พบกับพวกเรา ในบ้าน กันเป็นประจำทุกวัน สำหรับครั้งนี้ เราก็มาพร้อมกับไอเดีย สร้างบ้านสไตล์ทรอปิคอล โดยมีคุณ น้องนู๋ซู่ซ่า มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์การสร้างบ้านของตัวเอง พร้อมรายละเอียดข้อมูลและรูปภาพอย่างครบครัน
บ้านที่เราจะไปชมต่อไปนี้ เป็นบ้านที่สร้างบนที่ดินเปล่าของครอบครัวอายุกว่า 20 ปี จนคุณ น้องนู๋ซู่ซ่า มีไอเดียที่อยากจะสร้างบ้านของตัวเอง ที่เหมาะกับสภาพอากาศร้อนและตรงตามการใช้งานของตนเอง บ้านจะออกมาหน้าตาอย่างไรบ้างนั้น ไปชมกันเลยครับ
บ้านต่างจังหวัด เรียบๆ ยกสูง สีขาว สไตล์ TROPICAL….มั้งงง
(โดย น้องนู๋ซู่ซ่า)
บ้านนี้จะเป็นบ้านที่สร้างบนที่ดินปล่าวไว้เกือบ 20 ปี แต่เดิมเป็นที่ทำนา เลี้ยงวัวมีบ่อน้ำเล็กๆ ที่ต่ำกว่าระดับถนน มีต้นคูณ 1 ต้น ต่อมาซักพัก เป็นหนองน้ำขัง มีปลาช่อน ปลาหมอ เต่า นกกวัก
ซึ่งโจทย์ของบ้านหลังนี้คือ
1. ยกสูงรับลม เผื่อน้ำท่วม ซึ่งครั้งแรกจะถมเป็นเหมือนสร้างบนเนินดินแต่ไปๆมาๆ ไม่ถมแล้วได้ที่จอดรดใต้ถุนบ้านเลย รวมถึงถังเก็บน้ำสำรอง
2. อยากได้บ้านที่สะท้อนอารมณ์บ้านไทยภาคกลางอยู่บ้าง ซึ่งบ้านอยู่ภาคกลางตอนบนแต่ประยุกต์ให้มีความทันสมัยขึ้นมาตามเวลา
3. หลังคาเซรามิกส์ อันนี้คุณแม่อยากได้ ตามใจหน่อยแต่บอกว่าราคาสูง
4. บ้านที่เหมาะสมกับสภาพอากาศร้อนชื้นอย่างเมืองไทย ไม่ร้อน กันแดดฝนได้ดี
5. ออกแบบช่วยให้ตกแต่งภายนอกและภายในน้อยๆ ใช้เฟอนิเจอร์ที่มีอยู่บ้านเดิมไว้ก่อน
6. ใช้การดูแลซ่อมบำรุงต่ำ เลี่ยงใช้ฉนวนบริเวณหลังคา ใช้ไม้เทียมลดใช้ไม้จริง
7. มีแสงสว่างเพียงพอ ดูโปร่ง เบาสบาย ไม่อับชื้น
8. สวยด้วยเหล็กดัด ซึ่งคงยากอยู่
9. ทดลองงานออกแบบบางอย่าง
สไตล์บ้านจึงน่าจะเป็นประมาณ Tropical Contemporary มีกลิ่น Modern แฝงมาบ้าง ชายคาบ้านยาวๆ ซัก 1.50 เมตร กันแดดกันฝนได้ดี ผนัง 2 ชั้นในด้านใต้และทิศตะวันตก ต้องการใช้อิฐมวลเบาเป็น 90-95 % ซึ่งไอเดียในหัวก็ประมาณนี้ครับ
ต่อมาก็เริ่มที่ปรับพื้นที่
.
ซึ่งดินที่จะถมครั้งแรกจะใช้ดินดำ แต่ลองแล้วค่อนข้างปลิ้นไปมา สรุปคือ ต้องใช้ลูกรัง ซึ่งเหนื่อยแน่ๆ ตอนลงต้นไม้
.
