ปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่าบ้านโบราณในหลายๆ ที่ โดยเฉพาะตามใจกลางเมืองต่างๆ เริ่มมีน้อยลงเรื่อยๆ ซึ่งบอกเลยว่าเป็นเรื่องที่น่าเสียดายค่ะ เพราะคุณค่าของมันก็ยังคงอยู่เสมอ เพียงแค่รอการบูรณะ หรือปรับปรุงให้กลับมาชีวิตชีวาอีกครั้งนั่นเอง…
เช่นเดียวกับเรื่องราวของ คุณ สมาชิกหมายเลข 789971 ที่ได้นำ บ้านโบราณสมัยรัชกาลที่ 5 ที่มีอายุถึง 140 ปี มาปัดกวาด เช็ดถู และบูรณะใหม่ จนได้กลายเป็นบ้านอีกหนึ่งหลังที่สวยงาม และยังคงเสน่ห์ในแบบเดิมๆ อีกด้วย
บูรณะบ้านโบราณสมัยรัชกาลที่ 5 อายุราวๆ 140 ปี บ้านของนายอำเภอหนองแขมคนแรกให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง
(โดย คุณ สมาชิกหมายเลข 789971)
.
.
ปัจจุบันเห็นบ้านเรือนโบราณหลายหลังถูกรื้อทิ้งลงในใจก็นึกเสียดายว่าเราทิ้งประวัติศาสตร์ และงานฝีมือของช่างสมัยก่อนที่หาได้ยากในปัจจุบัน บ้านโบราณที่เต็มไปด้วยเรื่องราววิถีชีวิตของคนสมัยก่อนรุ่นคุณทวด ปู่ย่าตายายของเรา
บ้านโบราณหลังนี้ตั้งอยู่ริมคลองภาษีเจริญไกล้ๆกับโรงเรียนประชาบำรุงและวัดหลักสามเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร เดิมเป็นบ้านของนายอำเภอคนแรกสมัยหนองแขมยังเป็นอำเภอ
ตามข้อมูลคือปี พ.ศ.2445 พระบาทสมเด็จพระเจ้าพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริกระจายอำนาจการปกครองจากส่วนกลางจึงตั้งนายยอด อ่อนโอภาสเป็นนายอำเภอคนแรกแขกอำเภอหนองแขมและท่านก็คือเจ้าของเดิมของเรือนนี้ เท่ากับว่าเรือนนี้มีอายุอยู่ช่วง 140 ปี ถ้าท่านสร้างก่อนท่านเป็นนายอำเภอหรือราว 120 ปี ถ้าท่านสร้างหลังจากได้เป็นนายอำเภอหนองแขมแล้ว
บ้านหลังนี้ผมเจอ เริ่มจากการเป็นสมาชิกเพจตึกรามบ้านช่องแล้วมีพี่ท่านหนึ่งถ่ายรูปแล้วมาโพสต์ในกลุ่มว่าเจ้าของมีความคิดอยากจะรื้อถวายวัด ในใจก็คิดว่าน่าเสียดายหากเป็นเช่นนั้น เพราะถ้าไปอยู่ในมือของพระหรือวัดที่เห็นคุณค่าท่านก็คงจะบูรณะและดูแลรักษาได้ แต่เห็นส่วนใหญ่แล้วก็รื้อไปกองไว้ไม่ได้ใช้ประโยชน์เป็นแค่กองไม้เก่าๆ อาหารปลวกกองหนึ่งก็เท่านั้น การตามหาข้อมูลและเจรจาขอมาบูรณะเองจึงได้เริ่มขึ้น
เห็นหน้าจั่วแกะสลักนี้แล้วหลงรักเลยครับ เริ่มติดตามหาข้อมูลตั้งแต่เข้าไปพูดคุยกับเจ้าของโพสต์ในกลุ่มตึกรามบ้านช่องและให้คนเข้าไปคุยกับเจ้าของบ้าน
บริเวณภายในบ้านก่อนรื้อถอนมาบูรณะใหม่ที่สุโขทัย บ้านถูกทิ้งร้างไว้นานหลายสิบปีปลวกขึ้นถึงโครงสร้างหลังคาแล้ว แต่ความงดงามของลายละเอียดต่างๆ ยังสมบูรณ์มากๆ
