การออกแบบบ้านในสไตล์ญี่ปุ่นนั้น จะเน้นที่ความเรียบง่าย โปร่งสบาย สามารถประยุกต์ใช้แต่ละฟังก์ชันของบ้านได้อย่างเต็มที่และเป็นประโยชน์มากที่สุด ซึ่งในบทความนี้ ในบ้าน ก็มี บ้านกลิ่นอายญี่ปุ่น มาฝากให้เพื่อนๆ ได้ชมกัน ผลงานการออกแบบโดยคุณ Toey Rin Pm ที่ออกแบบบ้านหลังนี้ภายใต้แนวคิดสะท้อนตัวตัวของเจ้าของบ้าน
แน่นอนว่าไอเดียการออกแบบบ้านที่ให้ความมินิมอลเช่นบ้านหลังนี้กำลังได้รับความนิยมสูงในปัจจุบัน เพราะเข้ากับไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่ ที่ชอบความเรียบง่าย ผ่อนคลาย ไปติดตามชมไอเดียบ้านหลังนี้กันเลยครับ
“บ้านกลิ่นอายญี่ปุ่น” เชื่อมต่อพื้นที่อย่างลงตัว พร้อมงานตกแต่งที่เน้นความเป็นธรรมชาติ
(โดยคุณ Toey Rin Pm)
INTRO
การออกแบบบ้านในปัจจุบัน มีความหลากหลายทางด้านเทคนิคการก่อสร้าง วัสดุที่แปลกใหม่ที่ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้คนและใช้ทดแทนสิ่งของหรือวัสดุต่างๆ ที่หายากมากขึ้น
แต่ด้วยงบประมาณ หรือขีดจำกัดต่างๆ ทำให้เราต้องรู้จัก ที่จะปรับและเลือกใช้ สิ่งของต่างๆ ให้เหมาะสมกับงบประมาณและความต้องการของลูกค้า ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของผู้ออกแบบที่จะรวมทุกอย่าง วางทุกอย่างให้เข้าที่เข้าทาง สมเหตุสมผลลงตัวตามความต้องการของเจ้าของบ้าน
CONCEPT
แนวคิดการออกแบบบ้านหลังนี้เกิดจากตัวตนของเจ้าของบ้านที่ไปเรียนที่ญี่ปุ่น และมีความคุ้นเคยกับฟังชั่นการใช้งานภายในบ้านแบบญี่ปุ่น โดยเน้นที่ความเรียบง่าย มีการเชื่อมโยงกันของพื้นที่ภายในบ้าน แต่ยังคงพื้นมีที่ส่วนตัวของแต่ละโซน พื้นที่ส่วนกลางทั้งหมดภายในบ้านมีความต่อเนื่องกัน สามารถเรียกหากันได้
ผู้ออกแบบเลือกใช้งานไม้จริงทั้งหมดในการตกแต่งเพื่อให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นเหมือนได้อยู่ใกล้ธรรมชาติ และปลูกต้นไม้บริเวณช่องแสงเพื่อสร้างบรรยากาศภายในให้คนในบ้านรู้สึกใกล้ชิดธรรมชาติมากยิ่งขึ้น
DETAIL
การแบ่งโซนวางรองเท้า ใช้การยกระดับพื้นที่ภายในบ้านเพื่อแบ่งโซนวางรองเท้ากับพื้นที่ภายในบ้าน ซึ่งง่ายต่อการทำความสะอาดและไม่มีรองเท้าขวางหน้าบ้าน
บริเวณที่วางรองเท้า ทำช่องแสงสำหรับช่วยกำจัดความชื้นของรองเท้า และช่วยลดการก่อให้เกิดความชื้นภายในบ้าน
เลือกใช้ที่เก็บรองเท้าแบบแขวนเพื่อลดการสะสมของผุ่น และง่ายต่อการทำความสะอาด
LIVING-DINING ROOM
พื้นที่ห้องนั่งเล่นเชื่อมต่อกับห้องครัวและที่รับประทานอาหาร ทำให้บ้านดูโล่งและกว้าง มีการติดบานเฟี้ยมกั้นห้องนั่งเล่นออกจากโซนอื่นๆ ทำให้สามารถเปิดแอร์ในช่วงเวลาที่อากาศร้อน
.
KITCHEN
เนื่องจากพื้นที่ของการก่อสร้างมีขนาดเล็ก ห้องนั่งเล่น ห้องรับประทานอาหารและห้องครัวจึงถูกออกแบบให้เชื่อมต่อกันเพื่อเพิ่มขาดของพื้นที่ส่วนกลาง การติดหน้าต่างในส่วนที่เป็นจุดอับของบ้านทำให้บ้านดูโล่งขึ้น บริเวณส่วนครัวเป็นดับเบิลฟลอ เป็นจุดที่สร้างความเชื่อโยงของชั้นหนึ่งชั้นสอง และชั้นลอยของชั้นสอง ทำให้เกิดการเชื่อมโยงของคนในบ้าน เนื่องจากครัวเป็นครัวภายในบ้าน
การทำซิลลิ่งให้สูงยังสามารถช่วยกระจายกลิ่นขณะประกอบอาหารไม่ให้มารบกวนโซนห้องนั่งเล่น ที่เป็นจุดที่ใช้ทำกิจกรรมหลักของบ้านอีกด้วย
STAIR
ผู้ออกแบบเลือกใช้ไม้สักซึ่งเป็นไม้ที่สามารถหาได้จากท้องถิ่น ทำสีธรรมชาติเพิ่มความอบอุ่นให้กับบ้าน
.
LIVINGROOM 2 FLOOR
เนื่องด้วยเจ้าของบ้านโตที่ญี่ปุ่น จึงมีความรักในการดื่มชา พื้นที่ใช้ลอยของชั้นสองจึงออกแบบทำให้เป็นห้องนั่งเล่น ใช้สำหรับจิบชา พื้นปูด้วยเสื่อตาตามิ เพิ่มบรรยากาศให้กับการชงชา และยังเป็นพื้นที่ที่ใช้ขึ้นไปบริเวณดาดฟ้าอีกด้วย
ชั้นวางของที่ทำหน้าที่เป็นแผงกันตกบริเวณโถงห้องครัว
MASTER BEDROOM
ห้องนอนเลือกใช้หน้าต่างบานใหญ่ เพื่อให้แสงแดดช่วยกำจัดไรฝุ่นในตอนกลางวัน บริเวณข้างเตียง มีที่นั่งริมหน้าต่าง ช่วยเพิ่มบรรยากาศในการนั่งอ่านหนังสือในวันหยุดที่ไม่อยากลุกไปจากห้องนอน
ห้องแต่งตัวไม้สักที่เรียบง่าย
BATHROOM
ห้องน้ำถูกแบ่งเป็นสองห้อง เป็นห้องอาบน้ำ และห้องส้วม เพื่อรองรอบการใช้งานในกรณีที่ต้องเข้าห้องน้ำพร้อมกัน และในห้องอาบน้ำ ยังมีบริเวณนั่งอาบน้ำ สำหรับเจ้าของบ้านที่ยังใช้วิธีนั่งอาบน้ำเหมือนสมัยที่ใช้ชีวิตที่ญี่ปุ่น
.
WORKING ROOM
ห้องนั่งทำงาน ที่เผื่อไว้สำหรับการมีบุตรในอนาคต
แบบแปลนของบ้าน
.
.
ที่มา : Toey Rin Pm .