ซึ่งก็ปล่อยให้ยุบตัวประมาณปีนึง ระหว่างนั้นลองลงถั่วลิสง กล้วยต่างๆ ซึ่งตายบ้างรอดบ้าง แต่ตายมากกว่ารอด
มีน้ำลงมาท่วมขังบ้าง ลองปล่อยปลานิล 200 ตัว จากกรมประมงน้ำจืด โตไวมากให้กินผักบุ้งที่ขึ้นเองรอบๆ บ่อ
สุดท้ายยอมให้คนงานจับไปกิน บางส่วนลุงข้างบ้านมาแห้งตอนบ่อแห้งไปปล่อยที่วัดให้
มีฟักขึ้นริมรั้วเองด้วย อร่อยที่เดียว ช่วงนั้นค่อนข้างหนาว จะดกและใหญ่มากๆ ช่วงหลังเหมือนมีคนรู้หายเกลี้ยงไม่เหลือให้เราซักลูกเลย ใจร้ายจัง
ระหว่างนี้ก็ออกแบบบ้านไปในตัว ไปยืนๆ ดูทำเล มุมมอง แดด ลม ฝน วิวโดยรอบซึ่งพอมียอดเขาให้เห็นใกล้ๆ ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้
สำรวจสภาพโดยรอบก่อนขึ้นเสาเอก ต้องค่อยตัดต้นโสนอยู่เรื่อยๆ ส่วนผู้รับเหมาใช้ที่รู้จักแถวบ้าน
.
วันนี้วันดีลงเสาเข็ม ขึ้นเสาเอก ในเดือน 6
ขึ้นเสา เทปูน ช่วงนี้มีลากถังใส่น้ำ บ่มเสาเองบ้าง เผื่อคนงานลืม เสาจะได้แข็งแรงขึ้นอีกนิด
เริ่มเทคานชั้น 1
.
.
ตรงนี้มีเรื่องเล่า ต้นคูณนี้ อยู่กับที่นี้มานานมาก เห็นครั้งแรกเท่าตึก 2 ชั้นแล้วโดนคนแอบตัดไปและไม่ได้มาดูแล สภาพตามที่เห็น มีกาฝากเกาะเค้าว่าต้นที่มีกาฝากเกาะอาจมีอะไรบางอย่างในต้นไม้
.
.
เพิ่มเทพื้นสำเร็จและพื้นหล่อในที่
เข้าแบบเสา คศล. รับคานรัดรอบหลังคา
เริ่มขึ้นคานหลังคาแล้ว หวาดเสียวแทนคนงานจริงๆ เจ้าของ ผรม. ขึ้นไปสั่งกำกับดูแลด้วยทำไปแล้วแก้ไขยาก
.
เริ่มเทปูน คาน คสล. รับหลังคากันต่อครับ มีฝนมาบ้างบางช่วง
ระเบียงด้านหน้าทางเข้าบ้าน
.
.
บันไดหลังบ้าน สูงไปนิดนึงเดี๋ยวใช้ถมดินเป็นเนินขึ้นไปรับ ตอนกลางคืนช่วงนี้จะเห็นพระจันทร์เต็มดวงขึ้นหน่อย
เริ่มทำคาน คสล. รับหลังคาด้านบน
งานก่อตามมาเรื่อยๆ ยังไม่เนี๊ยบเท่าไหร่ รอยปูนบางจุดเยอะอยู่ อิฐด่างๆ ไปนิด
ต่อกันด้วยบันไดหน้าบ้าน จะแบบเป็น 2 ช่วงลูกขั้นแรก 17 cm. 5 ขั้น + ชานพักเก็บรองเท้า + ลูกขั้นสอง 15 cm. 3 ขั้น
ลดความเมื่อยหน้าขาตอนขึ้นบ้าน จำพวกบ้านใต้ถุนสูง
.
เริ่มงานโครงสร้างหลังคา มีใช้โครงถักบางส่วนด้านซ้ายของบ้าน
แวะดูความเรียบร้อยโครงหลังคา ด้านในตัวบ้านนิดนึงก่อนจะมุงกระเบื้องในวันถัดไป
.
.
.
ระหว่างรอกระเบื้องหลังคา
ด้านหลังบ้าน
.
งานฉาบผนังรอบบ้าน
ครัวค่ำๆ พื้นที่ซักล้าง เล่นลูกเล่นช่องแสงแนวตั้งหน่อย รับลมเข้ามาบริเวณดังกล่าว ซึ่งน่าจะช่วยให้ตากผ้าในร่มได้ ซึ่งน่าพอใจในระดับหนึ่ง
.
ลงต้นไม้รอหลังคา มะพร้าว พะยูง กล้วยพม่าแหกคุก
.
.