บ้านหลังนี้มีลักษณะเป็นเรือนสามฝาตามแบบแผนของเรือนทรงไทย แต่มีความพิเศษที่ไม่ใช่ฝาบ้านทรงไทยทั่วไปบ้านหลังนี้เป็นบ้านแป้นเกล็ดกระทุ้งรอบทั้งตัวบ้านนับแล้วได้ 48 บาน และมีลายฉลุเหนือฝาบ้านทุกฝา เป็นการเริ่มรับเอาการสร้างบ้านแบบโคโลเนี่ยลแบบตะวันตกตามสมัยนิยมยุคนั้นแต่ก็ยังไม่ทิ้งความเป็นเรือนไทยไปซะทีเดียว บางท่านเรียกเรือนแบบนี้ว่าสยามใหม่หรือเรือนไทยลูกผสม
ก้าวแรกที่เปิดไม้ที่ตีขนาบปิดตายบ้านออกเดินเข้าไปสิ่งที่สวยสะดุดตาก็คือแสงที่ลอดผ่านมาตามลายฉลุครับ
บ้านที่ดูทึบๆ พอเปิดบานหน้าต่างทุกบานรับแสงธรรมชาติและลมได้ทุกทิศทางเหมาะกับลักษณะภูมิอากาศบ้านเรามากๆ ครับ คนโบราณฉลาดมากเรื่องการอยู่อาศัย
แต่ก่อนอื่นต้องออกตัวก่อนเลยนะครับการบูรณะบ้านหลังนี้ไม่ได้ใช้บริษัทรับเหมาและสถาปนิคหรือนักออกแบบตกแต่งภายในเลยครับ ช่างหลักๆ คือพ่อและลุงครับ พ่อไปคุมไปนับไม้เองทุกแผ่นตอนรื้อถอนขนย้ายนำกลับมาสุโขทัยแล้วประกอบขึ้นมาใหม่
รื้อและขนย้ายมาที่สุโขทัย สถานที่ตั้งเรือนใหม่ตั้งใจให้บ้านได้อยู่ในบรรยากาศคล้ายเดิมให้มากที่สุด บ้านเคยอยู่ริมน้ำคลองภาษีเจริญก็เอามาไว้ริมน้ำเหมือนเดิมแม้จะเป็นสระขุดก็ตาม
ตัวบ้านประกอบได้ไม่ยากครับนำกลับมาประกอบตามเดิมใช้ของเดิมเกือบ 100% มีแค่แปหลังคาที่เป็นไม้ชิ้นเล็กตอนรื้อเสียหายพอสมควรตอนสร้างใหม่เลยใช้เป็นแปสำเร็จรูปทาสีเอาครับ
แค่โครงสร้างหลังคาก็สวยมากๆ
ไม้เห็นเก่าๆ ล้างแค่ฝุ่นเก่าๆ ออกก็เผยเนื้อไม้สักสวยๆ เหมือนเดิมแม้จะผ่านกาลเวลาเป็นร้อยปี
โครงสร้างสวยๆ เสาเดิมทุกต้น
แทบจะอดใจรอเห็นแต่ละส่วนๆ นำกลับมาประกอบกลับที่เดิมเหมือนเล่นต่อจิ๊กซอว์เลยครับค่อยๆ เห็นภาพที่สวยขึ้นๆ เรื่อยๆ เมื่อมีชิ้นส่วนมาต่อเพิ่ม
ลวดลายตอนกลางคืนเวลาแสงไฟลอดผ่านครับ จะเห็นเป็นอีกลายหนึ่งกับเมื่อไม่โดนแสง
.
โครงสร้างเรียบร้อยแล้วก็เริ่มมุงหลังคา ใช้กระเบื้อลว่างขนาดและตามแบบของเดิมครับ
ทำงานหน้าร้อนมุงหลังคาให้เสร็จค่อยมาเก็บงานอื่นๆ ใต้ร่มชายคาจะได้คลายร้อนได้บ้าง
.
.
.
.
เริ่มเป็นรูปเป็นร่างหลังคาเรียบร้อยแล้ว
บรรยากาศเหมือนได้ไปเที่ยวรีสอร์ตสวยๆเลยครับ
.
.
.
เวลาไกล้ค่ำขนาดยังไม่เสร็จเรียบร้อยบ้านก็ดูมีชีวิตชีวาขึ้น เหมือนย้อนกลับไปเมื่ออดีตครับ ต้นมะพร้าวต้นกล้วย ช่วยเสริมให้บรรยากาศดูไทยมากๆ
โครงสร้างหลักๆ เรียบร้อยก็เก็บรายละเอียดภายนอกด้านข้างและโดยรอบ บานหน้าต่าง ฝาด้านข้าง จะเห็นว่าฝาบ้านตามที่บอกไปข้างต้นจะไม่ใช่รูปแบบเดียวกับบ้านทรงไทย ลักษณะรูปแบบจะเป็นบ้านกระทุ้งแป้นเกล็ด คลี่คลายไปทางโคโลเนี่ยลมากขึ้นแต่ยังคงไว้ซึ่งกลิ่นอายของความเป็นไทย
.
.
บรรยากาศภายนอกครับ
.
.
ภายนอกเริ่มเป็นรูปเป็นร่างเรียบร้อยบ้างแล้วงานภายในพ่อกับลุงก็กำลังทำงานที่ต้องใช้ฝีมือมากๆ เก็บลายละเอียด
.
