนเนอร์ ค่าแรง+ค่าตู้+ค่าอุปกรณ์ก่อสร้าง 500,000 บาท
ค่าติดวอลเปเปอร์+ค่าแอร์4ตัว+ค่าผ้าม่าน+ค่าเฟอร์นิเจอร์ 200,000 บาท
ที่มา: สมาชิกหมายเลข 4146180