ในที่สุดก็มาแล้ว หลังคาเซรามิกส์ excella plato white matt ให้บ้านออกมาดูโมเดิร์นนิดๆ เรียบๆ เกลี้ยงๆ ทนอากาศเมืองไทย ที่สำคัญเนื้อดินเผา น่าจักันความร้อนได้ดี แล้วใช้สีขาวซึ่งสะท้อนความร้อนดีกว่าสีอื่น
**ข้อเสีย** แพง ครอบต่างๆ ยิ่งแพง พยายามลดการใช้ครอบบางส่วน ความลาดชันสูงหน่อย สำหรับแผ่นเรียบ ขั้นต่ำคือ 25 องศา ที่บ้านใช้ 25 และ 35 องศา
อันนี้ครอบสันหลังคา
ลำเลียงกระเบื้องหลังคา ไปตามพื้นที่ต่างๆ
.
.
.
ช่าง คนงาน ต่างเริ่มลงมือทยอยขึ้นหลังคาเรื่อยๆ แดดมาเต็มวันนี้
ขึ้นไปเกือบทั้งหมดแล้ว
.
วันนี้แดดแรงสงสารช่างมากๆ ชันด้วย ระวังกันหน่อยนะ
ใกล้ความจริง สำหรับหลังคา ช่างบอกใต้หลังคาเย็นดีมาก แต่แผ่นหนักกว่าแบบลอนหน่อย ลอนหนักราวๆ 3.5 แบบเรียบหนักราวๆ 3.8
ดูความเรียบร้อยและการบิดตัวจากการมุง ซึ่งแผ่นเรียบต้องระวังเป็นพิเศษ ซึ่งจะไปฟ้องช่วงริมๆ หลังคา
.
.
ช่วงนี้เริ่มเป็นรูปเป็นร่างหน่อยแล้ว เริ่มใส่ครอบส่วนต่างๆ ระบบครอบแห้งรายละเอียดตามมุมต่างๆ ปีกปูนกันฝน บันไดทางขึ้นทางลง สีรองพื้น
มุมนี้คือด้านทิศตะวันออก จะเป็นส่วนของห้องนอนคุณพ่อคุณแม่ ที่ห้องการให้ห้องรับแดดในช่วงเช้า หรือให้แม่พอชำเลืองเห็นพระอาทิตย์ขึ้นเพื่อที่จะตื่นมาทำกิจกรรมต่างๆ ในบ้านตอนฟ้าสาง
ด้านขวาจะเป็นตัวบ้านด้านทิศเหนือซึ่งจะเปิดช่องแสงบ้างส่วนเหนือประตูหน้าต่าง
มุมนี้ด้านทิศตะวันตก เฉียงมาทางหน้าบ้าน ค่อนข้างเรียบๆ ทึบ ไม่เปิดช่องแสงด้านทิศนี้ครับ ผนัง 2 ชั้นในบางห้อง จะเป็นพื้นที่ ห้องเก็บของ ห้องน้ำกลาง ห้องเอนกประสงค์ ห้องครัว ซักล้าง
พื้นที่ใต้หลังคาขนาดใหญ่เพื่อหน่วงการแผ่รังสีความร้อนที่ผ่านกระเบื้องหลังคาลงมา ทั้งนี้ เพื่อลดความร้อนของบ้านในตอนบ่าย รวมถึงชายคายาว 1.5 เมตร มุมเอียง 25 องศา ซึ่งแสงส่วนใหญ่จะเริ่มส่องประมาณบ่าย 4 โมงกว่า ในช่วงหน้าร้อน
งานฝ้า เริ่มขึ้นโครงตามๆ กันมา ใช้ยิปซั่มชนิดติดฟอยมาจากโรงงาน ไม่มีใช้ฉนวนความร้อนใดๆ(ทดลอง) มองๆ ไป แอบชอบตัวกระเบื้องหลังคาตัวนี้จัง ไม่ตีฝ้าได้ไหมนี่
.
.
ช่วงนี้เริ่มงานกระเบื้องกันต่อ ช่วงแรกจะเป็นกระเบื้องห้องน้ำ ผนัง-พื้น
.
.
.
.
ระหว่างทำห้องน้ำ ก็เริ่มมาหาอุปกรณ์ช่วยผู้สูงอายุและเด็กน้อยเกาะตอนอาบน้ำ (Universal design) เผื่อบางครั้งตัวเราเองหมดแรงท้องเสีย ก็มีอะไรช่วยดึงเกาะออกมาจากห้องน้ำได้ ซึ่งค่อนข้างเลี่ยงอุปกรณ์ที่มีส่วนประกอบของกระจกใส รวมถึงมุมแหลมต่างๆ จากอุปกรณ์ที่ติดตั้ง
ห้องส่วนกลางเน้นสีสันหน่อย จะได้มีชีวิตชีวาบ้าง ซึ่งครอบครัวผมไม่ค่อยเน้นขนาดห้องน้ำใหญ่ๆ ดูวิวอะไรมากมาย
อ่างล้างมือด้านหน้าห้องน้ำแยกออกมา
ห้องน้ำพ่อแม่
ห้องน้ำผม เน้นขาวๆ ต้องดูแลหน่อยสำหรับสีนี้
ห้องน้องสาว เน้นปูนขัดมัน
.
