สิ่งหนึ่งที่หลายๆคนมักจะมองข้าไปเวลาเลือกที่อยู่อาศัย นั่นก็คือ “ทิศทางของแสงแดด” หากละเลยเรื่องนี้ไปแล้วล่ะก็ รับรองได้เลยว่าต้องอยู่ไม่เป็นสุขแน่ๆล่ะ
นอกจากจะทำให้บริเวณภายในไม่ได้รับแสงธรรมชาติแล้ว อาจส่งผลให้การใช้ชีวิตในบ้านน่าเบื่อไม่สดใส แถมยังสิ้นเปลืองค่าไฟอีกด้วย
แต่หายห่วงได้เลย เพราะในคราวนี้ ในบ้าน มีเว็บไซต์ที่น่าสนใจเกี่ยวกับการคำนวณทิศทางแสงแดดมาฝากกัน ซึ่งคุณ Zieg-Hart ได้รีวิววิธีใช้คร่าวไว้ให้ หากใครกำลังมองหาที่อยู่อาศัยอยู่ล่ะก็ ลองไปดูกันเลยครับ
ช่วงนี้เห็นกระทู้พูดถึงเรื่องแสงแดดพอสมควรครับ โดยเฉพาะเรื่องหันหน้าบ้านทิศไหนดี ก็เลยอยากจะแนะนำเว็บๆนึงที่ผมเคยใช้เวลาเลือกที่อยู่อาศัยครับนั่นก็คือเว็บ
แรกเริ่มเมื่อเปิดหน้าเว็บมาจะเจอแบบนี้ครับ เป็นแผนที่ลักษณะคล้ายๆ Google Map
– ในการเลือกสถานที่ เราสามารถกำหนดจุดที่เราต้องการดูได้โดยการคลิกบนแผนที่เพื่อวาง Pin หรืออาจจะใช้ช่อง Search มุมซ้ายบนเพื่อค้นหาสถานที่ก็ได้ครับ
– หลังจากเราวาง Pin ในจุดที่เราต้องการแล้ว จะมีวงกลมแสดงขึ้นมาให้เราเห็นรอบๆ Pin นั้นๆครับ
– ในวงกลมจะมีแท่งสีเหลืองแสดงทิศทางของแสงแดดตอนพระอาทิตย์ขึ้น แท่งสีแดงแสดงทิศทางของแสงแดดตอนพระอาทิตย์ตก และแท่งสีส้มแสดงทิศทางของแสงแดดตามช่วงเวลาของวัน
– เราสามารถดูทิศทางกำหนดวันที่โดยใช้ช่องถัดจากช่อง Search และกำหนดเวลาที่เราต้องการโดยการเลื่อนแถบด้านล่างครับ
– ถ้ามุมระหว่างพระอาทิตย์ขึ้น (แท่งเหลือง) และพระอาทิตย์ตก (แท่งแดด) เป็นมุมป้านแดดจะส่องเข้าจากมุมสูงครับ แต่ถ้าทำเป็นมุมแหลมแดดจะส่องเข้าจากมุมต่ำ
– อีกวิธีสังเกตคือสังเกตความยาวของแท่งสีส้มครับ แท่งยิ่งสั้นแปลว่าแดดเข้าจากมุมสูง แท่งยิ่งยาวแปลว่าเข้าจากมุมต่ำ (ส่องตรงเข้าหน้าต่างเลย)
ลองมาดูข้อมูลตัวอย่างกันครับ สมมุติว่าบ้านผมอยู่โรงแรมดุสิตธานี หันหน้าบ้านไปทางทิศใต้ (ถนนศาลาแดงซอย 1)
มกราคม
แดดเข้าหน้าบ้านมาจากทางศาลาแดงซอย 1 มุมปานกลาง น่าจะส่องเข้าหน้าต่างหน้าบ้านพอสมควร
มีนาคม
แดดยังคงเข้าทางศาลาแดงซอย 1 หน้าบ้านอยู่ แต่มุมป้านมากขึ้น น่าจะส่องจากมุมสูง
พฤษภาคม
แดดไปเข้ามาจากทางฝั่งสวนลุมแทนแล้วครับ หน้าบ้านน่าจะเย็นขึ้น
กรกฏาคม
ยังคงเข้าจากทางฝั่งสวนลุมครับ
กันยายน
แดดกลับมาเข้าทางหน้าบ้านอีกแล้วครับ แต่มุมกว้างๆ น่าจะยังไม่ส่องเข้าห้องมากเท่าไร
พฤษจิกายน
อันนี้เต็มๆเลยครับ ในห้องหน้าบ้านน่าจะร้อนพอสมควร
ลองไปเล่นๆกันดูนะครับ หวังว่าจะมีประโยชน์บ้าง ไม่มากก็น้อยครับ
ที่มา : Zieg-Hart