.
ลายละเอียดภานในต้องนับถือความมานะอุตสาหะของช่างสมัยก่อนจริงๆ ครับทุกงานไม้ทำมือทั้งหมดฉลุลายน่าจะใช้เลื่อยใบเล็กๆ ที่เราเคยใช้ฉลุไม้อัดตอนเรียนสมัยมัธยม คิดดูว่าต้องใช้เวลาเท่าไหร่กว่าจะเสร็จแต่ละชิ้น มีคุณค่ามากๆ ครับ
.
.
.
บานประตูหามาเพิ่มเติมครับของเก่าเป็นเรือนโล่งไม่มีประตู พยายามหาลายที่เป็นลายดอกไม้เข้ากับลายเหนือฝาบ้าน บานประตูเก่าโบราณเหมือนกันเป็นลายหม้อแห่งความอุดมสมบูรณ์
.
.
.
บรรยากาศตอนกลางคืนอันเงียบสงบ นึกอยากย้อนไปในอดีตเลยครับถ้าตอนนี้เวลานี้คนสมัยก่อนเขาทำอะไรกันใช้ชีวิตยังไง
.
เริ่มเก็บกวาดทำความสะอาดติดพวกหลอดไฟโคมไฟ
.
.
.
.
หอกโบราณเล่มนี้พบในบ้านตอนอยู่คลองภาษีเจริญ ตั้งใจจะแขวนเป็นอนุสรณ์แก่เจ้าของเรือนเดิม ตอนรื้อมาทายาทคนปัจจุบันบอกว่าบ้านถูกปิดตายไว้หลายสิบปีโดยขโมยงัดเข้ารื้อค้นเอาข้าวของไปก็มากหลายครั้ง
.
.
ปัดกวาดเช็ดถูทุกวันเริ่มสวยงามสะอาดสะอ้านแล้ว
.
.
ตลอดระยะเวลา 3-4 เดือนที่บูรณะบ้านหลังนี้อยากตื่นมาดูมาทำทุกวัน ภายในเวลาปิดประตูหน้าต่างทุกบานก็จะรู้สึกอบอุ่นเป็นส่วนตัวมากๆมีเพียงแสงรอดมาตามช่องแสงช่องลม แต่วันไหนอากาศดีๆ ก็เปิดโล่งได้สบายตามากๆ ลมพัดเข้าได้ทุกทิศทาง
.
.
.
สะอาดเรียบร้อยก็เริ่มทยอยเอาเฟอร์นิเจอร์ชิ้นหลักๆเข้าครับ
.
.
.
.
.
แต่งเองก็จะดูขาดๆเกินๆบ้างใส่เยอะๆไปก่อนค่อยยกออกครับ
.
.
.
ตู้ไทยเสาโรมันเก่าเดิมสวยๆ ครับ
.
.
.
.
.
.
.
.
.
มุมโปรดเลยครับนั่งบ่อยมากว่างๆ ชอบนั่งเล่นนั่งทำงาน นั่งอ่านหนังสือ เป็นทางลมพัดเย็นตลอด
.
อยู่ไปๆ เริ่มคุ้นเคยไม่รู้ว่าบ้านโบราณอายุเป็นร้อยปีน่ากลัวอีกต่อไป
.
เย็นๆ ใกล้ค่ำขอบแสงและเงาเวลานี้มากที่สุดครับ ข้าวของเครื่องเรือน แสงไฟ แสงธรรมชาติที่ลอดผ่านลายฉลุดูเปล่งประกายสวยมากๆ
.
.
.
.
.
.
คงมีความร่วมสมัยไว้บ้างจะได้ไม่น่าเบื่อดูสดชื้นด้วยสีสันต่างๆ ด้วยครับ
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
กลางวันก็โปร่งโล่งสบายรับลมเย็นๆ
.
.
.
วันฝนตก
.
.
.
ในบริเวณเดี๋ยวกันฝั่งตรงข้ามผมได้รวบรวมไม้เก่าจากเรือนโบราณมาประกอบขึ้นใหม่ ขอรวมไว้ในกระทู้เดียวกันเลยนะครับ
เป็นไม้เก่าจากหลายที่มากๆเช่นอุตรดิตถ์ เชียงใหม่ ลำพูน นนทบุรี สุพรรณบุรี นครสวรรค์ อยุธยาแล้วมาออกแบบเองให้พ่อกับลุงสร้างขึ้นมาใหม่
.
.
ห้องพระครับ ใช้เตียงโบราณตั้งประดิษฐานพระบูชา เตียงมีจารึกสร้างปี 2460 หรือประมาณ 102 ปีครับ
.
.
.
.
.
ห้องรับแขกเชื่อมต่อมาจากห้องพระบริเวณชั้น3
.
.
.
ห้องนอนเล็ก
.
.
.
ที่มา : สมาชิกหมายเลข 789971 .