หลังปูกระเบื้องเสร็จเริ่มปูพื้นบ้าน งานฝ้า กันต่อ
.
ผนังมีรอยแตกงงๆ บ้าง ผู้รับเหมา ก็มาทำการแก้ให้ในจุดนี้
.
.
เริ่มงานห้องครัว ปูกระเบื้องผนัง หล่อเคอเตอร์ปูน ทรง ตัว L ให้หนาหน่อยให้สามารถตำน้ำพริกบนส่วนนี้ได้
ส่วนกระเบื้องผนังแล้วพื้นผิวหน่อยเพื่อยากแก่การมองเห็นคราบสกปรกต่างๆ รวมถึงใช้กระเบื้องขนาดใหญ่
เพื่อลดคราบตามรอยต่อกระเบื้อง ใช้กระเบื้องสีขาว ดูสว่างจากแสงธรรมชาติ ลดการใช้ไฟในช่วงกลางวัน
เริ่มติดตั้งหินแกรนิตบนเคาน์เตอร์ แบ่งเป็น 3 ส่วนเวลาติดตั้ง ส่วนสีหินใช้ ลายโทนอ่อน ลดคราบการมองเห็น แล้วให้เข้ากับบรรยากาศตัวบ้านที่เน้นสว่าง ในช่วงนี้งานหน้าต่างอลูมิเนียม ประตู เริ่มเข้ามาติดเพื่อป้องกันนกบินเข้ามาอยู่ตอนกลางคืน
ครัวติดตั้งอุปกรณ์แล้วเสร็จ พร้อมหน้าต่าง และเหล็กดัด ส่วนพื้นใช้กระเบื้องสีเบส ด้าน เพื่อลดการมองเห็นคราบต่างๆ ตอนทำครัว
เริ่มปูกระเบื้องพื้นซักล้าง
.
.
.
ถังเก็บน้ำสำรองของบ้านนี้ใช้ขนาด 1000 ลิตร
.
เริ่มงานประตู หน้าต่างรอบบ้าน ประตูมีทั้ง PVC UPVC อลูมิเนียม กระจก ไม้เนื้อแข็งๆ ตามลักษณะการใช้งาน และมุมที่อยากให้เห็น ตรงไหนที่ต้องการหน่อยจะใช้กระจกบานใหญ่ไปเลย
.
.
ประตูครัว กว้างประมาณ 1.2 ต้องการให้แสงตอนบ่ายทะลุมาบ้างส่วนและป้องกันกลิ่นตอนทำอาหาร ให้ลมเข้าจากประตูด้านหลัง แล้วออกหน้าต่างครัว ถ้ากรณีไม่ใช้งานจะเปิดให้ลมผ่านเข้ามา จากด้านใต้ (ประตูครัว) และตะวันตก (หน้าต่างครัว)
เริ่มงานชายคาหน้าบ้านครับ ทรงจะออกไปทางโมเดิร์นนิดๆ มุมอีก 4.5 องศา แต่ส่วนนี้หลังคาแบนนี้ ใช้ทรงหลังคาช่วยเบี่ยงน้ำจากหลังคาใหญ่ ให้ไหลไปทางด้านออก ซึ่งเวลาตกหนักมากๆ จริงๆ มีน้ำซึมพอให้เห็นบ้างในส่วนที่หลังคาชนอาคาร ซึ่งจะดำเนินการแก้ต่อไป
หมดงานเชื่อมโครงหลังคา เริ่มงานปูกระเบื้องเสาด้านหนาครับ เพื่อเลี่ยงสะเก็ดไฟจากการเชื่อม
.
จุดนี้เริ่มปูกระเบื้องระเบียงพื้นต่อ ใช้ลายไม้ของ cotto 15*60 cm. ปูสลับ และตามกรอบประตูหน้าต่างๆ จะใช้ไม้เทียมปิดรอยต่อและกันน้ำอีกครั้งนึง ในส่วนนี้จะไม่ใช้การปั้นคิ้วปูกันน้ำหยดหนาๆ เพราะพื้นที่นี้นกพิราบอยู่บ้าง กันมาเกาะ อึ หรือทำรัง
.
.
.
.
ชายคาหน้าบ้านใช้เชิงชาย 2 ชั้นครับ ทาสีน้ำมันสีน้ำตาล
.
.
พื้นระเบียงด้านหน้า เล่นระดับใช้ลูกขั้นประมาณ 15 cm. จมูกบันไดใช้สีตัดกันพื้นให้เด่น เพื่อให้เด็กและผู้ใหญ่ในบ้านเห็นได้ชัดไม่หวามตกใจ กลิ้งล้มลงไป
.
มีสลับใช้พื้นลามิเนต 12 มม. แทรกพื้นกระเบื้อง ในส่วนห้องนั่งเล่นกับห้องนอนพ่อแม่ เพื่อป้องกันลื่น และความหนาวเย็นในหน้าหนาว ซึ่งอาจจะพ่อ หรือหลาน เป็นหวัดได้
ส่วนหลังคาหลังบ้าน ต้องการให้มีอารมณ์คล้ายๆ รีสอร์ทนิดๆ ในจุดนี้ ซึ่งเป็นมุมนั่งเล่นของบ้าน ที่ในตอนเช้าสามารถเห็นภูเขาและพระอาทิตย์ขึ้นในหน้าฝนหน้าหนาว หรือหมอกยามเช้าในหน้าช่วงปลายฝนต้นหนาว โครงสร้างทาสีน้ำตาลเข้ม มีค้ำยันชายคา เปลือยฝ้าใต้ชายคา
.
.
.
.
.
มุมนี้เป็นด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งใช้รับสัญญาณดาวเทียมได้พอดีและไม่เห็นจากหน้าบ้านให้ดูแปลกตา
ติดตั้งราวบันไดด้านหลังสแตนเลสหลังบ้าน
ระบบไฟฟ้า ซื้อเองครับ เน้นหลอดไฟ LED ทั้งหมด ลดความร้อนที่เกิดขึ้นจากการเปิดหลอดไฟได้ดี
ผลพลอยได้คือติดสว่างไว และประหยัดเทียบบิลค่าไฟฟ้าข้างบ้านมีตกใจ ซึ่งตอนกลางคืนเปิดไฟทิ้งไว้ 3-4 ดวง
จัดวางตามแปลนเพื่อให้ช่างไฟไม่สลับว่า ดวงไฟนอยุ่ตำแหน่งไหนหรือดวงไหนใช้หลอดกี่วัตต์ ซึ่งแต่ละห้องใช้วัตต์ไม่เท่ากัน
สวิตช์ และปลั๊กส่วนใหญ่ ใช้เป็นสีดำกรอบสีน้ำตาลตัดให้ผนังมีลูกเล่นมากขึ้นและไม่เหลืองสกปรกเวลาใช้ไปนานๆ ส่วนปลั๊กใช้แบบมีม่านนิรภัยกันหลานเอาอะไรไปจิ้มในรูปลั๊กไฟดูดได้
ส้วมใช้ระบบบ่อเกราะ – บ่อซึม แล้วระบายลงพื้นที่โดยรอบต่อไป เนื่องจากยังไม่มีท่อระบายน้ำสาธารณะ
ทดสอบ ไฟบ้านตอนกลางคืนในระยะแรก
เข้าไปใกล้ๆ อีกนิดหน้าบันได
ขึ้นบันไดจะเข้าบ้าน
ไฟแสงสว่างครัว
งานสุดท้ายคือทางลาดสำหรับ ผู้สูงอายุ เด็กน้อยหรือใช้ขนของเข้าบ้านชิ้นใหญ่ ซึ่งขึ้นบันไดลำบาก มุมเอียงอยู่ที่ 10 องศา ซึ่งใช้ไม้เทียมทาสีอะคริลิค ซึ่งทางลาดนี้จะทำเป็นดินถมยกขึ้นมารับเล่นระดับไว้นั่งเล่นในอนาคต ในอีกระยะหนึ่งจะเพิ่มราวกันตก และทางลาดชนิดเคลื่อนย้ายได้ ช่วงก่อนเข้าตัวบ้าน
.
.
ช่วงรนี้จะเริ่มเอาดินมาถมรับทางลาดเอง ซึ่งเหนื่อยมาก
เสร็จเรียบร้อยแล้วครับ ขอบคุณที่ติดตามรับชมนะครับ
.
.
ที่มา: น้องนู๋ซู่ซ่า .